ครูลงโทษเด็ก

อุทาหรณ์! อาจารย์สาวมือเป็นแผล หั่นหมูดิบ ติดเชื้อหูดับ เสียชีวิต!

Alternative Textaccount_circle
event
ครูลงโทษเด็ก
ครูลงโทษเด็ก

อาจารย์สาวมือเป็นแผล – อาจารย์สาววัย 49 ป่วยโรคไข้หูดับ เสียชีวิต หลังซื้อเนื้อหมูมาทำหมูกระทะ และพบว่า ลงมือหั่นหมู ทั้งที่มือเป็นแผล  จนติดเชื้อในกระแสเลือด จากกรณี งานระบาดวิทยาสำนักงานสาธารณสุข ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลกรุงเทพพิษณุโลกว่า พบผู้เสียชีวิตโดย “โรคไข้หูดับ”  เป็นเพศหญิง อายุ 49 ปี ในเขตพื้นที่ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ช็อก! อาจารย์สาวมือเป็นแผล หั่นหมูดิบ ติดเชื้อไข้หูดับ เสียชีวิต!

นายแพทย์รัฐภูมิ ชามพูนท รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า ผู้เสียชีวิตเป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพิษณุโลก จากการตรวจสอบในเบื้องต้นพบว่า ได้มีการซื้อเนื้อหมู จากห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง มาประกอบอาหาร (ปิ้งย่างหมูกระทะ) ร่วมกับเพื่อนๆ  ภายหลังสืบทราบว่าผู้เสียชีวิตมีแผลที่มือเป็นผู้ลงมือหั่นหมู จากนั้นเริ่มมีอาการท้องเสีย อาเจียน จึงไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลกรุงเทพพิษณุโลก โดยมีอาการปวดกระดูก หนาวสั่น ปากเขียว และต้องย้ายไปห้องไอซียู จากนั้นร่างกายไม่มีการตอบสนอง ไตวาย ก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยแพทย์สงสัยว่า เป็น “โรคไข้หูดับ”

โรคไข้หูดับคืออะไร?

ไข้หูดับ หรือ โรคติดเชื้อสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส เกิดจากเชื้อ Streptococcus (S.) suis เป็นสาเหตของภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อในกระแสเลือดและการสูญเสียการได้ยิน สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยการรับประทานเนื้อสัตว์ดิบ และการสัมผัสสัตว์ป่วย ทําให้เชื้อเข้าทางบาดแผลตามร่างกาย หรือเข้าทางเยื่อบุตา เนื่องจากเชื้ออาศัยอยู่ใน ต่อมทอนซิล ทางเดินอาหาร ช่องคลอดและโพรงจมูกของหมู

ผู้ที่ติดเชื่อส่วนใหญ่มักมีอาชีพเกี่ยวกับการเลี้ยงหมูทํางานในโรงงาน ชําแหละหมู หรือผู้สัมผัสกับสารคัดหลั่งของหมู ย และผู้ทมี่ ีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้จําหน่าย หรือผทู้ ี่ รับประทานเนื้อหมูดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบหมูดิบ หรือหลู้ ที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ โรคนี้พบได้ในทุกช่วงอายุแต่โดยทั่วไปจะพบในผู้ใหญ่และพบในเพศชายสูงกว่าเพศหญิง

อาจารย์สาวมือเป็นแผล
อาจารย์สาวมือเป็นแผล

อาการและการก่อโรค

เชื้อไข้หูดับมีมากกว่า 30 ชนิด แต่ที่พบมากที่สุดในการก่อให้เกิดโรคในคน คือ เชื้อ ซีโรทัยป์ 2  ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 1 – 14 วัน แต่มักมีอาการหลังรับเชื้อไม่เกิน 3 วัน

อาการที่พบ ได้แก่ มีไข้หนาวสั่น หอบเหนื่อย คลื่นไส้ อาเจียน  ปวดศีรษะ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่ง นําไปสู่การเสียชีวิตจากภาวะ toxic shock syndrome ผู้ป่วยบางรายที่ไม่เสียชีวิตส่วนใหญ่จะพบความพิการตามมา เช่น สูญเสียการทรงตัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง และสูญเสียการได้ยิน จนถึงขั้นหูหนวก หรือที่เรียกว่าหูดับ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตเนื่องมาจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต

มีรายงานผู้ป่วยติดเชื้อไข้หูดับ ครั้งแรกที่ประเทศเดนมาร์คในปี พ .ศ .2511 หลังจากนั้นก็พบผู้ป่วยติด เชื้อนี้จํานวนเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีการเลี้ยงหมูกันอย่างหนาแน่น ในช่วงฤดูร้อนของปี พ .ศ .2548 ได้มีการระบาดครั้งใหญ่ในคนเกิดขึ้นในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน มีผู้ป่วยติดเชื้อ จํานวน 215 ราย เสียชีวิต 38 ราย

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติการสัมผัสกับหมูหรือเนื้อหมูที่ติดเชื้อ โดยอาการของผู้ป่วยที่พบ จากการระบาดครั้งนี้ได้แก่ การติดเชื้อในกระแสเลือด ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และภาวะช็อค  ( streptococcal toxic shock syndrome) และ นอกจากการระบาดในครั้งนี้แล้ว ยังมีรายงานการติดเชื้อนี้ในคนอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยเองก็พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้หูดับเป็นจํานวนมาก และจากผลการสํารวจของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ปี 2561 ทั่วประเทศ ยังคงพบมีการติดเชื้อกระจายเกือบทุกภาค โดยเฉพาะภาคเหนือ

 

อาจารย์สาวมือเป็นแผล

การป้องกันโรคไข้หูดับ

การป้องกันโรคติดเชื้อไข้หูดับ ทำได้โดยการหลีกเลี่ยง การบริโภคเนื้อหมูดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ  การปรุงเนื้อหมูให้ปลอดภัยจากไข้หูดับ คือ หากผู้ปรุงมีแผลที่ผิวหนัง ต้องปิดแผล และสวมถุงมือยางขณะปรุง นอกจากนี้ควรเลือกซื้อเนื้อหมูจาก ตลาดสด และห้างสรรพสินค้า ซึ่งจะผ่านการตรวจเช็คมาตรฐานจากโรงฆ่าสัตว์ ไม่ควรซื้อเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ เนื้อยุบ การปรุงอาหารควรต้มด้วยอุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศา เซลเซียส นานอย่างน้อย 10 นาที หรือจนน้ำต้มไม่มีสีแดง นอกจากนั้น ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับหมูที่คาดว่าจะเป็นพาหะ ซึ่งมักไม่แสดงอาการป่วย ควรสวมถุงมือ รองเท้าบู๊ต ในระหว่างการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับหมูตลอดจนการรักษาความ สะอาดหลังสัมผัสหมู
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : thairath.co.th , nih.dmsc.moph.go.th
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up