บทเรียนจากพ่อ! “ข้าวสาร 1 กระสอบมีกี่เม็ด”

event

ข้าวสาร 1 กระสอบมีกี่เม็ด

บทเรียนจากการนับข้าวสาร ข้าวสาร 1 กระสอบมีกี่เม็ด ? 

เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเทพฯ ทรงมีพระชนมายุ 8 พรรษานั้น
ได้เคยทูลถามพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ว่า

“…ข้าวสาร 1 กระสอบมีกี่เม็ด…”

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙ ทรงอธิบายว่า…
“…ข้าวสาร 1 กระสอบมีน้ำหนัก 100 กิโลกรัม กิโลกรัมหนึ่งมีเครื่องชั่งวัดได้ 10 ขีด
 ดังนั้น ก็เอาภาชนะไปตวงข้าวสารมาชั่งได้ 1 ขีด
แล้วก็นับข้าวสารที่ตวงมานั้นมีกี่เม็ด แล้วก็เอา 10 คูณ
เสร็จแล้วเอา 100 คูณผลลัพธ์อีกทีก็จะได้จำนวนเม็ดข้าวใน 1 กระสอบ…”

สมเด็จพระเทพฯ ทรงทูลว่า ไม่อยากรู้แล้ว
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 สอนว่า "ไม่ได้หรอก หากถามก็แสดงว่าอยากรู้
ดังนั้นจงไปหาข้าวสารมาตวงและนับเสีย
เมื่อได้ผลเป็นอย่างไรให้มาบอกด้วยว่าข้าวสารหนึ่งกระสอบมีกี่เม็ด
เพราะว่าก็อยากรู้เหมือนกัน"

ทั้งนี้ นับเป็นบทเรียนสำคัญที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ทรงมีต่อ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เลยก็ว่าได้
ข้าวสาร 1 กระสอบมีกี่เม็ด

บทเรียนจากการนับข้าวสาร จึงนำมาซึ่ง แง่คิด “เมื่อสงสัย ใฝ่รู้ ควรมุ่งมั่นหาคำตอบ”

จากบทเรียนสำคัญที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีต่อ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นั้นคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถนำไปสอนลูกๆ ได้ เช่นเดียวกันในเรื่องของการต่อยอดและฝึกพัฒนาสมองให้กับลูก เมื่อลูกเป็นเด็กรู้จักสงสัยและตั้งคำถาม นั้นก็หมายความว่าลูก เริ่มมีความใฝ่รู้

เพราะ การฝึกคิด ใช้เหตุผล วิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา จะทำได้ง่ายๆ ด้วยการฝึกเป็น “คนช่างสงสัย” การเป็นคน “ช่างสงสัย ใฝ่รู้” เป็นเรื่องสำคัญ คือ เมื่อหมั่นตั้งคำถาม ก็ต้องหมั่นคิดค้นคว้าหาคำตอบด้วย คำถามสำคัญที่สุดในการพัฒนาปัญญา ใช้เหตุผล คือ “ทำไม” และ “ทำได้อย่างไร”

30-638

คำถาม “อะไร” “ที่ไหน” “เมื่อไร” จะได้คำตอบที่เป็นข้อเท็จจริง แต่คำถาม “ทำไม” หรือ “ทำอย่างไร” จะเชื่อมโยงสร้างความสัมพันธ์ จัดลำดับความสัมพันธ์ก่อนหลัง จัดลำดับความสัมพันธ์ของเหตุและผล ตลอดจนลำดับความสำคัญมาก-น้อยต่างกันออกไป เพื่อความมุ่งหมายที่จะให้ได้คำตอบ

ซึ่งก็คือ การ “ฝึกคิด วิเคราะห์” โดยตรง เช่น คำถาม ชื่ออะไร เวลาเท่าไร เมื่อไร ที่ใด ก็จะได้คำตอบเป็น “นาย ก” “เวลาเช้าพรุ่งนี้” “ที่เชียงใหม่” ที่เป็นข้อเท็จจริง

แต่ถ้าถามว่า “ทำไม” “อย่างไร” ต้องหาคำตอบที่เป็นเหตุเป็นผล เช่น ทำไมกลางวันจึงสว่าง ทำไมกลางคืนจึงมีด ทำไมนกจึงบินได้ เป็นต้น เพราะฉะนั้นการที่พ่อแม่หมั่นฝึกให้ลูก รู้จักตั้งคำถาม ฝึกสงสัย ตั้งแต่เด็กก็จะติดเป็นนิสัย “สงสัย ใฝ่รู้” และมุ่งมั่นหาคำตอบ

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!

เลี้ยงลูกให้ดีงาม เดินตามคำสอนพ่อ

คำพ่อสอน และ 9 คำสอนของพ่อหลวง


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : ทวิตเตอร์ @wlmme, หนังสือความสุขของสมเด็จพระเทพฯ เขียนโดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ , www.gotoknow.org

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up