คาร์ซีทแรกเกิด คาร์ซีท

คลิปจำลองเหตุรถชน 5 แบบเผยให้เห็น คาร์ซีทแรกเกิด ปกป้องลูกได้

Alternative Textaccount_circle
event
คาร์ซีทแรกเกิด คาร์ซีท
คาร์ซีทแรกเกิด คาร์ซีท

เคล็ดลับการฝึกลูกให้นั่งคาร์ซีท

  1. การนั่งคาร์ซีทนั้น สามารถเริ่มได้ตั้งแต่แรกเกิด โดยใช้ คาร์ซีทแรกเกิด ที่มีที่นั่งที่เหมาะกับสรีระของเด็กทารก
  2. ก่อนเดินทางทุกครั้งให้บอกลูกเสมอว่า ต้องนั่งคาร์ซีท แม้ลูกจะโวยวาย ร้องไห้ ก็ต้องไม่ยอมใจอ่อน เมื่อเขาเรียนรู้ว่าการนั่งคาร์ซีทเป็นสิ่งจำเป็น และไม่มีการอ่อนข้อ ลูกจะชินในครั้งต่อ ๆ ไป และเลิกงอแงในที่สุด
  3. พ่อหรือแม่ สามารถนั่งเป็นเพื่อนลูกด้านหลัง ใกล้ชิดกับคาร์ซีท เพื่อไม่ให้ลูกรู้สึกไม่ดี
  4. ระหว่างเดินทาง พูดคุย คุยเล่น หรือหากิจกรรมอื่น ๆ ที่สามารถเล่นบนรถ เพื่อให้ลูกเล่นเกิดความเพลิดเพลินจนลืมเรื่องที่ไม่อยากนั่งได้
  5. หาของเล่นติดรถไว้เสมอ เป็นตัวช่วยเวลาที่พ่อแม่ขับรถ และไม่มีคนดูแลลูก ของเล่นก็เป็นตัวช่วยให้ลูกนั่งนิ่ง ๆ ในคาร์ซีทได้
  6. ต้องใจแข็ง ถึงแม้ลูกจะงอแงเพียงใด ก็ไม่ควรอุ้มลูกออกมาจากคาร์ซีทเป็นอันขาด

วิธีนั่ง และหันคาร์ซีทที่ถูกต้องตามแต่ละช่วงวัย

การนั่ง และหันคาร์ซีทของเด็กแต่ละช่วงวัยจะมีความแตกต่างกันตามอายุ เพื่อความปลอดภัยควรให้เด็กนั่งคาร์ซีทแบบ Rear-facing หรือ แบบหันหน้าเข้าเบาะรถ จนกว่าเด็กจะมีอายุ 2 ปี จะช่วยปกป้องศีรษะ และกระดูกสันหลังส่วนคอ ซึ่งเป็นส่วนที่บอบบางที่สุดได้เป็นอย่างดี

คาร์ซีทสำหรับเด็ก ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยปกป้องและช่วยลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ที่มีเข็มขัดนิรภัย 3 จุด ส่วนทารก ร่างกายยังไม่แข็งแรงพอที่จะทนต่อแรงกระแทกตามรายงานใน Pediatrics ฉบับเดือนเมษายน ค.ศ.2011 กล่าวว่ากระดูกและเอ็นของกระดูกสันหลังของทารกสามารถยืดได้ถึง 2 นิ้ว ขณะที่ไขสันหลังสามารถยืดได้เพียง ¼ นิ้ว เท่านั้น นั่นก็หมายความว่า ถ้ากระดูกสันหลังได้รับแรงกระแทกจากการชน ไขสันหลังก็มีความเสี่ยงต่อการถูกทำลาย ส่งผลให้สมองเสียหาย หรือเป็นอัมพาตได้เลย และจากการทดสอบการเกิดอุบัติเหตุและการชน โดยติดตั้งคาร์ซีทแบบ Rear-facing หรือ แบบหันหน้าเข้าเบาะ พบว่าสามารถป้องกันแรงได้มากกว่าการติดตั้งแบบ Forward Facing หรือแบบหันหน้าออกเบาะได้มากถึง 4-5 เท่า

พฤติกรรมเข้าใจผิดที่เกี่ยวกับการให้ลูกนั่งรถ ที่พ่อ-แม่ ทำกันจนเคยชิน ! 

1. นั่งตัก กอดไว้ ปลอดภัยแน่นอน 

จากคลิปเบื้องต้นจะเห็นได้ว่า แรงปะทะจากอุบัติเหตุนั้นรุนแรงกว่าที่คิด มือที่โอบกระชับลูกไว้เหนียวแน่น ไม่เพียงพอที่จะคุ้มครองเขาได้ เมื่อเกิดเหตุจริง ๆ มือของคุณพ่อคุณแม่ที่อุ้มลูกก็หลุดตามแรงกระแทก ทางที่ดีหาเบาะเด็กให้ลูกรักของคุณจะดีที่สุด หากไม่มีเบาะเด็กจริงๆ ควรให้เด็กโดยสารที่เฉพาะเบาะหลัง ค่อนไปทางซ้ายหรือขวาเท่านั้น ห้ามให้เด็กนั่งเบาะหน้าโดยเด็ดขาด เพราะหากให้เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี นั่งเบาะหลัง จะสามารถเพิ่มความปลอดภัย ในการโดยสารรถยนต์ ได้ถึงร้อยละ 37

2. ไม่ต้องใช้เบาะเด็ก รัดเข็มขัดนิรภัยของรถไปเลย 

เข็มขัดนิรภัยที่ติดตั้งในรถยนต์ ได้รับการออกแบบมาสำหรับสรีระผู้ใหญ่เท่านั้น การที่ให้เด็กเล็กคาดเข็มขัดนิรภัยของรถ เป็นอันตรายมากกว่านั่งบนเบาะเด็กมาก หรือกระทั่งนั่งโดยไม่คาดอะไรเลยก็ตาม เพราะเข็มขัดนิรภัยที่ไม่สามารถรัดร่างกายเด็กได้แน่น เมื่อเกิดแรงปะทะ เด็กจะหลุดออกจากเข็มขัดนิรภัย หรือก่อให้เกิดแรงกระแทกที่เป็นอันตรายต่อสมอง และคอ ร้ายกว่านั้นเข็มขัดอาจกลายเป็นมัจจุราช บาดตามร่างกาย เช่น ท้อง หรือคอ จนถึงขั้นเสียชีวิต แต่สำหรับเด็กอายุใกล้ 10 ปี หรือตัวโตพอ อาจใช้ที่นั่งเสริม แล้วจึงใช้เข็มขัดนิรภัยของรถรัดได้

3. ให้นั่งเบาะเด็กแล้ว แต่เอาไว้เบาะหน้า 

การติดตั้งที่นั่งเด็ก ควรคำนึงถึงอายุ และขนาดของเด็ก โดยหากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี หรือมีน้ำหนักน้อยกว่า 9 กก. ควรให้นั่งหันไปด้านหลังรถเสมอ เพราะส่วนศีรษะของเด็กจะใหญ่มาก เมื่อเทียบกับขนาดลำตัว และกระดูกคอยังไม่แข็งแรงพอ ที่จะรับแรงกระแทกได้ ส่วนเด็กอายุตั้งแต่ปีครึ่ง สามารถนั่งหันไปด้านหน้ารถได้ แต่อย่างไรก็ตามควรให้เด็กนั่งบนเบาะเด็ก ที่ติดตั้งบนตำแหน่งเบาะหลังเท่านั้น ส่วนเบาะหน้าสามารถนั่งได้ แต่ให้หันไปทางหลังรถ และมีเงื่อนไข คือ ต้องเป็นรถที่ไม่มีถุงลมนิรภัย เพราะแรงอัดจากถุงลมนิรภัยอาจทำให้เด็กถึงแก่ชีวิตได้

4. มีจุดยึดเบาะมาให้ ใช้ไม่ใช้ก็ค่าเท่ากัน 

รถบางรุ่นมีจุดยึดเบาะเด็กมาให้ แต่บางรุ่นไม่มี ส่วนเบาะเด็ก บางรุ่นก็มีสลักสำหรับลอคยึดกับรถ แต่บางรุ่นไม่มีเช่นกัน ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ และเบาะเด็กมีให้ไม่เท่ากัน ขอบอกว่าถ้าทั้งรถ และเบาะเด็กมี ก็อย่าลืมที่จะล็อคให้แน่นด้วย นอกเหนือจากการยึดกับเข็มขัดนิรภัยของรถเพียงอย่างเดียว เพราะเข็มขัดนิรภัยของรถยนต์บางรุ่น หรือในกรณีที่ชนแรงๆ เข็มขัดอาจไม่สามารถรั้งผู้ที่รัดอยู่ได้รวดเร็วเพียงพอ มาตรฐาน เบาะเด็ก ยุคนี้ ในอดีต ปัญหาสำหรับพ่อแม่ ในการใช้เบาะเด็ก คือ ความยุ่งยากในการติดตั้ง แต่ละชนิดแต่ละยี่ห้อ ก็มีวิธีการติดตั้งไม่เหมือนกัน จนอาจจะติดตั้งผิดโดยไม่รู้ตัว ทำให้เกิดอันตรายอย่างใหญ่หลวง เคยมีการสำรวจในสหรัฐอเมริกาว่า มีผู้ใช้ถึงร้อยละ 80 ที่เคยติดตั้งผิดวิธี ส่วนในเยอรมนีร้อยละ 63 ฉะนั้นจึงต้องหามาตรฐานใหม่ และเป็นแบบเดียวกัน ทั้งผู้ผลิตรถยนต์ และผู้ผลิตเบาะเด็ก เพื่อให้การติดตั้งที่นั่งเด็ก ทำง่าย ไม่สับสนอย่างที่เคย

คาร์ซีท คืออีกหนึ่งอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเด็กในรถเลยที่สำคัญมากเลยทีเดียว แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ ทัศนะคติ และความมีวินัยต่อความปลอดภัยในการให้เด็กนั่งรถ พ่อแม่ควรติดตั้งเบาะเด็กในรถยนต์แทนการอุ้มเด็กไว้บนตัก หรือปล่อยให้เด็กนั่ง หรือยืนในรถโดยไม่มีการยึดเหนี่ยว เนื่องจากเมื่อเกิดเหตุอาจทำให้เด็ก กระเด็นออกไปนอกรถ ดังที่เห็นได้จากการทดลองในคลิปข้างต้น เพื่อลดความรุนแรง และความสูญเสีย พ่อแม่ หรือผู้ปกครองควรให้ความสำคัญกับการใช้คาร์ซีท เนื่องจากร่างกายของเด็กมีขนาดเล็ก ไม่เหมือนกับร่างกายของผู้ใหญ่ เข็มขัดนิรภัยของรถยนต์ไม่เพียงพอต่อการยึดเหนี่ยว และป้องกันได้ดีเท่าที่ควร และเหนือสิ่งอื่นใด การขับขี่ด้วยความไม่ประมาท ยังคงเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ในการขับขี่ เพื่อความปลอดภัยของทุกคนบนรถที่คุณรัก

ข้อมูลอ้างอิงจาก https://www.viriyah.co.th/ http://www.rockingkidsthailand.com/ https://www.motorexpo.co.th

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

อุทาหรณ์ อุบัติเหตุในเด็กเล็ก พร้อม 6 วิธี ลดเสี่ยงเกิดเหตุ

อันตรายจากรถหัดเดิน…ลูกถูกสิบล้อทับเพราะรถหัดเดินไหลลงถนน

รวม 12 อุบัติเหตุที่แม่ท้อง ต้องระวัง!

รีวิวแป้งเด็ก ผิวลื่น แห้งสบาย ปลอดภัยต่อเด็ก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up