การนับอายุครรภ์

การนับอายุครรภ์ คาดการณ์วันคลอดได้ ง่ายนิดเดียว

Alternative Textaccount_circle
event
การนับอายุครรภ์
การนับอายุครรภ์

สำหรับผู้ที่วางแผนครอบครัว ตั้งใจไว้แล้วว่าจะเป็นคุณแม่ นอกจากการเตรียมกายให้พร้อมกับการตั้งครรภ์ด้วยการดูแลสุขภาพและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สาระอย่างหนึ่งที่ควรศึกษาไว้ให้รู้ก่อน คือทราบการคำนวณอายุครรภ์แบบง่าย ๆ เพราะเมื่อประจำเดือนขาดไป และค่อนข้างมั่นใจว่าตั้งครรภ์แล้ว เมื่อต้องฝากครรภ์ก็จะเจอกับคำถามจากคุณหมอ และคนใกล้ตัวว่ากี่เดือนแล้ว 

คำถามเรื่องอายุครรภ์ เกิดจากคนรอบข้างล้วนห่วงใยในสุขภาพของว่าที่คุณแม่ และอายุครรภ์เป็นข้อมูลที่จำเป็นที่ทำให้ตรวจสอบในขั้นตอนต่อไปว่า การตั้งครรภ์แต่ละครั้งนั้นเด็กทารกมีความสมบูรณ์แข็งแรง รวมไปถึงทำให้คาดการณ์วันคลอดได้อย่างคร่าว ๆ ด้วย

การนับอายุครรภ์ คาดการณ์วันคลอดได้ ง่ายนิดเดียว

การนับอายุครรภ์

 

อายุครรภ์ช่วง 6 สัปดาห์ กับความสมบูรณ์ของการตั้งครรภ์

ในช่วงอายุครรภ์เดือนแรกถึงเดือนที่สอง ทารกจะเป็นตัวอ่อน อยู่ในช่วงเริ่มพัฒนาอวัยวะสำคัญทั้งหมด ซึ่งในช่วงนี้คุณแม่หลายท่านอาจจะยังไม่แน่ใจดีว่าตนเองตั้งครรภ์แล้ว เพราะอาจไม่มีอาการแพ้ท้อง มีแค่เพียงประจำเดือนขาดไป แต่คุณแม่บางท่าน โดยเฉพาะท่านที่ทราบการนับอายุครรภ์ไว้ก่อน มักจะเอะใจเร็วและรีบไปตรวจที่โรงพยาบาลในช่วงประมาณหกสัปดาห์ 

ด้วยการตรวจอัลตราซาวน์ช่วงหกสัปดาห์ ในบางกรณีหลายคนอาจจะยังไม่เห็นตัวอ่อนในครรภ์และเกิดความตกใจ แต่จริง ๆ แล้วการไม่เห็นตัวอ่อนในครรภ์อาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่ หรือก็เป็นไปได้เช่นกันว่าเป็นสัญญาณเตือนเรื่องความสมบูรณ์ของการตั้งครรภ์

คุณแม่ที่มีอายุครรภ์ประมาณหกสัปดาห์ หากอัลตราซาวน์แล้วไม่พบถุงน้ำการตั้งครรภ์ เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก ซึ่งจะต้องปรึกษากับคุณหมอต่อไปในประเด็นดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะเป็นเรื่องน่ากังวลเช่นนั้นเสมอไป คุณแม่หลายท่านมีภาวะไข่ตกช้า ซึ่งจุดสังเกตหนึ่งจะเป็นการมีประจำเดือนติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ถ้าเป็นเช่นนี้แสดงว่าอายุครรภ์ที่นับว่าถึงหกสัปดาห์นั้น แท้ที่จริงยังไม่ถึงหกสัปดาห์ ควรรออีกประมาณ 2-3 อาทิตย์เพื่อจะทำการอัลตราซาวน์ใหม่อีกครั้ง

 

จะเห็นแล้วว่า ถ้าคอยสังเกตหาสัญญาณการตั้งครรภ์ จดบันทึกการมาและหมดของประจำเดือน และคำนวณวันตกไข่ไว้ด้วย จะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับคุณแม่และคุณหมอในการดูแลสังเกตสุขภาพการตั้งครรภ์  

นิสัยที่ต้องทำสม่ำเสมอของว่าที่คุณแม่

  1. จดวันที่ประจำเดือนมาวันแรกของทุกเดือน
  2. จดวันที่ประจำเดือนหมด
  3. ทราบความยาวรอบเดือน หรือทราบความผิดปกติของภาวะประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  4. คำนวณวันไข่ตก และจดวันไข่ตก

คุณแม่ที่วางแผนการตั้งครรภ์ ควรจดบันทึกวันที่ประจำเดือนมาทุกเดือน หาความยาวรอบเดือนโดยเฉลี่ย (ระยะห่างระหว่างวันแรกของประจำเดือนแต่ละครั้ง)  นำมาหักลบกับระยะที่ไข่ตกที่ 14 วัน และเมื่อเอาค่าวันที่คำนวณได้ไปนับถัดจากวันที่มีประจำเดือนครั้งล่าสุด ก็จะได้วันที่น่าจะเป็นกำหนดไข่ตกมา

ตัวอย่างการคำนวณ หากทราบว่าความยาวรอบเดือนคือ 30 วัน ให้นำมาหักลบกับระยะไข่ตกที่ 14 วัน หากประจำเดือนมาวันที่ 3 มีนาคม วันที่ไข่ตกจะเท่ากับนับไปอีก 30-14 = 16 วัน หรือวันที่ 18 มีนาคม 

 

อ่านต่อ… การนับอายุครรภ์ คาดการณ์วันคลอดได้ ง่ายนิดเดียว ได้ที่หน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up