ความดันต่ำขณะตั้งครรภ์ ภาวะที่แม่ท้องต้องระวัง

Alternative Textaccount_circle
event

ความดันต่ำขณะตั้งครรภ์ อันตรายแค่ไหน?

นอกจากความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในการหกล้มเนื่องจากการวิงเวียนและเป็นลมบ่อย ๆ แล้ว ภาวะความดันโลหิตต่ำขณะตั้งครรภ์ก็ยังก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงอื่น ๆ ที่อันตรายต่อชีวิตของแม่ท้องและลูกในท้องได้ โดยแม่ท้องอาจเสี่ยงให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ทารกอยู่ในภาวะคับขันที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตในท้องแม่

นอกจากความเสี่ยงที่อาจจะเกิดกับแม่ท้องแล้ว มีงานวิจัยระบุว่าแม่ท้องที่มีภาวะความดันต่ำขณะตั้งครรภ์ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกในท้องได้ เช่น น้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ เป็นต้น

เมื่อไรควรไปพบแพทย์ ?

ภาวะความดันโลหิตต่ำเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของตนเองอยู่เสมอ หากเกิดอาการวิงเวียนศีรษะหรือเป็นลม ร่วมกับมีอาการอื่น ๆ ที่รุนแรงดัง ต่อไปนี้

  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • การมองเห็นผิดปกติ
  • แน่นหน้าอก หายใจไม่อิ่ม
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • ร่างกายซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรงหรือชา

ควรรีบไปพบแพทย์หรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์ฉุกเฉินทันที เพราะหากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายต่อทั้งตัวเองและทารกในครรภ์จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

ความดันต่ำ ตอนท้อง
วิธีการดูแลตนเองหากมีภาวะนี้ คือการระมัดระวังตัว

วิธีการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะความดันโลหิตต่ำ

ส่วนใหญ่แล้ว แม่ท้องที่มีภาวะนี้ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา เนื่องจากความดันโลหิตจะค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ และกลับเข้าสู่ระดับปกติหลังจากการคลอดบุตร อีกทั้งแพทย์ไม่แนะนำให้ใช้ยาในการรักษาภาวะใด ๆ ก็ตามในระหว่างตั้งครรภ์โดยไม่จำเป็น เพราะตัวยาอาจส่งผลกับทารกได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากภาวะความดันต่ำขณะตั้งครรภ์ จึงมีวิธีดูแลตนเองและบรรเทาอาการของภาวะนี้ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการลุกขึ้นยืนหรือการเปลี่ยนท่าอย่างกระทันหัน
  • ไม่ควรยืนนาน ๆ
  • ดื่มน้ำให้มาก ๆ
  • สวมเสื้อผ้าที่ใส่แล้วรู้สึกสบาย ไม่รัดแน่นจนเกินไป และไม่ควรใส่ผ้าที่หนาจนรู้สึกร้อน
  • ทานอาหารในปริมาณน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ เพื่อคงปริมาณน้ำตาลในเลือดให้คงที่
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะ บีทรูท ถั่วเปลือกแข็ง และ ธัญพืช แม้ว่าอาหารประเภทนี้เป็นอาหารที่แนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการลดความดันในเลือด แต่อาหารเหล่านี้มีสารอาหารที่จำเป็นต่อหญิงตั้งครรภ์
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ

วิธีการป้องกันและดูแลตัวเองที่ดีที่สุดหากแม่ท้องเกิดภาวะนี้ คือ การระมัดระวังตนเอง ไม่ให้เหนื่อยหรือร้อนจนเกินไป พยายามอย่าหักโหมทำงานหนักจนเกินไป และควรระมัดระวังการหกล้ม หากรู้สึกคล้ายจะเป็นลมควรนั่งหรือนอนลงจนกว่าอาการจะดีขึ้น แต่หากภาวะนี้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันมากจนเกินไป ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แพทย์ประเมินอาการต่อไป

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

โรคความดันโลหิตสูงกับการตั้งครรภ์ ภัยเงียบของแม่ท้อง

แม่แชร์ ! เป็นเบาหวานตอนท้อง และวิธีคุมน้ำตาลแบบง่ายและได้ผลดี

คนท้องต้องรู้! กินน้ำตาล ตรวจเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ทำอย่างไร?

แม่ท้องนอนไม่พอ กระทบลูกในท้องอย่างไร?

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : Mom Junction, Pobpad

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up