ขาดธาตุเหล็ก เมนูเด็ก

มันบดครีมสดกับซอสตับ เมนูบำรุงเลือด ลดเสี่ยงภาวะ ขาดธาตุเหล็ก

account_circle
event
ขาดธาตุเหล็ก เมนูเด็ก
ขาดธาตุเหล็ก เมนูเด็ก

ขาดธาตุเหล็ก เป็นภาวะผิดปกติที่พบได้บ่อยในเด็กวัย  6 เดือน – 2 ขวบโดยที่คุณแม่ไม่ทันสังเกต เพราะจะไม่แสดงอาการชัดเจนในระยะแรก แม้จะเป็นเด็กกินเก่ง ตัวอ้วนพี แต่อาจเสี่ยงต่อภาวะขาดธาตุเหล็กได้ หากได้รับสารอาหาร  5 หมู่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอาหารจำพวกโปรตีน

สูตรเมนูจานเดียว บำรุงเลือดเด็กวัยซน ลดเสี่ยงต้นเหตุโรคโลหิตจาง

ร่างกายของลูกน้อยที่อยู่ในวัยกำลังเจริญเติบโตจำเป็นต้องได้รับสารอาหารสำคัญมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ซึ่งมีส่วนช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง เพื่อทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนไปยังอวัยวะต่างๆในร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับธาตุเหล็กเข้าไป ก็จะนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตฮีโมโกลบิน ไมโกลกิน และเอนไซม์สำคัญหลายชนิด

ขาดธาตุเหล็ก

ในแต่ละวันร่างกายจะสูญเสียธาตุเหล็กไปกับผิวหนังและเหงื่อไคลอยู่ตลอดเวลา ทารกแรกเกิดจนถึงวัย 6 เดือนได้รับธาตุเหล็กจากนมแม่เพียงอย่างเดียงก็พอแล้ว เพราะมีส่วนที่สะสมไว้ตั้งแต่ในครรภ์ แต่เมื่อก้าวสู่วัย 7  เดือน คุณแม่จำเป็นต้องให้อาหารเสริมที่มีธาตุเหล็กอย่างสม่ำเสมอ การกินอาหารเข้าไป  1 มื้อจะมีการดูดซึมธาตุเหล็กเข้าสู่กระแสเลือดเพียง  8% เท่านั้น ฉะนั้น ลูกกินน้อย หรือไม่กินอาหารกลุ่มที่มีธาตุเหล็กเลย ยิ่งเสี่ยงต่อภาวะ ขาดธาตุเหล็ก อันเป็นต้นเหตุของโรคโลหิตจางมากขึ้นไปอีก

ภาวะ ขาดธาตุเหล็ก อันตรายอย่างไร

แม้ลูกน้อยกินอาหารครบ 3 มื้อในทุกๆวัน แต่หากเป็นเด็กกินยาก เลือกกิน หรือกินซ้ำๆ อาจทำให้ลูกเผชิญกับภาวะ ขาดธาตุเหล็ก ได้ หากปล่อยให้ร่างกายเผชิญภาวะเช่นนี้ไประยะหนึ่ง กระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดงเริ่มผิดปกติ ปริมาณของเม็ดเลือดแดงค่อยลดน้อยลง จนอาจนำไปสู่การเป็นโรคโลหิตจาง ส่งผลให้ภูมิต้านทานต่ำ ติดเชื้อง่าย ป่วยบ่อย ตัวซีดเหลือง ตาเหลือง เวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย อารมณ์แปรปรวน เรียนรู้ช้า เบื่ออาหาร และขาดสมาธิ

ขาดธาตุเหล็ก

หากคุณแม่พบว่าลูกมีอาการข้างต้น ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อตรวจหา

 

ภาวะบ่งชี้โรค เช่น ผิวลิ้นขรุขระ อาการคล้ายโรคปากนกกระจอก เล็บบางจนเห็นได้ชัด หลังจากนั้นแพทย์จะสั่งตรวจนับเม็ดเลือด และตรวจปริมาณธาตุเหล็กในร่างกาย หากพบความผิดปกติ แพทย์จะจ่ายยาธาตุเหล็กให้กินต่อเนื่องนานประมาณ 4-6 สัปหกด์ ก่อนเข้ารับการตรวจอีกครั้ง

 

อ่าน วิธีป้องกันภาวะขาดธาตุเหล็กในเด็กจากอาหาร หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up