ดูแลเด็ก

รองผู้ว่าฯ ศานนท์ ร่วมกับ ม.มหิดล เดินหน้า ดูแลเด็ก ในกรุงเทพฯ ทุกมิติ

Alternative Textaccount_circle
event
ดูแลเด็ก
ดูแลเด็ก

รองผู้ว่าฯ ศานนท์ เชิญ ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ร่วมคณะ เดินหน้า ดูแลเด็ก และเยาวชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ทุกมิติ

รองผู้ว่าฯ ศานนท์ ร่วมกับ ม.มหิดล เดินหน้า ดูแลเด็ก ในกรุงเทพฯ ทุกมิติ

(6 ก.ย. 65) นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หารือร่วมกับ รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อานวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะ ในโอกาสเข้าพบเพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการการขยายผลและพัฒนาความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและเด็กปฐมวัยนอกระบบในกรุงเทพมหานคร และ โครงการเฝ้าระวังภาวะประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยและการแทรกแซงเพื่อฟื้นฟูสุขภาวะเด็กและครอบครัวในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจจากโรคระบาด COVID-19และหลังวิกฤต ณ ห้องรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เขตพระนคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ปัจจุบันนโยบายของ กทม. มุ่งเน้นในเรื่องของเด็กเล็ก โดยจะพัฒนาให้มีจำนวนศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร (ศพด.) อย่างทั่วถึง ดูแลเด็กเล็กให้ได้มากขึ้น และมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งจะต้องมีคุณภาพทั้งในมิติกายภาพ และมิติของหลักสูตรและคุณครู โดยจะมีการเพิ่มสวัสดิการอาหาร/ครุภัณฑ์ เพิ่มสวัสดิการให้คุณครู หาแนวทางเพิ่มความก้าวหน้าในอาชีพ (Career Path) เป็นต้น

การดูแลเด็ก
การดูแลเด็ก

“ก็มีข้อเสนอเรื่องการพัฒนาครู สวัสดิการค่าตอบแทน โครงสร้างการอบรมที่ชัดเจน เช่น อบรมครบกี่ชั่วโมงจะได้ใบรับรอง (certificate) ซึ่งอาจารย์อดิศักดิ์ ก็มีหลายหลักสูตรให้ได้ศึกษาอบรม เรื่องการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร (ศพด.) การคัดกรองและการเยี่ยมบ้านเด็กกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสหลุดจากระบบการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการบูรณาการกับสำนักพัฒนาสังคมในเรื่องของการลงพื้นที่ต่อไป” รองผู้ว่าฯ ศานนท์ กล่าวในตอนท้าย
สำหรับการหารือในวันนี้ รองผู้ว่าฯ กทม. ได้รับฟังรายงานการดาเนินโครงการจาก ผอ.สถาบันฯ ว่า ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สถาบันฯ ได้ดำเนินโครงการร่วมกับทางสำนักพัฒนาสังคม สำนักการศึกษาและสำนักอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานครใน 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือ

  1. ความปลอดภัยของเด็ก โดยพบว่าเด็กในกรุงเทพฯ เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุและความรุนแรงเป็นส่วนใหญ่ ในปัจจุบันกรณีเด็กเสียชีวิตกรุงเทพมหานครได้ตั้งคณะอนุกรรมการพิเคราะห์เหตุการตายในเด็กติดตามหาสาเหตุและวิธีการป้องกัน พบว่าส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นจากการจมน้ำ อุบัติเหตุทางถนน อุบัติเหตุในบ้าน หรืออื่น ๆ มักอยู่ในกลุ่มเด็กยากจนและกลุ่มเด็กที่ได้รับการดูแลไม่เหมาะสม
  2. โครงการลดความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในโครงการการลดความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาเด็กปฐมวัย ทางกรุงเทพมหานครได้เริ่มในปี 2563 โดยสำนักพัฒนาสังคม ได้ร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนากระบวนการสนับสนุนกลุ่มเด็กปฐมวัยที่ตกอยู่ในภาวะยากลำบากทั้งจากความยากจน จากภาวะครอบครัวบกพร่อง หรือจากการได้รับการเลี้ยงดูไม่เหมาะสมให้เข้าสู่ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเก็บตกเด็กที่อยู่นอกระบบนำเข้าสู่ในระบบ ต่อเนื่องปี 2564 ได้ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)ได้พัฒนากระบวนการช่วยเหลือและฟื้นฟูกลุ่มเด็กเหล่านี้จากผลกระทบของการระบาด covid19 ในการดำเนินงานดังกล่าวได้พัฒนาเครื่องมือใหม่ในการค้นหาเด็กกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังเรียกว่า เครื่องมือประเมินคะแนนภาวะชีวิตไม่พึงประสงค์ ACE (ACE: Adverse Childhood Experiences) หมายถึง กลุ่มเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีภาวะบกพร่องได้แก่ครอบครัวที่มีปัญหาแตกแยก ติดยา ใช้ความรุนแรง ก่ออาชญากรรม สุขภาพจิตไม่สมบูรณ์และให้การเลี้ยงดูไม่เหมาะสมทั้งทางกาย ทางเพศ และอารมณ์ รวม 10 คะแนน ซึ่งในช่วงสองปีของการระบาดของโรค covid19 เด็กกลุ่มนี้ที่มีคะแนนชีวิตไม่พึงประสงค์มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ได้รับผลกระทบอย่างมาก ต้องการการฟื้นฟูทั้งสุขภาพกาย จิตใจ และพัฒนาการด้านต่าง ๆ อย่างเร่งด่วน
กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร

ภาวะเครียดเรื้อรัง (Toxic Stress) ส่งผลอย่างไร?

ในการศึกษาของต่างประเทศพบว่ากลุ่มเด็กที่ได้รับ ACE หลายด้านจะนำไปสู่ภาวะเครียดเรื้อรัง (toxic stress) ตั้งแต่วัยเด็กส่งผลต่อการพัฒนาของสมองและร่างกาย จิตใจ พฤติกรรม ระยะยาว เป็นเหตุของความเสื่อมทั้งสุขภาพและศักยภาพตลอดชีวิตตั้งแต่พัฒนาการล่าช้าในวัยเด็กเล็ก การเรียนล้มเหลวในวัยเรียน พฤติกรรมเบี่บงเบนในวัยรุ่น การทางานไม่ประสบความสาเร็จในวัยแรงงาน และเสียชีวิตก่อนวัยจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อ

ในการนี้ รองผู้ว่าฯ กทม.ได้ให้ความสำคัญกับการทางานต่อเนื่องในโครงการนี้ เพื่อพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน และยกระดับศักยภาพของศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร (ศพด.) ให้มีขีดความสามารถในการดูแล ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ยากจนและมีภาวะยากลำบากให้ได้รับการพัฒนาต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ และสนับสนุนให้ขยายผลการใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อสารวจ ค้นหา คัดกรอง และให้ความช่วยเหลือกลุ่มเด็กในภาวะยากลำบากเพื่อบรรเทาอุปสรรคในการเข้ารับบริการใน ศพด. ของครอบครัวยากจน ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพและศักยภาพของผู้ดูแลเด็ก รวมถึงการพัฒนาคุณภาพ ศพด. เช่น จัดการฝึกอบรมและให้คาปรึกษาแก่ครูและผู้ดูแลเด็กของ ศพด. เยี่ยมบ้านร่วมกับทีมบูรณาการด้านสุขภาพและการคุ้มครองเด็ก เป็นต้น

ความปลอดภัยของเด็ก
ความปลอดภัยของเด็ก

นอกจากนั้น รองผู้ว่าฯ กทม. ได้เรียนเชิญ ผอ.สถาบันฯ ให้ร่วมเป็นคณะกรรมการอานวยการที่ดูแลภาพรวมเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งจะประกอบด้วย คณะกรรมการจากหน่วยงานภายในกรุงเทพมหานคร อาทิ สานักพัฒนาสังคม สานักการศึกษา สานักการแพทย์ สานักอนามัย รวมไปถึงหน่วยงานภาคีเครือข่ายภายนอก เพื่อบูรณาการการดูแลกลุ่มเด็กปฐมวัยและเด็กปฐมวัยนอกระบบในกรุงเทพมหานครให้เข้าสู่ระบบและได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมในทุกด้าน

ดูแลไปถึงการเรียนรู้นอกห้องเรียนในเรื่องความปลอดภัยต่าง ๆ ตลอดจนเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนในพื้นที่กรุงเทพฯ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

อันตรายจากรถหัดเดิน…ลูกถูกสิบล้อทับเพราะรถหัดเดินไหลลงถนน

CPR คือ อะไร? เรียนรู้ไว้ กู้ภัยให้ลูกรักปลอดภัยเมื่อสำลัก

สีของชุดว่ายน้ำสำคัญ! ช่วยลูกรอดจากการ จมน้ำ ได้

ผู้เชี่ยวชาญแชร์!! วิธีช่วยเหลือ+ป้องกัน เมื่อ “เด็กจมน้ำ”

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล โทร 081 6828772

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up