ยกนิ้วให้! น้องสาว ปกป้องพี่สาว ให้รอดจากการถูกแม่ดุ (มีคลิป)

event

พี่น้องรักกันเลี้ยงลูกให้ “พี่น้องรักกัน” คุณเองก็ทำได้!

การส่งเสริมวินัยเชิงบวกให้ลูก การทำให้ “พี่น้องรักกัน” นั้นไม่ยากเกินเอื้อม เพียงรู้หลักการและใส่ใจทำอย่างสม่ำเสมอค่ะทั้งนี้ Amarin Baby & Kids ขอเสนอทางเลือกให้พี่มีส่วนร่วมเลี้ยงน้อง ซึ่ง มี 3 ขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่

  • ทำลิสต์งานง่ายๆ เป็นงานที่ลูกเล็กสามารถทำให้น้องได้ เช่น การจัดเก็บผ้าอ้อมสะอาดเข้าตู้ การเตรียมผ้าอ้อมผืนใหม่หลังอาบน้ำ การเก็บผ้าอ้อมของน้องที่ใช้แล้วลงตะกร้า เป็นต้น
  • แบ่งหน้าที่ร่วมกัน โดยการอ่านลิสต์งานให้ลูกฟัง แล้วให้เขาตัดสินใจเลือก ว่าเขาอยากจะทำงานอะไรและลิสต์งานที่ลูกไม่ได้เลือกจะแบ่งให้เป็นหน้าที่ของคุณพ่อและคุณแม่ด้วยเช่นกัน
  • ขอบคุณลูกทุกครั้ง หลังจากที่ลูกช่วยทำงานที่ได้รับมอบหมายจนเสร็จแล้ว

สำหรับเด็กเล็กวัยเตาะแตะแล้ว การมีโอกาสได้เลือก และมีส่วนร่วมทำกิจกรรมกับคุณพ่อ คุณแม่ ถือเป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่ทำให้เขารู้สึกมีตัวตน ได้รับการยอมรับ ให้ความสำคัญกับความต้องการ และเคารพการตัดสินใจ ซึ่งเทคนิคนี้นอกจากจะช่วยตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางจิตใจอย่างเต็มที่แล้ว ยังช่วยปลูกฝังทักษะงาน และความรับผิดชอบให้ลูกอีกด้วย ส่งผลให้ลูกเปิดใจรับน้องแบ่งปันความรักและความอบอุ่นนี้ให้น้องได้ง่ายขึ้น

DON’Ts คำพูดต้องห้าม ทำลูกคิดติดลบ
- อย่าจับน้องแรงนะ!
- ไปเล่นห่างๆ น้องเลย!
- เป็นพี่ต้องดูแลน้องสิ!

ทั้งนี้หากคุณแม่สังเกตเห็นว่าความสัมพันธ์ของพี่น้องแน่นแฟ้นเกินไป จนทำให้น้อง มีอาการติดพี่ จะมีวิธีแก้ อย่างไร ไปดูกันค่ะ

น้องติดพี่ แก้อย่างไรดี ?

พี่น้องรักกัน

เป็นเรื่องธรรมดาของความสัมพันธ์แบบพี่น้อง ไม่แปลกอะไรที่ลูกชายของคุณจะรู้สึกแบบนั้น ส่วนใหญ่ในตอนแรกพี่รู้สึกดีที่น้องชอบทำตาม แต่ก็จะเป็นอยู่ไม่นาน และเริ่มเปลี่ยนเป็นหงุดหงิดแทน พอน้องเลียนแบบหรือตามติดทุกฝีก้าว จนพี่รู้สึกว่าไม่มีเวลาเป็นของตัวเองหรือได้พักเลย

…มาช่วยลูกคนโตให้รู้สึกดีขึ้นก่อน ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ของลูกคนเล็กดีขึ้นด้วย ดังนี้

  • เป็นผู้ฟังที่ดี ทำให้ลูกรู้ว่าคุณพร้อมจะเป็นผู้รับฟังความรู้สึกของเขาเสมอ และการที่ลูกไม่พอใจน้องก็ไม่ใช่เรื่องที่คุณจะเอามาดุว่า และเป็นความจริงที่ว่า แม้เราจะโกรธหรือไม่ชอบการกระทำของใคร แต่ก็เป็นไปได้ที่เราจะรู้สึกรักใครคนนั้นไปพร้อมๆ กันด้วย อย่างเช่น “ตอนลูกอายุเท่าน้อง ลูกก็รื้อค้นหนังสือตกมาจากชั้นหนังสือเกลื่อนห้อง ดึงกระดาษทิชชูในห้องน้ำทิ้งลงชักโครกจนหมดม้วน แถมทำวีรกรรมน่าปวดหัวอีกหลายเรื่อง แต่แม่ก็ยังรักลูก”
  • ให้พี่ใหญ่ได้มีเวลาส่วนตัวจริงๆ เช่นคุณหรือพี่เลี้ยงพาน้องแยกออกมาเพื่อพาเขานอนพักระหว่างวัน หรือนัดหมายให้น้องมีวันเวลาเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกันเพื่อให้พี่ได้มีเวลาส่วนตัวหรือได้อยู่กับพ่อแม่โดยไม่มีน้องอยู่ด้วย
  • ปกป้องของรักของหวงให้พี่ใหญ่ด้วยอาจจะมีของเล่นบางชิ้นที่ลูกอยากเก็บไว้เป็นของตัวเอง ไม่ต้องแบ่งกับน้องไปเสียทุกชิ้นช่วยหาชั้นเก็บของเล่นหรือข้าวของเป็นส่วนตัวบ้าง แต่เมื่อใดก็ตามที่ลูกอารมณ์ดีพอและพร้อมจะชวนน้องเล่นด้วย คุณอาจให้รางวัลกับลูกด้วยการปรบมือหรือชมเชย
  • หาเกมที่เล่นด้วยกันได้ เช่น เล่นเป็นคุณครูกับนักเรียน หมอกับคนไข้ แม่กับลูก ให้พี่สาวมีโอกาสเป็นผู้คุมเกม เป็นคนสร้างกฎ และน้องเป็นผู้ทำตาม จะทำให้ความสัมพันธ์ราบรื่นขึ้น แต่แน่นอนว่าคุณต้องให้โอกาสเขาตกลงการเล่นกันเองตามประสาพี่น้อง

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณคลิปวีดีโอและภาพจาก : เฟซบุ๊ก Melissa Nunez

ขอบคุณข้อมุลจาก : hilight.kapook.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up