ฝึกให้ลูกเคี้ยวอาหาร

“ต้มจืดลูกเงาะ” เมนูดีช่วย ฝึกให้ลูกเคี้ยวอาหาร (สำหรับลูกวัย 1 ขวบขึ้นไป)

event
ฝึกให้ลูกเคี้ยวอาหาร
ฝึกให้ลูกเคี้ยวอาหาร

เมื่อถึงวัยที่คุณแม่ต้อง ฝึกให้ลูกเคี้ยวอาหาร (10-12 เดือนขึ้นไป) ซึ่งอาหารเสริมสำหรับเจ้าตัวเล็กวัยนี้ เริ่มจะเพิ่มความหยาบมากขึ้น คุณแม่ก็สามารถทำอาหารเสริมได้หลากหลาย จากที่นำส่วนผสมโถปั่นก็เปลี่ยนเป็นใช้การสับหยาบ ๆ เพื่อให้ลูกได้ใช้ฟันขบกัดเคี้ยวกลืน

เมื่อพูดถึงการฝึกให้ลูกเคี้ยวอาหาร ดูๆ ไปแล้วก็อาจจะไม่ใช่เรื่องยาก แต่คุณแม่รู้หรือไม่ว่า…กว่าที่เจ้าตัวเล็กจะสามารถเคี้ยวอาหารต่างๆ ได้คล่อง ต้องอาศัยเวลาในการฝึกพอสมควร เพราะการบดเคี้ยวและกลืนอาหารต้องอาศัยการทำงานประสานกันของอวัยวะในช่องปากหลายส่วน

ฝึกให้ลูกเคี้ยวอาหาร ด้วย “ต้มจืดลูกเงาะ”
สูตรดีทำง่าย ได้ประโยชน์เต็มคำ!

ฝึกให้ลูกเคี้ยวอาหาร

สำหรับเด็กบางคนอาจเคยมีประสบการณ์กินอาหารที่แข็งครั้งแรกแล้วไม่สำเร็จ คือไม่ทันได้เคี้ยวให้ละเอียดแล้วรีบกลืนลงคอ ทำให้ระคายคอแล้วอาเจียน หรืออาจเป็นเพราะพ่อแม่ป้อนอาหารคำใหญ่เกินไป ทำให้เคี้ยวยากและกลืนลำบาก หากพยายามกลืนก็อาจมีอาการจุกในคอ เนื่องจากอาหารติดอยู่ในหลอดอาหาร หากเป็นในผู้ใหญ่ จะใช้วิธีรีบดื่มน้ำเข้าไป อาการจึงดีขึ้น แต่เด็กจะไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นและควรแก้ไขอย่างไร

หากอาหารติดคออยู่นานอาจทำให้ลูกเล็กกลัวการกินของแข็งไปเลย ร่วมกับอาการตื่นเต้นตกใจของผู้ป้อนที่เห็นเด็กมีอาการอาเจียนหรือติดคอ เด็กจะกลัวการกินของแข็งและฝังใจว่าถ้ากินอีกจะอาเจียนอีก กลายเป็นพฤติกรรมที่ติดเป็นนิสัยได้ค่ะ ดังนั้นครั้งต่อมาเมื่อมีการป้อนข้าวลักษณะเดียวกันอีก ทั้งที่ยังไม่เข้าปากลูกเลยเขาอาจจะเริ่มทำท่าโก่งคออาเจียนแล้ว

(ชมคลิป >> ช่วยลูกอาหารติดคอ สำลัก เมื่อไม่หมดสติ)

การเคี้ยว..สำคัญกับลูกแค่ไหน

หากพูดถึง การเคี้ยว ที่ดูเหมือนง่ายกับเรา แต่อาจยากสำหรับลูกในตอนแรกๆ นั้น สำคัญกับการเจริญเติบโตของลูกน้อยเป็นอย่างมากเลยนะคะ เพราะการเคี้ยวเป็นจุดเริ่มต้นของการย่อยอาหาร และการนำสารอาหารไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ถ้าลูกเคี้ยวไม่เป็น ก็เท่ากับว่า ลูกจะไม่มีการเจริญเติบโตตามวัยที่ดี ซึ่งเมื่อลุกอายุครบ 1 ขวบ นมที่เคยเป็นอาหารหลัก ก็จะกลายเป็นอาหารเสริมไปโดยปริยาย นั่นก็แปลว่าอาหารหลักที่เข้ามาแทนที่นมก็จะเป็นอาหาร ที่หลากหลายและครบ 5 หมู่ด้วยค่ะ

ฝึกทักษะเคี้ยว-กลืน เริ่มได้ตั้งแต่ 6 เดือน

คุณแม่อาจฝึกทักษะด้านการเคี้ยวและกลืนได้ตั้งแต่เล็ก

  • โดยพยายามให้ลูกได้เห็นคนอื่นทำเป็นต้นแบบ ตั้งแต่การตักอาหารเข้าปากเคี้ยวและกลืน พอถึงวัยให้อาหารเสริม คืออายุ 6 เดือน ควรทำอาหารให้มีลักษณะข้นกว่านม คล้ายโยเกิร์ต แล้วใช้ช้อนตักป้อน เพื่อฝึกการใช้ลิ้นพาอาหารให้กลืนลงคอได้ ไม่ใช่ปั่นจนเหลวแล้วใส่ขวดให้ลูกดูด
  • พอลูกกลืนได้คล่อง ให้ทำอาหารเหนียวข้นขึ้นเรื่อยๆ (คล้ายมันบด) ลูกจะเริ่มมีทักษะในการกลืนของที่ฝืดคอมากขึ้น เมื่อลูกเริ่มมีอาการคันเหงือก อยากเคี้ยว อยากงับ ให้ทำอาหารที่หยาบขึ้น แต่ตุ๋นจนนุ่ม เป็นการบังคับให้ลูกหัดเคี้ยวก่อนกลืนลูกไม่ยอมเคี้ยว ติดคอ สำลัก
  • พอลูกเริ่มนั่งเองได้ ให้นั่งรับประทานอาหารกับผู้ใหญ่ โดยทำอาหารที่หยิบใส่ปากได้ด้วยตัวเอง เช่นผักต้มสุกจนนิ่ม หรือผลไม้เนื้อนิ่มหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
  • เมื่อลูกอายุ 9 – 10 เดือน ควรให้รับประทานข้าวต้มนิ่มๆ หรือโจ๊ก และเปลี่ยนเป็นข้าวสวยได้เมื่ออายุประมาณ 1 ขวบขึ้นไป โดยไม่จำเป็นต้องรอจนเด็กมีฟันครบ

นอกจากนี้การฝึกให้ลูกเคี้ยวจะต้องเริ่มด้วยอาหารที่เหมาะสม และต้องเริ่มในเวลาที่ถูกต้องด้วยถึงจะช่วยให้การฝึกได้ผลดี การจัดอาหารตามวัยให้เด็กๆลูกถือเป็นเรื่องสำคัญ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและนักโภชนาการย้ำเสมอว่า ต้องปรับให้เนื้ออาหารหยาบขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้เด็กใช้ฟันและฝึกการเคี้ยว จนกินอาหารแข็งได้ค่ะ

อ่านต่อ >> “เผยสูตรดี เมนูฝึกให้ลูกเคี้ยวอาหาร “ต้มจืดลูกเงาะ”
ทำง่าย ได้ประโยชน์เต็มคำ
!” คลิกหน้า 2


บทความโดย : พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด

เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up