ดอกเบี้ย เงินฝาก 2560 ทั้ง ออมทรัพย์ และฝากประจำ ของแต่ละธนาคาร

event

ซึ่งข้อมูลนี้ สมาชิกผู้ใช้พันทิป หมายเลข 3216645 ได้นำข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบุคคลธรรมดา ของธนาคารพาณิชย์ ประจำวันที่ 17 มีนาคม 2560 ในเว็บไซต์ >> www.bot.or.th มาสรุปเป็นตารางให้ดูแบบง่าย ๆ กันดังนี้

ดอกเบี้ย เงินฝาก 2560

โดยสรุป ดอกเบี้ย เงินฝาก 2560 ทั้งออมทรัพย์และฝากประจำ ของแต่ละธนาคาร ได้ดังนี้

ดอกเบี้ย เงินฝากออมทรัพย์

 ดอกเบี้ย เงินฝาก 2560

  • เงินฝากออมทรัพย์

​เป็นบัญชีที่มักไม่กำหนดระยะเวลาและจำนวนครั้งในการฝากถอน มักใช้ร่วมกับบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิต และสามารถใช้หักบัญชีอัตโนมัติเพื่อชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

บัญชีประเภทนี้มักกำหนดเงินฝากขั้นต่ำไว้ไม่สูงนัก แต่ผลตอบแทน (อัตราดอกเบี้ย) ค่อนข้างต่ำ และคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน​ ดังนั้นบัญชีประเภทนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการออมเงินในระยะสั้น มีสภาพคล่องเผื่อไว้กรณีต้องทยอยถอนเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือน ใช้ทำรายการผ่านบัญชีธนาคาร เช่น รับโอนเงินเดือนและชำระค่าสาธารณูปโภค

คำแนะนำ

  1. ควรปรับสมุดบัญชีและตรวจสอบความถูกต้องของรายการธุรกรรมที่เกิดขึ้นในบัญชีอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะเมื่อมีการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิต และหากพบว่ามีรายการที่ไม่ถูกต้องก็ให้รีบติดต่อธนาคารเพื่อขอตรวจสอบและแก้ไขโดยด่วน
  2. ควรศึกษาเงื่อนไขของแต่ละประเภทบัญชีให้ละเอียดก่อนเลือกใช้บริการ เนื่องจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์บางประเภทอาจกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมโดยเฉพาะจำนวนครั้งที่ผู้ฝากจะถอนได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม เช่น กรณีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษซึ่งให้ผลตอบแทนสูงกว่าแบบธรรมดา อาจกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมว่าค่าธรรมเนียมการถอนฟรี 2 รายการแรกต่อเดือน รายการต่อไปเสียค่าธรรมเนียม 500 บาทต่อรายการ​​​​​​
  1. ควรเลือกเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เท่าที่จำเป็นต้องใช้ เพราะหากมีหลายบัญชีเกินความจำเป็นและไม่มีการบริหารจัดการที่ดีพอ เช่น บัญชีที่ไม่เคลื่อนไหวเกินเวลาหรือมียอดเงินคงเหลือในบัญชีต่ำกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด จะถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรักษาบัญชีนอกจากนั้น ธนาคารมักแนะนำให้ลูกค้าที่เปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทำบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิตควบคู่ด้วยเพื่อความสะดวกในการทำธุรกรรม เช่น ถอนหรือโอนเงิน แต่ที่จริงแล้วเรายังคงสามารถเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์โดยไม่จำเป็นต้องทำบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิต เพราะเมื่อเราตกลงทำบัตรเราก็จะมีภาระที่ต้องจ่าย ซึ่งจะมีทั้งค่าธรรม​เนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีของบัตรด้วย โดยแต่ละธนาคารจะกำหนดไว้แตกต่างกัน ดังนั้น หากเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องใช้หรือมีบัตรอยู่แล้ว เราก็มีสิทธิปฏิเสธที่จะไม่ทำบัตร
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน >> ออมเงินเพื่ออนาคตลูกรัก เลือกธนาคารไหนดี?

อ่านต่อ >> “ดอกเบี้ย เงินฝาก 2560 แบบฝากประจำ” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up