รักลูกไม่เท่ากัน

อุทาหรณ์! เด็กสาวผูกคอตัวเองเสียชีวิต ชนวนเหตุน้อยใจคิดว่า… “แม่รักลูกไม่เท่ากัน”

event
รักลูกไม่เท่ากัน
รักลูกไม่เท่ากัน

รักลูกไม่เท่ากัน

รักลูกไม่เท่ากันกล้ายอมรับหรือไม่? ว่ารักลูกไม่เท่ากัน

“พี่น้องต้องรักกัน” เป็นประโยคที่พ่อแม่ทุกบ้านคอยปลูกฝังลูกตั้งแต่ยังเล็ก แต่ไม่มีพ่อแม่คนไหนยอมรับว่า สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกทะเลาะกัน มาจากพ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน ไม่มีใครกล้าขุดคุ้ยให้เกิดรอยร้าวในครอบครัว ทั้งที่รู้กันอยู่แก่ใจว่า นั่นคือก้นบึ้งในจิตใจของพ่อแม่

นักเขียนชื่อดังชาวอเมริกัน เจฟฟรีย์ คลูเกอร์ อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทม์ส และนักเขียนอาวุโสนิตยสารไทม์ ใช้เวลาค้นคว้าศึกษานานหลายปี และเขียนหนังสือ “THE SIBLING EFFECT” ระบุว่า 95% ของพ่อแม่ทั่วโลกรักลูกไม่เท่ากัน และโอ๋ลูกคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ ขณะที่อีก 5% เป็นพวกโกหกตัวเอง พยายามห้ามไม่ให้ตัวเองแสดงออกว่าลำเอียง

จากผลการศึกษาแบบเจาะลึก ทำให้พบว่าลูกชายคนโต มักจะเป็นลูกคนโปรดของแม่โดยธรรมชาติ ขณะที่ลูกสาวคนเล็ก ซึ่งมีแนวโน้มขี้อ้อน มักจะเป็นลูกคนโปรดของพ่อ สำหรับลูกคนกลาง มักจะรู้สึกน้อยใจ ไม่ได้รับความรัก ความสนใจของพ่อแม่ มีผลวิจัยยืนยันว่า “ลูกคนกลางไม่มีวันได้เป็นลูกรัก”

เมื่อลูกคนโตถูกละเลย

การจะสอนให้ลูกคนโตไม่รู้สึกอิจฉาน้อง สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ คือต้องสอนให้ผู้เป็นพี่ยอมรับ มีใจรักและเมตตาเอ็นดูน้องตั้งแต่อยู่ในท้อง เพราะเมื่อเด็กทารกมักจะเป็นจุดสนใจของคนทั่วไป ถึงแม้ลูกคนโตในวัยเตาะแตะจะไม่ได้แสดงออกอย่างชัดเจน แต่เขามักจะรู้สึกอิจฉาน้องอยู่ในใจ และรู้สึกว่าตนถูกละเลยในขณะที่น้องได้รับการพูดถึงหรือคำชมจากคนรอบข้างแต่เพียงผู้เดียว หากพ่อแม่ไม่ใส่ใจความรู้สึกของลูกคนโต พฤติกรรมหรือสิ่งที่เขาแสดงออกจะยิ่งแย่ลงเรื่อยๆ ซึ่งคุณสามารถป้องกันสถานการณ์ดังกล่าวได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • เตี๊ยมกับคนรู้จักไว้ก่อน ถึงแม้จะควบคุมคำพูดของคนอื่นไม่ได้ แต่คุณก็สามารถแนะให้ปู่ย่าตายาย ญาติสนิทมิตรสหายและเพื่อนบ้านทักทาย รวมทั้งไต่ถามสารทุกข์สุกดิบของลูกคนโตวัยเตาะแตะ ก่อนที่จะพุ่งความสนใจไปที่น้องเล็กวัยทารกได้ ช่วยให้พี่คนโตมีส่วนได้รับคำชมของน้องด้วย เช่น เมื่อมีคนชื่นชมน้องเล็กว่า “ดูสิ เจ้าตัวเล็กนี่ตาสวยสวยนะคะ” คุณแม่ก็ควรจะตอบกลับในทำนองว่า ขอบคุณค่ะ พี่ชายเค้าก็ตาสวยเหมือนกันนะคะ สีน้ำตาลเข้มเหมือนคุณพ่อทั้งคู่เลย
  • (อย่าลืม) แนะนำลูกคนโตด้วย ในเมื่อคุณมักจะต้องตอบคำถามที่ว่า เจ้าตัวเล็กนี่น่ารักจริงๆ เลย น้องชื่ออะไรคะคุณแม่ คุณก็ควรจะฉวยโอกาสนี้แนะนำและบอกชื่อลูกคนโตไปพร้อมๆ กันเสียเลย แล้วอย่าลืมชมต่อหน้าคนที่ถามด้วยล่ะ ว่าเขาเป็นพี่ที่ยอดเยี่ยมขนาดไหน
  • ทำให้ลูกคนโตรู้สึกว่าตัวเองมีความสำคัญในขณะที่ทุกคนพากันตื่นเต้นกับเจ้าตัวเล็ก ก็ควรจะให้ลูกคนโตทำหน้าที่ป้อนนมน้อง (โดยคอยกำกับอย่างใกล้ชิด) เพราะการได้แสดงบทบาทของพี่ใหญ่ จะช่วยทำให้เขารู้สึกว่าได้เป็นส่วนหนึ่งของความสนใจด้วยเหมือนกัน ให้ความสนใจกับลูกคนโตมากเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นอ่านนิทานให้เขาฟัง วาดภาพ หรือต่อจิ๊กซอว์ด้วยกัน และย้ำว่าสิ่งเหล่านี้คือกิจกรรมของเด็กโต ซึ่งน้องเล่นด้วยไม่ได้เพราะยังเล็กเกินไป การแสดงความรักต่อลูกคนโตมากเป็นพิเศษจะช่วยชดเชยความใส่ใจที่ลูกคนน้องได้รับจากทุกๆ คนได้เป็นอย่างดี

ท้ายที่สุดแล้ว ความเข้าใจของพ่อแม่จึงเป็นสิ่งสำคัญ คุณพ่อคุณแม่ เอ็นดูลูกต่างกันได้ แต่ต้องรักลูกให้เท่ากัน พูดให้ลูกเข้าใจว่าทำไมคุณพ่อ คุณแม่ต้องใส่ใจลูกอีกคนมากกว่า และไม่แสดงความลำเอียงให้ลูกเห็น จนน้อยใจ

อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.thairath.co.th/content/1008687

https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_444764

เครดิต: LIEKR, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการออนไลน์, ไทยรัฐออนไลน์

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up