ลูกเรียนดนตรี

เทคนิคส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีให้ลูก ง่ายๆ (ตั้งแต่ในท้อง-12ปี)

event
ลูกเรียนดนตรี
ลูกเรียนดนตรี

ลูกเรียนดนตรี

(ต่อ) วิธีการวัดแววความฉลาดทางด้านดนตรีของลูก

  1. สามารถบอกได้ว่าโน้ตดนตรีผิดคีย์
  2. ชอบใช้เวลาอยู่คนเดียวกับเครื่องดนตรีง่ายๆ สักชิ้น
  3. มีความสนใจอาชีพที่เกี่ยวกับดนตรี เช่น นักร้อง นักดนตรี ครูสอนดนตรี คนทำเครื่องดนตรี ดีเจ นักแต่งเพลง ผู้อำนวยเพลง เป็นต้น
  4. สามารถจดจำเสียงที่เคยได้ยินแม้เพียงครั้งเดียวหรือสองครั้งได้
  5. มักจะได้ยินเสียงเพลงจากภาพยนตร์ โทรทัศน์ หรือวิทยุก้องอยู่ในหูตลอดเวลา

หากสำรวจพบคุณสมบัติเหล่านี้ตั้งแต่ 12 ข้อขึ้นไป แสดงว่า เด็กคนนี้มีความฉลาดและถนัดทางด้านดนตรีครับ

ส่วนวิธีการที่จะฝึกทักษะทางด้านนี้ เช่น การแสดงบนเวที การร้องเพลง หัดให้เล่นดนตรี การใช้เครื่องดนตรี การรู้จังหวะดนตรี แต่งเพลงด้วยคอมพิวเตอร์ ร้องเพลงประสานเสียง เล่นดนตรีเครื่องสาย เล่นดนตรีสากล 2 – 4 ชิ้น การทำจังหวะ การเต้นตามจังหวะเพลง การอ่านเพลงสวด การสวดมนต์ การอ่านทำนองเสนาะ หรือใช้การร้องเพลงเข้ามาประกอบในบทเรียน

เทคนิคส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีให้ลูก

ลูกเรียนดนตรี

เพราะการสร้างความสามารถด้านดนตรี จำเป็นจะต้องส่งเสริมกันตั้งแต่ยังเล็ก หากคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกมีความสามารถด้านดนตรี ลองมาดูเทคนิคการส่งเสริมความสามารถให้ลูกด้านนี้ จาก เล็ก  ส่วนลูกน้อยวัยไหน ควรจะส่งเสริมอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ

** ตั้งแต่ในครรภ์

1.รักษาและปกป้องหูไม่ให้ถูกกระทบกระเทือน

ควรระวังไม่ให้ทารกในครรภ์ถูกกระทบกระเทือนจากเสียงที่ดังเกินไป โดยไม่สร้างมลภาวะทางเสียงให้รบกวนทารกในครรภ์ หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดัง คุณแม่ที่ทำงานในโรงงาน ในสนามบิน สถานที่แสดงมหรสพ สถานที่บันเทิง เสียงที่ดังมากๆจากเครื่องขยายเสียงในโรงภาพยนตร์ หรือไมค์และลำโพงที่ใกล้เกินไปอาจทำให้ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อการได้ยิน ส่งผลกระทบให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการที่ทารกมีน้ำหนักน้อย หรือคลอดก่อนกำหนดได้

2.ให้ประสบการณ์ดนตรีที่ผสมผสานในการเลี้ยงดู และปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นธรรมชาติ

ทารกในครรภ์ มีพัฒนาการและการสร้างหูชั้นในและหูชั้นกลางชัดเจนตั้งแต่อายุครรภ์ได้ 4 เดือน และสามารถตอบสนองด้วย การเคลื่อนไหวร่างกาย และมีการเต้นของหัวใจที่สอดคล้องกับ เสียงจังหวะของดนตรี มีการวิจัยพบว่าทารกสามารถจำเสียงที่เคยได้ยินเมื่อตอนอยู่ในครรภ์มารดาและจะแสดงความสนใจด้วยการหันมองทางเสียงที่ตนเองคุ้นเคย นอกจากนี้ ทารกในครรภ์ยังสามารถรับรู้ถึงเสียงต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัวจากหูและความรู้สึกสั่นสะเทือนของน้ำคร่ำที่มาสัมผัสกับผิวหนังได้ การที่คุณแม่ร้องเพลง ฟังเพลง พูดคุยกับน้องในครรภ์เป็นการสร้างประสบการณ์ดนตรีที่เหมาะสม

ใช้เสียงของแม่ให้สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ เนื่องจากเสียงที่ทารกในครรภ์ได้ยินชัดเจนที่สุด คือ

1.เสียงของแม่ ไม่ว่าเสียงพูด เสียงร้องเพลง
2. เสียงหัวใจแม่ ไม่ว่าจะเป็นเสียงเต้นช้าๆ อย่างสงบราบรื่น หรือเสียงกระชั้น กระตุก ดัง
3. เสียงน้ำในตัวคุณแม่
4.เสียงทุ้มและต่ำจากภายนอก เช่นเสียงของคุณพ่อ

ทารกแรกคลอดสามารถจดจำเสียงของมารดา รวมถึงเสียงที่คุ้นเคยอื่นๆที่เคยได้ยินมาระหว่างที่อยู่ในครรภ์  เมื่อเริ่มเดือนที่ 4 ทารกจะได้ยินเสียงที่แม่พูด เสียงเพลงที่แม่ร้อง หากทารกได้ยินแต่คำพูดที่สุภาพ เสียงเพลงที่ไพเราะ เพลงที่แสดงความรัก ความเอื้ออาทร และความห่วงใย จากคุณแม่ตลอด 9 เดือน  ดนตรีเหล่านี้ก็จะมีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมความสามารถในการรับรู้ และเรียนรู้ต่อไป

อ่านต่อ >> “เทคนิคส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีให้ลูก ตั้งแต่วัยอนุบาล – วัยประถม” คลิกหน้า 3

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up