ปลาแซลมอนดิบ

หนุ่มใหญ่ช็อก! กิน ปลาแซลมอนดิบ เจอสิ่งนี้ในอุจจาระ

Alternative Textaccount_circle
event
ปลาแซลมอนดิบ
ปลาแซลมอนดิบ

 

 

กินปลาดิบอย่างไรให้ปลอดภัย!

ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้วิธีการรับประทานปลาดิบให้ปลอดภัยจากพยาธินั้น เรามาทำความรู้จักกับเจ้าสิ่งมีชีวิตที่สร้างความอกสั่นขวัญแขวนให้เรากันดีกว่าค่ะ นั่นก็คือ พยาธิอะนิซาคิส (Anisakis simplex) ซึ่งเป็นเจ้าพยาธิที่มักจะพบในปลาดิบที่ไม่ถูกสุขลักษณะ โดยเจ้าพยาธิชนิดนี้มักจะพบได้ในปลาทะเลที่วางขายในประเทศ ซึ่งเรามักจะตรวจพบตัวอ่อนของพยาธิชนิดนี้ในปลาหลายชนิด เช่น ปลาดาบเงิน ปลาตาหวาน ปลาสีกุน ปลาทูแขก ปลากุเลากล้วย ปลาลัง และปลาทะเลที่มาจากต่างประเทศอย่างเช่น ปลาจำพวก ปลาคอด ปลาเฮอริ่ง โดยเฉพาะปลาแซลมอน เป็นต้น

ลักษณะของพยาธิชนิดนี้  จะมีลักษณะลำตัวกลม สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อโตเต็มวัยจะมีความยาวถึงประมาณ 2-5 ซม.

พยาธิชนิดนี้มักจะอยู่ในตัวของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลซะมากกว่า โดยไข่ของมันจะปนออกมากับอุจจาระ และเจริญเป็นตัวอ่อนอยู่ในทะเล และเมื่อพยาธิเข้าสู่ตัวปลาก็จะไปฝังตัวอยู่ในกล้ามเนื้อของปลาเหล่านั้น ทำให้คนที่รับประทานปลาดิบได้รับพยาธิเหล่านั้นเข้าไปเต็ม ๆ แต่ก็อาจจะถูกขับออกมาจากกระเพาะอาหารโดยการอาเจียน แต่ถ้าหากพยาธิไม่ถูกขับออกไป พยาธิก็จะชอนไชไปตามทางเดินอาหาร แล้วอยู่ในลำไส้ หรือจะอาศัยอยู่นอกลำไส้ ซึ่งหากใครที่แพ้พยาธิชนิดนี้ก็ทำให้เกิดลมพิษได้อีกด้วย

อ่านต่อ >> 5 ขั้นตอน กินปลาดิบอย่างไรให้ปลอดภัย

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up