กลไกการหลั่งน้ำนมที่แม่มือใหม่ควรรู้!

event

นมแม่ …เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก องค์การอนามัยโลก องค์การยูนิเซฟ และสมาคมกุมารแพทย์ทั่วโลก แนะนำให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว เป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน หลังจากนั้นให้อาหารเสริมตามวัย ร่วมกับนมแม่ต่อไปอีกจนเด็กครบอายุ 1 ปี และต่อจากนั้นก็สามารถให้นมแม่ได้อีกตามความต้องการของแม่

ทำไมต้อง “ นมแม่ ”

คนส่วนใหญ่พอจะทราบอยู่แล้วว่านมแม่มีประโยชน์กับลูก แต่ พญ.ปวินทรา หะริณสุต สมนึก กุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จะมาบอกเล่ามากขึ้นในแง่ของทางการแพทย์ว่า นมแม่สำคัญอย่างไร ทำไมถึงต้องมีการรณรงค์ให้นมแม่กันมากมายทั่วโลกขนาดนี้

♥ ประโยชน์ของนมแม่มีมากกว่าที่คิด

น้ำนมแม่จะมีลักษณะใสกว่านมอื่นๆ คนสมัยก่อนเลยคิดว่านมแม่ไม่ค่อยมีสารอาหารมากนัก แต่ความจริงแล้ว นมแม่มีสารอาหารมากถึง 200 กว่าชนิด ในขณะที่นมประเภทอื่นมีสารอาหารไม่ถึงครึ่งของนมแม่เลย แค่สารอาหารหลักๆ ก็ยังมีได้ไม่เท่า ได้แก่

  • กลุ่มคาร์โบไฮเดรต ในนมแม่จะมีน้ำตาลแลคโตส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ช่วยพัฒนาสมองของลูก แม้ว่าในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดจะมีน้ำตาลชนิดนี้ด้วยก็ตาม แต่ในน้ำนมของมนุษย์มีสูงที่สุด
  • น้ำนมแม่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว มีดีเอชเอและเอเอ ซึ่งก็คือโอเมก้า 3 และ 6 มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทของสมอง เป็นสารอาหารจากธรรมชาติที่มีในน้ำนมแม่ ไม่สามารถสกัดออกมาใส่เสริมในนมอื่นได้
  • โปรตีนในนมแม่ มีส่วนประกอบของเวย์ 80 เปอร์เซ็นต์ และเคซีน 20 เปอร์เซ็นต์ เวย์ในนมแม่ยังเป็นแอลฟ่าแลคตาบูมิน ช่วยลดภาวะเสี่ยงของการเป็นภูมิแพ้ต่างๆ ในขณะที่นมอื่นนั้นเป็นเบต้าแลคตาบูมิน ตัวเบต้านี้จะกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ต่างๆ ส่วนเคซีนในนมแม่เป็นเบต้าแคลซีน ซึ่งย่อยง่าย ดูดซึมง่าย ช่วยดูดซึมธาตุเหล็ก สังกะสี และแคลเซียมได้ดี ทั้งสองตัวนี้ไม่สามารถเติมหรือผลิตได้จากโรงงาน นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุและวิตามินต่างๆ ที่ในนมอื่นไม่มี จึงเรียกได้ว่า นมแม่มีสารอาหารที่ครบถ้วนอย่างแท้จริง
  • ในน้ำนมแม่อุดมไปด้วยภูมิคุ้มกันสำคัญที่ไม่สามารถหาได้จากนมอื่นๆ เช่น secretary IgA (เป็นหน้าด่านช่วยป้องกันการติดเชื้อต่างๆ), เม็ดเลือดขาว, ไลโซไซม์ (เอนไซม์ที่ช่วยให้เชื้อแบคทีเรียตายได้), แลคโตเฟอริน (โปรตีนช่วยต่อต้านเชื้อโรค), bifidus growth factor (สารที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของแล็กโตบาซิลัส ช่วยให้แบคทีเรียไม่สามารถอาศัยอยู่ในลำไส้ได้) เป็นต้น เพราะนมแม่มีสารต่างๆ ซับซ้อนมากมายที่จะช่วยให้ลูกเรามีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์

การสร้างน้ำนมแม่

ssuibu2

เต้านมแต่ละข้างจะมีต่อมผลิตน้ำนมประมาณ 15 – 20 หน่วย ซึ่งอยู่ด้านหลังของลานรอบหัวนม โดยมีท่อน้ำนมต่อไปเปิดที่หัวนมระหว่างตั้งครรภ์ รกและรังไข่จะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ในระดับที่สูงมาก ซึ่งมีผลไปกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมสร้างท่อน้ำนมที่มีคุณประโยชน์มาก เรียกว่า โคลอสตรัม อันอุดมไปด้วยโปรตีน, แร่ธาตุ, วิตามิน, น้ำ, น้ำตาล และภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ ที่จะช่วยป้องกัน ทารกจากการติดเชื้อในช่วงแรกๆ หลังคลอด โคลอสตรัมจะมีอยู่ในช่วง 3 – 5 วันหลังคลอดเท่านั้น จากนั้นจึงจะเป็น นมแม่ตามปกติ

ทุกครั้งที่ลูกดูดนม จะไปกระตุ้นปลายประสาทที่หัวนม  ส่งสัญญาณไปยังต่อมไฮโปทาลามัสที่สมองส่วนบน ซึ่งจะส่งสัญญาณต่อไปยังต่อมใต้  สมองให้สร้างฮอร์โมนโปรแลกติน และออกซีโตซิน จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อรอบต่อมน้ำนมหดตัวเพื่อบีบขับ น้ำนมให้ไหลออกมา เสียงร้องของลูกและการได้สัมผัส ใกล้ชิดลูกจะช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนออกซีโตซินได้ด้วย

อ่านต่อ >> “กลไกการหลั่งน้ำนมที่แม่ควรรู้และการเข้าเต้าให้ได้ผล” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up