ลูกเกเร

[Blogger พญ.พิชญา ตันธนวิกรัย] พ่อแม่อย่าเห็นลูก “ร้าย” เป็นเรื่องเล่นๆ จนกลายเป็น “ให้ท้าย” ลูก!

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกเกเร
ลูกเกเร

ดังนั้น หมอถึงอยากแนะนำให้เราสอดส่องและคอยปรามพฤติกรรมไม่ดีของเด็กไว้แต่เนิ่น ๆ โดยมีหลักการดังนี้ค่ะ

  1. ควรปรามพฤติกรรมที่ไม่ดีของเด็กในทันที (หรือเร็วที่สุดเท่าที่เป็นได้) ไม่ปล่อยผ่านไว้นานๆ
  2. ท่าทีที่ห้ามปรามควรจริงจัง แต่ไม่ดุดัน ไม่ใช้อารมณ์ที่รุนแรง
  3. ควรปรามโดยการเข้าประชิดตัวเพื่อพูดคุย มองหน้า ให้แน่ใจว่าเด็กรับฟัง ไม่ใช้การตะโกนไล่หลัง
  4. ระบุ “พฤติกรรม” ที่ไม่ดีให้ชัดเจน ว่าพฤติกรรมอะไรที่เราไม่ชอบให้เด็กทำ เช่น “แม่ไม่ชอบที่เคนตีเพื่อนเมื่อกี้” ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงการดุที่กว้างเกินไปอย่าง “แม่ไม่ชอบที่เคนทำตัวไม่ดี” หรือ “เด็กอะไรเกเรแบบนี้” เพราะเราต้องการจัดการกับ “พฤติกรรมไม่ดี” บางเรื่องเท่านั้น.. ถ้าดุกว้างเกินไป ลูกอาจจะไม่เข้าใจ แถมยังได้แผลกว้างโดยไม่จำเป็นค่ะ

    ลูกเกเรทําไงดี
    ปรับพฤติกรรมเกเรของลูก
  1. พยายามพูดให้กระชับ ชัดเจน และเฉพาะเจาะจงกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ไม่รื้อฟื้นเรื่องอื่น ๆ มาพูดรวม ๆ กัน
  2. แนะนำพฤติกรรมดี ๆ ที่เด็กควรทำเพื่อแก้ปัญหา และทดแทนพฤติกรรมไม่ดี เช่น “ถ้าคราวหน้าเคนโกรธเพื่อนอีก ให้เคนบอกเพื่อนดีๆ หรือจะมาบอกผู้ใหญ่ก็ได้”
  3. อาจกำหนดบทลงโทษให้กับพฤติกรรมไม่ดี โดยทำข้อตกลงร่วมกันกับเด็ก

เพราะความรู้ผิดชอบชั่วดีนั้นจะค่อย ๆ ถูกสร้างขึ้นจากประสบการณ์ในวัยเด็กค่ะ ช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่จะสอนเขาได้ว่าสิ่งไหนดีไม่ดี.. ดังนั้น อย่าปล่อยให้โอกาสสำคัญต้องหลุดมือไปเลยนะคะ

 

บทความโดย : พญ.พิชญา ตันธนวิกรัย จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

ภาพ : Shutterstock

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up