คุณเป็นพ่อแม่แบบไหนสำหรับลูก ?

Alternative Textaccount_circle
event

4.ประเภทวิตกกังวลหวาดกลัวมากเกินกว่าเหตุ

พ่อแม่มักจะตีตนไปก่อนไข้ แสดงความวิตกกังวล ในตัวลูกมากเกินกว่าเหตุ เช่นกลัวว่าลูกจะได้รับอุบัติเหตุ ลูกจะถูกหลอกไป ไม่ค่อยยอม ให้ออกไปเที่ยวข้างนอกกลัวโดนแดดหรือกร่ำฝนจะไม่สบาย เวลาลูกไม่สบายเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยก็แสดงความวิตกกังวลมาก ย้ำถามย้ำปฏิบัติต่อลูก จนทำให้เด็กพลอยวิตกกังวลไปด้วย การเลี้ยงลูกแบบนี้จะทำให้ลูกเติบโตเป็นเด็กที่มีแต่ความวิตกกังวล หวาดกลัวห่วงใยในเหตุการณ์ต่างๆจนไม่มีความสุขและขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง

shutterstock_176186954

5.ประเภทเจ้าระเบียบจัด

พ่อแม่แบบนี้จะเป็นคนระเบียบจัดต้องการให้ทุกอย่าง เรียบร้อย เป็นระเบียบถูกต้อง ทุกอย่างไม่รู้จักผ่อนปรนให้ ต้องคอยชี้แจงซ้ำซาก ตลอดเวลา ถ้าลูกทำไม่ได้ดังใจก็จะโกรธและตำหนิรุนแรงและคอยจุกจิกจู้จี้กับลูก แม้ในเรื่องเล็กๆน้อยๆ การเลี้ยงลูกแบบนี้จะทำให้เด็กพัฒนาไปเป็นเด็กที่เต็มไปด้วยความผิดหวัง และมีปมด้อย เพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีอะไรดี ไม่มีความสามารถเพราะทำอะไรไม่เคยถูกใจพ่อแม่เลย

shutterstock_392427829

แบบไหนคือ “พ่อแม่” ที่ลูกปรารถนา?

สำหรับพ่อแม่ที่ลูกๆ ปรารถนา ควรเป็นพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกแบบสบาย ๆ ไม่สุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง ใช้ชีวิตอย่างพอดีๆ เข้มงวดบ้าง ผ่อนปรนบ้าง เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นอย่างอิสระ ได้คิด ได้ทำอะไรๆ ด้วยตัวเอง เมื่อเห็นลูกทำดี ทำอะไรสำเร็จตามวัยของลูก ก็แสดงความชื่นชม รู้ว่าจังหวะไหนควรสอน เช่น เวลาใดที่ลูกควรเรียนรู้อะไรใหม่ๆ

นอกจากนั้น เมื่อลูกผิดหวังหรือพบความเจ็บปวด ควรให้กำลังใจอย่างสุภาพอ่อนโยน ปลอบใจไม่ทับถม ที่สำคัญ เมื่อลูกทำผิด คิดพลาดก็ควรให้อภัย และไม่ควรขุดเอาเรื่อง หรือเหตุการณ์เก่าๆ ขึ้นพูดมาซ้ำย้ำรอยอีก เพราะถ้าพ่อแม่ไม่ให้อภัย ลูกก็จะไม่สามารถลุกขึ้นเริ่มต้นใหม่ได้เลย

ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาเด็ก กล่าวว่า “อยากบอกพ่อๆ แม่ๆ ทุกคน ว่า คำพูดและการกระทำของพ่อแม่นี่แหละ ที่ทำให้ลูกสัมผัสและรับรู้ถึงความรักได้มากที่สุดดีกว่าการพร่ำพูดว่ารักผ่านข้อความทางโทรศัพท์ หรือระบบดิจิตอลใดๆ ดังนั้น การให้เวลาที่ดี มีคุณภาพกับลูกเป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องให้ ก่อนที่อะไรๆ จะสายเกินแก้ เรื่องอย่างนี้ใครก็ทำแทนใครไม่ได้หรอก อยากได้ต้องลงมือ ลงใจทำเอง สำหรับลูกแล้ว พ่อแม่ต้องทำดี อย่าเดี๋ยว” 

พ่อแม่ควรอบรมเลี้ยงดูลูกให้เหมาะสมกับความสามารถและวัยของเด็ก ไม่ควรใช้อารมณ์แต่ควรอบรมสั่งสอนลูกอย่างมีเหตุผล มีวินัยที่ดีแต่ต้องไม่เข้มงวดจนเกินไป และไม่ควรตามใจเด็กจนเกินไป หรือปล่อยปละละเลย จนเกินไป ควรให้ความรักอย่างเหมาะสมและมีเหตุผล ไม่ใช่รักมากอย่างไม่มีขอบเขต ตลอดจนพ่อแม่ควรจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กได้เลียนแบบ … หากทราบเช่นนี้แล้วก็อย่าลืมเช็คกับตัวเองว่าเราเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งหรือไม่ และร่วมหาทางแก้ไขเพื่อให้ครอบครัวได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและไม่มีปัญหาในอนาคต

banner300x250

>>> มี quizzes สนุกๆ มาให้คุณพ่อคุณแม่ไว้เล่นกันสนุกๆ มาฝากด้วยค่า “คุณเป็นพ่อแม่แบบไหน?”

ทำแบบทดสอบนี้เพื่อหาคำตอบกัน! คลิกเลย


ที่มา : เว็บไซต์ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล med.mahidol.ac.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up