รับบุตรบุญธรรม

รับบุตรบุญธรรม ทางเลือกของผู้มีบุตรยาก หรือมีบุตรไม่ได้

Alternative Textaccount_circle
event
รับบุตรบุญธรรม
รับบุตรบุญธรรม

ทางเลือกของผู้มีบุตรยาก หรือในบางกรณีที่เด็กทารกต้องได้รับความดูแลจาก ญาติสืบสายโลหิต แทนพ่อแม่ เพื่อให้ได้รับการรักษาและสิทธิพื้นฐาน  “การรับบุตรบุญธรรม” จึงเป็นอีกหนึ่งกฏหมายครอบครัวที่ทุกท่านควรรู้

การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมทุกรายต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจให้ความยินยอมและเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมต้องแสดงตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่สำคัญ  ได้แก่

  1. พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม
  2. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2478
  3. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533
  4. พระราชบัญญํติจดทะเบียนครอบครัวพุทธศักราช 2478
  5. ระเบียบคณะกรรมการการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมว่าด้วยการเตรียมความพร้อมในการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2554

คุณสมบัติของการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

ระงับอารมณ์โกรธ โกรธลูก โมโหลูก

  1. บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุแก่กว่าเด็กที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี  นอกจากนี้ต้องเป็นผู้ที่ไม่ต้องห้ามที่จะเป็นผู้ปกครองของเด็กตามมาตรา 1587  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ในด้านอายุ ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมมากเกินไปโดยเฉพาะกรณีขอรับเด็กกำพร้าที่ถูกทอดทิ้งเป็นบุตรบุญธรรม
  2. ต้องเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
  3. ต้องเป็นผู้มีรายได้ และอยู่ในฐานะที่จะอุปการะเลี้ยงดูเด็ฏให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี
  4. ต้องมีเวลาดูแลเอาใจใส่เด็ก
  5. ต้องเป็นครอบครัวที่เหมาะสม มีเหตุผลอันสมควรและมีความคิดเห็นที่ดีต่อการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมตามท่ปรากฎในรายละเอียดของรายงานการศึกษาสภาพครอบครัว
  6. สถานภาพการสมรสในกรณีขอรับเด็กในความอุปการะของกรมกิจการเด็กและเยาวชน ผู้ขอรับเด็กควรมีคู่สมรสเพื่อเด็กจะได้มีครอบครัวที่สมบูรณ์
  7. ต้องเป็นผู้ไม่เคยต้องโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก  เพราะกระทำผิดอาญาเว้นแต่เป็นโทษสำหรับที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

 

การทดลองเลี้ยงดู

เล่นกับลูก ลูกฉลาด ได้เรียนรู้

ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมทุกรายต้องทำการทดลองเลี้ยงดูเด็กไม่น้อยกว่า 6 เดือน  ภายใต้การสังเกตการณ์ดูแลของพนักงานเจ้าหน้าที่  เว้นแต่ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมนั้นจะเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงกับเด็ก เช่น ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ฯลฯ หรือเป็นบุคคลที่ถูกกำหนดในมาตรา 19  วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 และกฏกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2543)  ออกตามความในพระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522

การจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

พ่อแม่ลูกผูกพัน

เมื่อคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมหรือคณะอนุกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมอนุมัติจดทะเบียนให้รับเด็กเป็ฯบุตรบุญธรรมได้  ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมต้องดำเนินการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมภายในกำหนด  6  เดือน  นับตั้งแต่วันได้รับคำแจ้งอนุมัติดังกล่าว โดยควรจดทะเบียน ณ สำนักทะเบียนท้องที่ที่ผู้ขอรับเด็กมีภูมิลำเนาอยู่

สถานที่ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

  1. ผู้มีภูมิลำเนา (ทะเบียนบ้าน) อยู่ในเขตกรุงเทพฯ ให้ยื่นคำร้องขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมที่ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรมกิจการเด็กและเยาวชน ณ ตึก 60 ปี กรมประชาสงเราะห์ ชั้น 2 ภายในบริเวณสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี โทร. 0 2306 8617, 0 2306 8832
  2. ผู้มีภูมิลำเนา (ทะเบียนบ้าน) อยู่ในจังหวัดอื่นๆ ให้ยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด

ข้อมูลเพิ่มเติม การรับบุตรบุญธรรม

ข้อมูลจาก :ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นลูกบุญธรรม dcy.go.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up