อายุครรภ์

สอนแม่ท้องนับ อายุครรภ์ พร้อมวิธีคำนวณกำหนดคลอด ที่ถูกต้อง!

event
อายุครรภ์
อายุครรภ์

เนื่องจาก อายุครรภ์ ที่นาน 40 สัปดาห์ โดยนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสดท้าย จะต้องใช้วิธีคำนวณกำหนดคลอดที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งนิยมใช้ กฎของเนล (Naegele’s Rule) มีวิธีดังนี้ 

การคำนวณหาอายุครรภ์ สำหรับ “วันที่”

ทำได้โดยการนำ “วันที่” วันแรกของการมีประจำเอนครั้งสุดท้าย บวก ด้วย 7 วัน

การคำนวณหาอายุครรภ์ สำหรับ “เดือน”

ทำได้โดยการนำเดือนสุดท้ายที่มีประจำเดือน มานับย้อนหลังไปอีก 3 เดือน

ตัวอย่างเช่น >> ประจำเดือนมาวันแรก คือวันที่ 1 สิงหาคม 2562 ดังนั้น อายุครรภ์ ที่กำหนดคลอดจากกฎของเนเกล คือ วันที่ 1 + 7 (วัน) = วันที่ 8 … ส่วนเดือนที่ครบกำหนดคลอด คือ เดือน 8 – 3 = เดือนที่ 5 ดังนั้น การตั้งครรภ์ครั้งนี้ จึงครบกำหนดคลอดในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ซึ่งกฎของเนเกลจะแม่นยำมาก ในกรณีที่ไข่ของคุณผู้หญิงตกตามกำหนดมาตลอดและมีการปฏิสนธิในวันไข่ตก คือช่วงวันที่ 14 ของประจำเดือน รอบนั้น ๆ >> ดังนั้นกฎของเนเกลจึงไม่สามารถ ใช้กับคุณผู้หญิงที่มีประจำเดือนมาไม่ปกติ ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ หรือจำประจำเดือนครั้งสุดท้ายได้ไม่แม่นยำ

นอกจากนี้ยังมีวิธีการคำนวณกำหนดการคลอดอื่น ๆ เช่น

อายุครรภ์

อายุครรภ์ ที่ลูกดิ้น

โดยท้องแรกลูกจะดิ้นให้คุณแม่รู้สึกครั้งแรกประมาณสัปดาห์ที่ 18 – 20 ส่วนการตั้งท้องหลังหรือท้องต่อๆ มา ก็จะรู้สึกถึงการดิ้นครั้งแรกประมาณสัปดาห์ที่ 16

 

การตรวจขนาดของครรภ์โดยคุณหมอ

ขนาดของมดลูกจะเป็นไปตาม อายุครรภ์ เช่น ถ้าตรวจวัดแล้วพบว่า ยอดมดลูกอยู่บริเวณเหนือหัวหน่าว ก็แปลว่ามีอายุครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์ แต่ถ้ายอดมดลูกอยู่ระดับสะดือ อายุครรภ์ก็จะประมาณ 20 สัปดาห์ และหลังจากอายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ ขนาดของมดลูกจะวัดเป็น “เซนติเมตร” โดยวัดจากหัวหน่าวถึงยอดมดลูก ทั้งนี้ของขนาดมดลูกที่วัดได้ก็จะเป็นไปตามอายุครรภ์ เช่น ถ้าวัดได้ 24 เซนติเมตร ก็เป็นการตั้งครรภ์ประมาณ 24 สัปดาห์

 

 

การฟังเสียงหัวใจของทารกโดยสูตินรีแพทย์

หากใช้หูฟังจะสามารถฟังการเต้นของหัวใจของลูกในท้องได้ในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 14 -16 สัปดาห์ หากใช้เครื่องมือ (Doppler) จะสามารถฟังได้เร็วที่สุดเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 10 – 12 สัปดาห์

 

การตรวจโดยเครื่องอัลตร้าซาวนด์

ปัจจุบันมีการคำนวณอายุครรภ์ จากการวัดขนาดความยาวของตัวอ่อนจากหัวถึงก้น (CRL : Crown = หัว, Rump = ก้น และ Length = ยาว) และถุงการตั้งครรภ์ (Gestational Sac) ในการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 1 (ก่อน 12 สัปดาห์) ซึ่งจะแม่นยำบวกลบ 3-5 วัน

ทั้งนี้ในทางการแพทย์จะถือว่าการคลอดก่อนหรือหลังกำหนดวันคลอด 2 สัปดาห์ คือระหว่าง 38 สัปดาห์ หรือ 42 สัปดาห์ ยังอยู่ในระยะที่ถือว่าเป็นการคลอดครบกำหนด ดังนั้น ถ้าคุณแม่คลอดก่อนหรือหลังกำหนด 2 สัปดาห์ ก็ไม่ต้องกังวลว่าลูกจะมีสุขภาพไม่แข็งแรง หรือเมื่อถึงกำหนดคลอดแล้ว คุณแม่ยังไม่เจ็บครรภ์คลอดสักที ก็ไม่ต้องแปลกใจ

ถ้าคุณหมอบอกว่าไม่เป็นอะไรก็ขอให้ใจเย็นไว้ก่อน เนื่องจากคุณแม่ที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ วัดคลอดจริง ๆ อาจคลาดเคลื่อนไปได้ ถ้าห่างกันมากกว่า 28 วัน ก็อาจจะคลอดช้ากว่ากำหนด แต่ถ้าห่างกันน้อยกว่า 28 วัน ก็อาจจะคลอดก่อนวันที่กำหนดไว้

แต่อย่างไรก็ดีการรู้ อายุครรภ์ ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ ฉะนั้นเมื่อเริ่มสงสัยว่าตัวเองกำลังมีสัญญาณการตั้งครรภ์ ต้องรีบไปโรงพยาบาลเพื่อให้คุณหมอตรวจ และนับอายุครรภ์ให้ค่ะ

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก : 


ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ : คู่มือคุณแม่ตั้งครรภ์ โดย แพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุโข

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up