โรคสุกใส

แพทย์เตือน! โรคอ้วนอาจนำไปสู่โรคมะเร็งได้

Alternative Textaccount_circle
event
โรคสุกใส
โรคสุกใส

คำว่า “อ้วน” คงไม่มีใครที่อยากจะเผชิญกับปัญหาอ้วน และโรคของความอ้วนสามารถเป็นบ่อเกิดกับโรคต่าง ๆ ที่ร้ายแรงได้อีกในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ หรือโรคเบาหวาน แต่ว่าทุกวันนี้ทางการแพทย์ได้มีวิวัฒนาการสมัยใหม่ สามารถดูแลป้องกันรักษาและแก้ไขโรคอ้วนได้อีกด้วย

นพ.สุขประเสริฐ จุฑากอเกียรติ อายุรแพทย์ระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเวชธานี ได้ให้ข้อมูลว่า  สาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งพบว่า เซลล์ไขมันที่มาก สามารถผลิตฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน จะทำให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ มะเร็งเยื่อบุโพร่งมดลูก หรือมีการผลิตฮอร์โมนบางอย่างที่ไปกระตุ้น ทำให้เซลล์แบ่งตัวผิดปกติทำให้เกิดมะเร็งในอวัยวะต่าง ๆ เพิ่มขึ้นได้

การป้องกันให้หายจากการเป็นโรคอ้วน

การที่จะลดน้ำหนักได้จะต้องลดปริมาณอาหารที่รับประทานเข้าไป และต้องมีการเผาผลาญพลังงาน คือการรับประทานจำกัดแคลลอรี่ ร่วมกับการออกกำลังกาย และถ้าเกิดกับคนที่มีน้ำหนักเกินมาก ๆ  เช่นค่าดัชนีมวลกายเกิน 35

หรือเกิน 40 ไปเลย (BMI ≥ 40 (มากกว่าหรือเท่ากับ 40)) อาจจะต้องใช้วิวัฒนาการทางการแพทย์ช่วย เช่นการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร การผ่าตัดบายพลาสลดขนาดในกระเพาะอาหาร  ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับคนไข้ไม่มาก เช่นค่าดัชนีมวลกายอยู่ที่ 25 – 35  ที่คิดว่ายังคงไม่ต้องผ่าตัด

วิวัฒนาการใหม่ ไม่ต้องผ่าตัด

ล่าสุดมีเทคโนโลยีใส่บอลลูนในกระเพาะอาหาร เป็นการส่องกล้องใส่ในกระเพาะอาหาร เป็นการใส่บอลลูนในกระเพาะ หลักการเดียวกันกับการผ่าตัดรัดกระเพาะอาหาร คือการนำบอลลูนไปแทนที่ในกระเพาะ เพื่อทำให้คนไข้รู้สึกว่า มีอาการอิ่ม หรือว่ารับประทานได้น้อยลง นี่ก็จะเป็นตัวช่วยอย่างหนึ่งที่สามารถช่วยลดน้ำหนักคนไข้ได้ ซึ่งโดยเฉลี่ย สามารถลดน้ำหนักภายใน 1 ปีได้ประมาณ 24 กิโลกรัม

            การใส่บอลลูนที่ใส่เข้าไปอยู่ได้นานขนาดไหน

ปกติตัวบอลลูนในกระเพาะอาหารจะทำด้วยยางซิลิโคน เหมือนกับยางที่ใช้ในการทำศัลยกรรมตกแต่งทั่วไป ซึ่งมีความปลอดภัยจากคนไข้ แต่เนื่องจากอยู่ในกระเพาะอาหาร ต้องมีการบดอาหารจากในกระเพาอาหาร มีเรื่องของน้ำย่อย ฉะนั้น โดยปกติตัวบอลลูนในกระเพาะอาหารจะอยู่ในกระเพาะเราได้ประมาณ 1 ปี ก็ต้องมาถอดออก

            หลังจากร่างกายผอมแล้วถอดบอลลูนออกจะกลับมาอ้วนได้อีกมั้ย

พอถอดบอลลูนออก ถ้าคนไข้สามารถที่จะควบคุมวินัยในการรับประทานเช่นเดียวกับช่วงที่ใส่บอลลูนอยู่ คือรับประทานเป็นมื้อ ทานในปริมาณที่เหมาะสม ก็สามารถที่จะรักษาระดับน้ำหนักตัวขณะนั้นไปได้ แต่ถ้าคนไข้บางรายที่คิดว่า พอถอดออกแล้วกลับไปรับประทานเยอะเหมือนเดิม ก็สามารถที่จะกลับมาใส่บอลลูนลูกใหม่เข้าไปได้ โดยที่อายุของบอลลูนในกระเพาะอาหารอยู่ได้ 1 ปี

            ผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น

ประมาณ 0.2 – 0.3%  คือ  2 – 3คนในพันคน  โอกาสที่จะเกิดได้เช่น ตัวบอลลูนรั่ว  แต่ถ้าบอลลูนรั่วก็จะสังเกตได้จากสีปัสสาวะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีฟ้า เพราะจะมีการใส่สารที่ปัสสาวะเป็นสีฟ้าหากมีภาวะบอลลูนรั่ว และคนไข้ดูว่าผิดปกติก็ต้องกลับมาพบแพทย์

สาว ๆ หรือ หนุ่ม ๆ คนไหน ไม่อยากตกอยู่ในสภาวะของคนเป็นโรคอ้วน ควรจะปฎิบัติตัวให้มีวินัย ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอก็จะทำให้ปราศจากโรคอ้วนได้

 

เรื่อง โรงพยาบาลเวชธานี
ภาพ Shutterstock

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up