แม่ท้องติดเชื้อไวรัสซิกา

แม่ท้องติดเชื้อไวรัสซิกา ยุติการตั้งครรภ์ ป้องกัน เด็กหัวลีบ

Alternative Textaccount_circle
event
แม่ท้องติดเชื้อไวรัสซิกา
แม่ท้องติดเชื้อไวรัสซิกา

zika-virus-and-pregnancy

การเฝ้าระวัง แม่ท้องติดเชื้อไวรัสซิกา

ศ.นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ฯ กล่าวว่า ปกติแล้วราชวิทยาลัยฯ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข มีแนวทางดูแลอยู่แล้ว โดยในหญิงตั้งครรภ์ปกติจะต้องมีการฝากครรภ์ และมาพบแพทย์อย่างน้อย 5 ครั้ง ทำการตรวจเลือดตรวจปัสสาวะว่ามีความผิดปกติหรือไม่ และตรวจอัลตราซาวด์ 1 ครั้งตอนอายุครรภ์ 4-5 เดือนว่ามีอะไรผิดปกติ แต่พอมีการระบาดของซิกาเกิดขึ้น และอาจส่งผลต่อเด็กทารกให้พิการทางสมองได้ โดยจะพบ 1.หัวเล็กกว่าปกติมีผลต่อการพัฒนา และ 2.มีหินปูนไปจับสมอง ซึ่งอาจพบด้วยกันได้ ซึ่งเกิดจากไวรัสไปทำลายปฏิกิริยาทางสมอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าหญิงตั้งครรภ์จะพบความผิดปกติจากซิกาทุกคน โดยการดำเนินการวินิจฉัยโรคในแนวทาง ซึ่งจะแบ่งหญิงตั้งครรภ์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.กลุ่มที่มีอาการจากการติดเชื้อ ไวรัสซิกา คือ มีไข้ มีผื่น ปวดข้อ ตาอักเสบ เมื่อมีอาการก็ต้องรีบตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะยืนยันว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ รวมทั้งต้องมีการทำอัลตราซาวด์ 18-20 สัปดาห์ และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดทุกเดือน และหากพบความผิดปกติสมองเล็ก ซึ่งมีเกณฑ์มาตรฐานอยู่ในแต่ละอายุครรภ์ ซึ่งหากพบความผิดปกติจะส่งให้ผู้เชี่ยวชาญดูแลต่อไป

2.กลุ่มที่ไม่มีอาการ จะทำอัลตราซาวด์ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกที่อายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ และทำครั้งที่ 2 ช่วงอายุครรภ์ 28-30 สัปดาห์ เพื่อดูภาพว่ามีความผิดปกติของศีรษะอย่างไร และดูว่ามีหินปูนจับหรือไม่ แต่อย่าลืมว่าซิกาที่ติดมา หลายคนไม่มีอาการ สิ่งสำคัญจะมีคณะแพทย์ในการดูแล หารือกับครอบครัว แม่ในครรภ์ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

*กรณีการยุติการตั้งครรภ์จะทำได้หรือไม่ ? 

เพราะเนื่องจากคนที่ติดเชื้อไวรัสทุกคน ไม่ได้แปลว่าทารกจะมีความผิดปกติ จึงต้องพิสูจน์ด้วยการอัลตราซาวด์ดูว่าหัวเด็กมีความผิดปกติหรือไม่ แต่ข้อลำบากคือ เมื่อติดเชื้อแล้วไม่ได้ทำให้ผิดปกติเลย จึงต้องติดตามการทำอัลตราซาวด์ คล้ายๆ กรณีดาวน์ซินโดรม  ซึ่งหากพบความผิดปกติทารกในครรภ์ ก็จะยุติตั้งครรภ์ได้ แต่จะต้องมีเกณฑ์ตามกฎหมาย อย่างทารกพิการมีผลต่อสุขภาพมารดา และต้องปรึกษาหารือระหว่างคณะแพทย์ว่า หากจะทำจะเป็นอันตรายต่อมารดาหรือไม่ รวมทั้งต้องปรึกษากับสามี กับครอบครัวด้วย

ทั้งนี้ ศ.นพ.ภิเศก กล่าวว่า ปัจจุบันการยุติตั้งครรภ์กรณีทารกผิดปกติในครรภ์นั้น ไม่จำเพาะแค่ซิกา แต่รวมทุกกรณี โดยจะทำได้ในอายุครรภ์ 24 สัปดาห์เป็นเกณฑ์ ปัญหา คือ จะพบความผิดปกติก็ตอนอายุครรภ์มากๆ ทำให้ไม่สามารถทำได้ เพราะอันตรายต่อแม่ และอายุครรภ์มากๆ ก็เหมือนการทำคลอด เมื่อคลอดออกมาแล้วก็มีชีวิตแล้ว ดังนั้นการจะยุติการตั้งครรภ์จะต้องทำให้เร็วที่สุด

อ่านต่อบทความอื่นๆ 

คลิก! ไวรัสซิกา ทำลายสมองทั้งแม่ตั้งครรภ์และลูกในท้อง
คลิก! ไข้เลือดออก และไวรัสซิการะบาดช่วงหน้าฝน
คลิก! วิธีกำจัดยุง ป้องกันไข้เลือดออก และไวรัสซิกา

อ่านข่าวเพิ่มเติม >> คลอดแล้ว! แนวทางดูแล-ยุติตั้งครรภ์ ‘หญิงท้องติดเชื้อซิกา-เด็กหัวลีบ’ ครั้งแรกเอเชีย

ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : www.matichon.co.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up