สมองเด็ก

มีอะไรซ่อนอยู่ในการนอนของเด็ก?

Alternative Textaccount_circle
event
สมองเด็ก
สมองเด็ก

จากเด็กน้อยที่เอาแต่นอนและร้องไห้บ้าง มาเป็นยิ้มกับเรา ชันคอได้ พลิกคว่ำ หงายได้ อ้อแอ้ พูด พ่อ แม่ หม่ำ……… คุณพ่อคุณแม่คงมีคำถามในใจว่า อะไรทำให้ลูกเราเก่งอย่างนี้ ทั้งๆ ที่เห็นว่าในแต่ละวันของลูก ใช้เวลากับการนอนเป็นส่วนใหญ่

การนอน เป็นตัววัดความฉลาดในอนาคต

            คุณพ่อคุณแม่ รู้สึกมีความสุขและภูมิใจในตัวลูกทุกครั้งที่ตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าลูกของเรามีการพัฒนาก้าวหน้าทุกวัน จากลูกน้อยที่เอาแต่นอนและร้องไห้บ้าง มาเป็นยิ้มกับเรา ชันคอได้ พลิกคว่ำ หงายได้ อ้อแอ้ พูด พ่อ แม่ หม่ำ ……… คุณพ่อคุณแม่คงมีคำถามในใจว่า อะไรทำให้ลูกเราเก่งอย่างนี้ ทั้งๆ ที่เห็นว่าในแต่ละวันของลูก ใช้เวลากับการนอนเป็นส่วนใหญ่

เกือบทุกครั้งที่พาลูกไปรับวัคซีน คุณพ่อคุณแม่คงได้ยินคำแนะนำจากคุณหมอ โดยคุณหมอมักจะบอกว่าศีรษะลูกโตกี่เซนติเมตร ซึ่งในแต่ละเดือนขนาดของศีรษะจะมีการขยายใหญ่จนคงที่เมื่อลูกอายุประมาณ 18 เดือน แต่พัฒนาของสมองยังมีอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งเน้นเรื่องการเลี้ยงดู อาหารและการนอน ซึ่งทั้งสามสิ่งนี้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาร่างกายและสมอง

จากความรู้ทางการแพทย์ พบความจริงที่ว่า “ทุกครั้งที่ลูกนอนหลับอยู่นั้น สมองของลูกมีการพัฒนาตลอดเวลา ทำให้เกิดการเรียนรู้ ความจำ พัฒนาการและความฉลาด  ถึงตอนนี้คุณพ่อคุณแม่อาจถามต่อว่า เด็กทุกคนก็หลับเหมือนกันแล้วทำไมพัฒนาการและความฉลาดของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน มีอะไรมากกว่านอนหลับปิดตาหรือไม่  คำตอบ มีหลายปัจจัยมากทั้งจากตัวเด็ก พันธุกรรม การเลี้ยงดู และการได้รับสารอาหารที่หลากหลาย รวมทั้งแอลฟา-แล็คตัลบูมิน โปรตีนคุณภาพ ที่พบมากในนมแม่

จะเห็นว่าการนอนเป็นสิ่งที่ต้องดูแลและใส่ใจ แต่เบื้องลึกของการนอนในเด็กของแต่ละคนที่อาจแตกต่างกันคือ การได้รับกรดอะมิโนจำเป็นที่ชื่อ ทริปโตเฟน ซึ่งร่างกายสร้างเองไม่ได้ต้องได้จากอาหารเท่านั้น ในเด็กเล็กควรได้รับนมแม่ ซึ่งมีสารอาหารครบรวมทั้ง แอลฟาแล็คตัลบูมิน ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพ ย่อยง่าย ดูดซึมง่าย และให้ ทริปโตเฟน ที่ช่วยสร้างสารเซโรโทนิน ซึ่งมีส่วนช่วยในการควบคุมการนอนหลับ โดยร่นระยะเวลานอนให้หลับเร็วขึ้น

มีงานวิจัยศึกษาหลายฉบับ แสดงให้เห็นว่า เด็กที่ทานนมแม่จะฉลาด มีการเรียนรู้ ความจำดีกว่าเด็กที่ไม่ได้ทานนมแม่ ขณะเดียวกันก็จะมีการนอนหลับได้ดีกว่า

ทั้งนี้ สมองของลูกน้อยสามารถเรียนรู้ ทั้งกลางวัน และกลางคืน เพราะเซลล์สมองมีการเจริญเติบโต เชื่อมโยงเส้นใยประสาท ประมวลประสบการณ์บันทึกไว้เป็นความจำในเวลานอน ส่งผลดีต่อการรียนรู้ ความจำ เมื่อตื่นทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ข้อมูลอ้างอิง

  • Rebecca L. Gomez, Katharine C. Newman-Smith, Jennifer H. Breslin, Richard R. Bootzin. Learning, Memory, and Sleep in Children. 2011. Sleep Med Clin Vol. 6: 45–57.
  • Steiberg LA, O’Connell NC, Hatch TF, Picciano MF, Birch LL. Tryptophan intakes influences infants’ sleep latency 1992. J. Nutr: 122(9); 1781-91.
  • Markus Cr, Jonkman LM, Lammers JH, Deutz NE, Messer MH, Rigtering N. Evening intake of alpha-lactalbumin increase plasma tryptophan availability and improves morning alertness and brain measures of attention. May 2005. Am J Clin Nutr. 81(5): 1026-33.

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up