ข้อดีข้อเสียของจุกนมหลอก ที่พ่อแม่ควรรู้

Alternative Textaccount_circle
event

ข้อเสียของการใช้จุกนมหลอก

1.เพิ่มโอกาสการติดเชื้อในช่องหู เพราะจะเริ่มการติดเชื้อในช่องปากไปยังช่องคอ และเข้าสู่หูชั้นกลาง คุณพ่อ คุณแม่จึงควรให้ลูกใช้เฉพาะเวลาร้องงอแงเท่านั้น

2.อาจสัมพันธ์กับการติดเชื้อในช่องท้อง และบริเวณอื่นๆ ทำให้ลูกอาเจียน มีไข้ ท้องเสีย เป็นโคลิก ทำให้ต้องไปหาหมอบ่อยกว่าที่ควร

3.การใช้จุกหลอกนานๆ อาจทำให้เกิดปัญหาที่ฟัน สมาคมสุขภาพช่องปากของอังกฤษ (British Dental Health Foundation) แนะนำว่า ไม่ควรใช้จุกหลอกหรือให้ลูกดูดนิ้ว เพราะจะสร้างปัญหาให้ฟันที่งอกออกมา อาจต้องดัดฟันเมื่อโตขึ้น

4.ทำให้เกิดปัญหาในการพูด ทำให้ลูกไม่ส่งเสียงอ้อแอ้ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาการพูด ทำให้ลูกไม่กล้าพูด ทั้งที่ควรพูดได้แล้ว

5.การใช้จุกหลอกทุกวันอาจเป็นอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีแนวโน้มว่าลูกจะหย่านมเร็วขึ้น ทำให้คุณแม่มีน้ำนมไม่พอเมื่อลูกใช้จุกหลอก และอาจทำให้ลูกน้อยติดจุกหลอกจนไม่ยอมดูดนมแม่

ถ้าจะเลิกจุกนมหลอกต้องทำอย่างไร?

แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ แนะนำว่า เมื่อลูกเริ่มรู้เรื่อง ขยับแขนขาอย่างมีจุดหมาย และเริ่มเล่นอย่างอื่นเป็นแล้ว เราควรหยุดใช้ แต่ควรใช้วิธีเล่นกับลูก พาเขาเดินเที่ยวชมนกชมไม้ และตอบสนองความต้องการให้ถูกต้อง ไม่ใช่พอร้องปุ๊บก็เอาจุกหลอกใส่ปากปั๊บ เพราะอีกหน่อยลูกจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตัวเองได้ถูกต้อง กลายเป็นว่าต้องพึ่งจุกนมหลอกตลอด ไม่ว่าจะหิว ง่วง เหงา หรือเบื่อ

ถ้าคุณพ่อ คุณแม่ประเมินดูแล้วพบว่าตอนนี้ลูกวัย 3 เดือนเริ่มเลี้ยงง่ายแล้ว ก็ควรเลิกใช้ แล้วให้เวลาเล่นกับลูกมากขึ้น พาเข้านอนโดยการอุ้มหรือร้องเพลงกล่อมแทนการใช้จุกนมหลอก เดี๋ยวเขาก็ลืมได้เอง

เครดิต: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด, powder_MAMA

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up