ไขข้อเท็จจริง! สัญญาณ WiFi ทำให้เด็กเป็นออทิสซึมจริงหรือ?

event

สัญญาณ WiFi

อย่างไรก็ตาม ด้านรศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์ในเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ตั้งข้อสังเกตอีกด้านหนึ่ง ถึงประเด็นดังกล่าว โดยระบุว่า งานวิจัยเรื่อง “สัญญาณ WiFi ทำให้เด็กทารกเป็นออทิสซึม” นั้น ไม่น่าเชื่อถือ … โดย คุณแม่ท่านหนึ่งถามมาว่า ที่เจอคำเตือนตามเพจแม่และเด็กว่า “สัญญาณ Wi-Fi มีผลต่อทารกในครรภ์” นั้น จริงเท็จแค่ไหน ?

เนื้อหาในเพจเขียนว่า “ผลงานการวิจัย ที่เชื่อว่า สัญญาณ Wi-Fi มีผลต่อ สุขภาพทารกในครรภ์ เพราะWiFi เป็นสาเหตุให้เกิดการจับตัวกันของธาตุโลหะในเซลล์สมอง ซึ่งการสะสมนี้จะทำให้เกิดอาการออทิสติกอย่างค่อยเป็นค่อยไปซึ่งรายงานนี้ได้ตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ ที่มีชื่อว่า the Australasian Journal of Clinical Environmental Medicine คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องใช้อย่างระมัดระวัง” เขียนน่ากลัวมากจนอยากจะเอากล่องไวไฟออกไปจากห้องนอน

รศ.เจษฎา จึงตามหาเปเปอร์วิจัยที่ว่า ซึ่งมีการนำไปอ้างอิงกันเยอะมากตามเพจต่างๆ (โหลดเปเปอร์ได้ที่ http://www.whale.to/vaccine/EMR-Autism-ACNEM-final.pdf ) แต่ดูแล้ว “ไม่ได้น่าเชื่อถืออะไร” แถมดูแล้วน่าสงสัยในความโปร่งใสของผู้วิจัยด้วย จึงมีข้อให้ลองพิจารณากันดู

  1. งานนี้ทำโดย Tamara J. Mariea และ George L. Carlo ตีพิมพ์ในปี 2007 อ้างว่า “Wi-Fi เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดอาการออทิสซึม (autism)”

ถ้าเช็คประวัติแล้ว ทั้ง Mariea และ Carlo นี้อยู่ในกลุ่มที่ชื่อว่า The Safe Wireless Initiative ซึ่งรณรงค์ต่อต้านการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (หรือ electromagnetic radiation EMR) เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือ รวมถึง WiFi ด้วย … จึงน่าสงสัยถึงความเป็นกลางในการวิจัย

  1. ทั้งๆ ที่ถ้าผลการวิจัยนี้ เป็นจริงอย่างที่ว่า มันก็คงจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจัยทางการแพทย์ระดับโลกที่มีชื่อเสียง และน่าจะมีคนทำวิจัยได้ผลคล้ายคลึงกันตามมา … แต่งานนี้ตีพิมพ์ในวารสารวิจัยที่ไม่ได้มีชื่อเสียงอะไร จากองค์กรชื่อ the Australasian College of Nutritional and Environmental Medicine (ACNEM) ในออสเตรเลีย http://www.acnem.org/ (ทั้งๆ ที่ทั้งคู่นั้นทำงานในอยู่อเมริกา)

ซึ่งองค์กรนี้ก็ไม่ได้เป็นสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนเป็นเรื่องเป็นราวอะไรและหลักๆก็มักจะจัดอบรม-สัมมนาเกี่ยวกับการแพทย์ทางเลือก อย่างเช่น การวิเคราะห์สุขภาพด้วยการปริมาณโลหะหนักและแร่ธาตุในเส้นผม เพื่อนำไปสู่การทำคีเลชั่น (chelation) ออกจากร่างกาย

  1. งานวิจัยนี้อ้างเช่นเดียวกันว่า การรักษาคนไข้ที่เป็นออทิสซึมนั้น ควรจะใช้การทำคีเลชั่น ล้างโลหะที่เป็นพิษออกจากร่างกาย ซึ่งแนวคิดนี้ไม่ได้เป็นทียอมรับทางการแพทย์กระแสหลักแต่อย่างไร และเคยมีกรณีที่เด็กออทิสซึมอายุ 5 ขวบตายจากการทำแบบนี้มาแล้วในอเมริกา
  2. งานวิจัยนี้อยู่บนแนวคิดที่ว่า โทรศัพท์มือถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดออทิสซึม เพราะอัตราการเกิดออทิสซึมนัั้นสูงขึ้นมหาศาล สอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีไร้สาย แต่จริงๆ แล้ว อัตราการเกิดออทิสซึมนั้นไม่ได้เพิ่มขึ้นมากมายแต่อย่างไร แต่เป็นการพัฒนาวิธีการตรวจและการระบุอาการในยุคหลังนี้ ที่ทำให้ตัวเลขคล้ายจะสูงขึ้นเช่นนั้น
  3. จุดบอดสำคัญในเชิงการวิจัยนี้ ก็คือ การออกแบบการทดลองนั้นแย่มาก มีการใช้เด็กที่เป็นอาสาสมัครทดลองเพียงแค่ 20 คนในการนำมาสรุปผล โดยที่การทดลองเองก็ไม่มีชุดควบคุม (control) และไม่ได้เป็นการทดลองแบบ ไม่อาจทำนายผลล่วงหน้า (blinded test)
  4. การทดลองนี้ยังอ้างผลว่า เด็กที่อยู่ในคลีนิก ที่มีสภาพแวดล้อมแบบ “ปราศจากการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า” นั้นจะมีปริมาณโลหะหนักในร่างกายน้อยลง (และเชื่อว่าทำให้ไม่เป็นออทิสซึม) แต่ในความเป็นจริงแล้ว คลืนแม่เหล็กไฟฟ้านั้นมีอยู่รอบตัวเราทั่วไปหมด ถึงในห้องนั้นจะไม่มีกล่องไวไฟหรือไม่มีการใช้โทรศัพท์มือถือ ไม่ว่าจะมาจากสัญญาณโทรศัพท์ วิทยุโทรทัศน์ ตลอดจนที่ออกมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมอเตอร์ รวมถึงแค่สายไฟที่เดินอยู่ในอาคารนั้น ก็สามารถแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้เช่นกัน ถ้าจะทดลองให้ได้ EMR-free จริงๆ ก็คงต้องให้ไปอยู่ในกรงฟาราเดย์กันล่ะครับ

เอาเป็นว่าลองพิจารณากันดูครับว่าจะกลัวกล่อง WiFi กันต่อไปหรือเปล่า ถ้าเพื่อความสบายใจและอดใจไม่เล่นเฟสบุ๊คที่บ้านได้ ก็ลองดูครับ

แม้การมีคลื่นสัญญาณ WiFi ใช้สร้างประโยชน์ให้กับเราอย่างมากมาย ทั้งเรื่องการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูลเพื่อการศึกษา การทำธุรกิจการค้า ฯลฯ แต่แน่นอนว่าไม่มีอะไรที่มีแต่ประโยชน์และไม่มีโทษร่วมด้วย

ดังนั้นสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่จึงควรตระหนัก นั้นก็คือการใช้มันอย่างฉลาด รู้จักควบคุมการใช้ของตัวเอง เช่นการไม่ใช้นานเกินไปในแต่ละวัน หรือใช้เฉพาะที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้นก็พอ ซึ่งนอกจากสัญญาณ WiFi แล้ว ยังรวมถึงการใช้ไมโครเวฟ และโทรศัพท์มือถือด้วยที่มีผลเสียต่อร่างกายได้ถ้าใช้อย่างไม่ระวังหรือมากเกินไป

อ่านต่อบทความน่าสนใจ

11 วายร้าย!! ทำลายสมองลูก
โทรศัพท์มือถืออันตราย กับลูกน้อยจริงหรือไม่?

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :  www.earthcalm.com , www.matichon.co.th , www.manager.co.th

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up