แม่ดุลูก

นักจิตวิทยาชี้ “การดุลูก” ส่งผลให้ลูกเป็นโรคซึมเศร้า

Alternative Textaccount_circle
event
แม่ดุลูก
แม่ดุลูก

 

การดุลูก
เครดิต: Today Show
ในเรื่องของการลงโทษลูกนั้น ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหนก็แล้วแต่ก็ย่อมทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความหนักใจและเสียใจได้ทั้งสิ้น คุณพ่อคุณแม่บางท่าน กลัวลูกไม่รัก เวลาที่ลูกทำผิดก็เลือกที่จะไม่ตี ไม่ตำหนิ ปล่อยให้ลูกทำต่อไปได้ อันนี้ก็ไม่ใช่ทางออกที่ถูกต้องนะคะ บางครอบครัวไม่ดุ ไม่ว่า แต่ลงไม้ลงมือเลยก็มี อันนี้ก็ส่งผลกับสภาพจิตใจของเด็กให้แย่ลงเช่นกัน
มาถึงตอนนี้คุณพ่อคุณแม่ก็สงสัยว่า อ้าว! แล้วจะให้ทำอย่างไร นู่นก็ไม่ได้ นี่ก็ไม่ได้! แล้วแบบนี้ลูกจะรู้จักผิดชอบชั่วดีได้อย่างไร … ซึ่งวันนี้ เราก็จะมาขอนำเสนอวิธีการดุลูกด้วยความรักมาฝากกันค่ะ จะเป็นอย่างไร ไปหาคำตอบพร้อม ๆ กัน

วิธี การดุลูก ด้วยความรัก

วิธีการดังกล่าวนี้ จะเป็นวิธีการกำหนดกฎเกณฑ์กติกาภายในบ้าน แทนการดุว่า หรือลงไม้ลงมือค่ะ ทำง่ายแล้วก็ดีทั้งกับตัวของคุณพ่อคุณแม่ และลูกเอง
  • ตั้งกฎกติกาที่ชัดเจน ลูกปฏิบัติได้และเข้าใจง่าย ยกตัวอย่างเช่น ก่อนเข้าบ้าน อย่าลืมถอดรองเท้า และเก็บรองเท้าให้เป็นที่เป็นทาง ไม่ใช่วางเกะกะไว้ที่หน้าบ้าน
  • หากลูกโตในระดับที่เริ่มสื่อสารได้แล้ว ให้คุณพ่อคุณแม่นั้น เปิดโอกาสให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการตั้งกฎระเบียบ กติกาภายในบ้านด้วยเช่นกันนะคะ เพื่อที่ลูกจะได้รู้ว่า ไม่ใช่แต่คุณพ่อคุณแม่เท่านั้นที่จะเป็นฝ่ายตั้งกฎ เขาก็สามารถทำได้เช่นกัน แบบนี้ยุติธรรมดีค่ะ แต่ก็ต้องคอยดูด้วยนะคะว่า กฎที่ลูกตั้งนั้นเหมาะสมหรือไม่อย่างไรด้วย
  • อย่าบังคับให้เด็กทำตามความต้องการของคุณเท่านั้น ทุกอย่างที่คุณพ่อคุณแม่ตั้ง จะต้องมีเหตุและผลมาอธิบายให้ลูก ๆ เข้าใจ ไม่ใช่ว่า ตั้งมาแล้ว เพราะอยากให้เป็นแบบนี้ แต่ไม่มีเหตุผลอะไร เพราะนี่คือความพอใจของคุณพ่อคุณแม่เอง เป็นต้น
  • เปิดโอกาสให้ลูกได้มีทางเลือกและตัดสินใจด้วยตัวเองบ้างค่ะ อย่าไปเจ้ากี้เจ้าการ กีดกั้นทุกอย่างกับเขาในทุก ๆ เรื่อง
  • เคารพกฎกติกานั้นอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ ลูกจะได้เห็นว่า กฎที่ตั้งไว้นั้นศักดิ์สิทธิ์จริง ๆ
  • ตั้งบทลงโทษอย่างชัดเจน โดยจะต้องรับรู้ร่วมกันระหว่างคุณพ่อคุณแม่ และลูก
  • หากลูกทำผิดกฎกติกา ก็ต้องเรียกลูกมาทำการกล่าวตักเตือนทันที และทำการลงโทษตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้
  • หากลูกสามารถทำได้ ก็ควรที่จะกล่าวชื่นชม หรืออาจจะมีรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ ปลอบใจเขาด้วยนะคะ
ลองดูนะคะ กับวิธีที่ได้กล่าวแนะนำไป ถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลาแต่ก็คงดีกว่าการที่เราไปดุด่าว่าลูกด้วยคำหยาบคาย และลงโทษพวกเขาด้วยการลงไม้ลงมือแน่นอน

เครดิต: ผู้จัดการออนไลน์

คลิกอ่านเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up