เล่นแล้วเก็บ
3 วิธีได้ผลจริง สอนลูก เก็บของเล่น ลูกยอมทำโดยง่าย
การสร้างวินัยเชิงบวกอย่างการสอนให้ลูก เก็บของเล่น เล่นของเล่นเสร็จแล้วเก็บให้เรียบร้อยด้วย ประเด็นนี้เหมือนไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย หากอยากฝึกให้ลูกเก็บของเล่นที่ตัวเองเล่น จะต้องใช้เวลาและการฝึกฝนให้ลูกเรียนรู้จนเป็นนิสัย การให้เด็กๆได้ทำอะไรด้วยตัวเองคือการฝึกเรื่องความรับผิดชอบ ซึ่งมีส่วนช่วยให้พวกเขารู้จักจัดการชีวิตของตัวเองอย่างเป็นระบบ รวมถึงฝึกทักษะจัดการอารมณ์ การสร้างวินัยเหล่านี้ให้ลูกตั้งแต่ยังเล็กจะเป็นเกราะชั้นดีให้ลูกน้อยเติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ สอนลูกอย่างไรให้ เก็บของเล่น เล่นแล้วเก็บ 1. ใครเล่น คนนั้นเก็บ สร้างกฎเล็กๆ ในครอบครัวว่าถ้าใครเป็นคนเริ่มหยิบออกมาเล่น ก็ต้องเก็บเอง แม้เริ่มแรกอาจยากสักหน่อย พ่อแม่อาจต้องอดทนและฝึกรอคอยไปด้วยกันกับลูก ไม่ควรอารมณ์เสียหรือหงุดหงิดใส่ลูกเมื่อเขาอาจเก็บของช้าไม่ทันใจ แต่ควรให้กำลังใจ และรอชื่นชมเมื่อลูกทำสำเร็จ 2. ใครเก็บ คนนั้นได้เล่น การที่ลูกเอาของเล่นออกมาเล่นแล้วไม่ยอมเก็บ ถือเป็นหนึ่งในวิธีแสดงอำนาจเหนือกว่าพ่อแม่ ครูหม่อม – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำว่า พ่อแม่สามารถเก็บของเล่นแทนลูกได้ แต่ให้เก็บไว้ในที่สูงที่ลูกหยิบไม่ถึง และเมื่อลูกร้องขอจะเล่นอีก ก็ให้ใช้วิธีถามลูกว่าครั้งที่แล้วใครเป็นคนเก็บ ถ้าลูกอยากเล่น ก็ยอมให้เล่นด้วย แต่ต้องช่วยกันเก็บก่อน เพราะครั้งที่แล้วลูกไม่ได้เก็บ เป็นการให้ลูกยอมทำตามกฎที่เราตั้งไว้ ถ้าลูกไม่ยอมเล่น ก็ไม่เป็นไร เพราะถือว่าลูกได้รับการสอนแล้ว ลูกก็จะจดจำได้ว่าการจะเล่นของเล่นได้ ต้องอยู่ในกฎกติกาตามนี้ 3. เก็บของเล่น […]