การตีลูก

ตีลูกบ่อย ไม่สร้างวินัย แต่คือ การทำร้าย ทำลายอนาคตลูก

Alternative Textaccount_circle
event
การตีลูก
การตีลูก

ตีลูกบ่อยไม่สร้างวินัย แต่คือ การทำร้าย ทำลายอนาคตลูก

ตีลูกบ่อย
ตีลูกบ่อยไม่สร้างวินัย แต่คือ การทำร้าย ทำลายอนาคตลูก

 

ขณะนี้มีเพียง 53 ประเทศทั่วโลกที่มีกฎหมายห้ามการลงโทษเด็กทางกายครบถ้วนทุกสถานที่

ไม่ดุ ไม่ด่า ไม่ตี…เด็กก็ดีได้ ด้วย วินัยเชิงบวก

การสร้างวินัยเชิงบวกที่ปลอดความรุนแรงทั้งบ้านและที่โรงเรียน คือ

* ให้เด็กเรียนรู้ที่จะคิดและตัดสินใจเอง และคำนึงถึงผู้อื่น รับผิดชอบในการกระทำของตน เน้นในเรื่องความเคารพต่อผู้อื่น ความเมตตา ความเที่ยงตรง ความเท่าเทียม การแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง และความยุติธรรม

* ผู้ใหญ่ พ่อแม่ คือผู้ดูแล ไม่ใช้เจ้าของตัวเด็ก ฉะนั้นต้องเคารพความซื่อสัตย์ของเด็กทั้งในเชิงสังคมและศีลธรรมทั้งในปัจจุบันและอนาคต พ่อแม่ ผู้ดูแลเด็กรวมทั้งครู ต้องได้รับความเคารพ และการสนับสนุนในฐานะคนซึ่งดูแลและให้สิทธิแก่เด็ก รวมทั้งคุ้มครองเด็กจากอันตรายทุกรูปแบบ

* สัมพันธภาพระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ ได้รับการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการเชื่อใจกันและความเคารพซึ่งกันและกัน โดยมีพื้นฐานมาจากความอดกลั้นและการแบ่งปัน และรับฟังความเห็นโดยเท่าเทียมกัน

* การใช้คำอธิบายกับเด็ก การฝึกอบรม และหาแนวทางการแก้ปัญหาโดยสมานฉันท์ เป็นทางเลือกที่ดีกว่าการทุบตีหรือการทำให้อับอาย

 

เราจะสร้างวินัยเชิงบวกได้อย่างไร?

มีคุณพ่อคุณแม่และคุณครูจำนวนมากที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง  โดยคุณพ่อคุณแม่ และครูเหล่านั้นใช้วิธีการสร้างวินัยที่ปราศจากความรุนแรง และให้ความเคารพต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเด็กด้วยทัศคติเชิงบวก นั่นคือ

      • ใช้อำนาจที่มี โดยยังคงให้ความเคารพต่อผู้อื่น มากกว่าที่จะใช้การบังคับและความกลัว
      • เคารพทุกคนเท่าเทียมกัน
      • มองปัญหาหรือความขัดแย้งเป็นโอกาสในการเรียนรู้และทำความเข้าใจกัน
      • รับฟังเพื่อที่จะเรียนรู้เด็กให้มากขึ้น
      • มองหาสันติและความกลมกลืน
      • พูดคุยและตกลงร่วมกัน เกี่ยวกับเหตุผลกฎระเบียบที่มุ่งให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบ
      • สนับสนุนให้เด็กมีความอดกลั้น ความเท่าเทียม ความเคารพผู้อื่น ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ ไม่เปลี่ยนแปลงไปมา
      • ควรอบรมเลี้ยงดูเด็ก โดยไม่ตัดสินว่าเด็กเป็นคนอย่างไร จะช่วยให้พ่อแม่มีความมั่นใจและมีความเข้าใจในเรื่องสิทธิเด็กและพัฒนาการเด็ก
      • โรงเรียนช่วยสนับสนุนให้เด็ก ครูและพ่อแม่คุยกันถึงปัญหาต่างๆ และหาทางแก้ไขร่วมกัน
      • พ่อแม่และครูพร้อมที่จะให้คำอธิบายต่อเด็กเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อเด็กอยากรู้เหตุผลของการกระทำนั้นๆ
      • ผู้ใหญ่ต้องไม่กลัวหรือไม่อายที่จะพูดคำว่า”ขอโทษ”และยอมรับความผิดพลาด หรือความไม้รู้ของตน
      • ผู้ใหญ่ช่วยสร้างความมั่นใจในตัวเองให้เด็ก สนับสนุนให้เด็กเกิดความเข้าใจและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
      • ผู้ใหญ่และเด็กควรสื่อสารกันอย่างสร้างสรรค์โดยไม่ใช้ความก้าวร้าว

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : มูลนิธิรักษ์เด็ก, Unicef, องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children),มูลนิธิสายเด็ก 1387

วิธีลงโทษลูก อย่างไรให้ได้ผลดี โดยไม่ต้องลงมือตี

สร้างวินัยเชิงบวก ให้ลูก ป้องกันลูกดื้อ ด้วยเทคนิคง่ายๆ จากหมอ!

พฤติกรรมลูกสะท้อนการเลี้ยงดูของพ่อแม่

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up