BPA

อันตรายจากสาร BPA ในขวดน้ำดื่ม ที่แม่ท้องต้องระวัง

Alternative Textaccount_circle
event
BPA
BPA

ควรดื่มน้ำจากขวดแบบไหนปลอดภัยที่สุด

ชนิดของพลาสติก
ชนิดของพลาสติก ชนิดไหนปลอดภัยไร้สารBPA

ภาชนะต่าง ๆ ที่ทำจากพลาสติก หากสังเกตดูที่ใต้ภาชนะนั้น ๆ แล้ว เราจะเห็นสัญลักษณ์ตามรูปด้านบน พร้อมตัวเลขกำกับ นั่นเป็นเพราะพลาสติกถูกแบ่งออกเป็น 7 ชนิดด้วยกัน โดยแบ่งตามรูปแบบความแข็งแรงและลักษณะการใช้งาน

พลาสติกที่ควรเลี่ยงเพราะเสี่ยงต่อสารBPA ได้แก่

  • PVC หรือ Polyvinyl Chloride พลาสติกพีวีซีมักใช้เป็นท่อประปา เฟอร์นิเจอร์ ขวดน้ำ แผ่นฟิล์มถนอมอาหาร ภาชนะบรรจุน้ำสลัดและน้ำยาซักล้าง
  • PS หรือ Polystyrene มักถูกนำมาใช้ผลิตถ้วย ชาม ถาดอาหาร ภาชนะบรรจุอาหารกลับบ้าน
  • Other หมายถึงพลาสติกชนิดอื่น ๆ มักเป็นพวก Polycarbonate ซึ่งใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร ทัพเพอร์แวร์ แกลลอนน้ำดื่ม  รวมทั้งใช้ในการเคลือบด้านในของกระป๋องบรรจุอาหาร

พลาสติกที่ปลอดภัยไร้สาร BPA ได้แก่

  • PET (PETE) หรือ Polyethylene Terephthalate พลาสติก PET เป็นขวดใสใช้บรรจุน้ำดื่ม น้ำอัดลมขนาด 2 ลิตร ขวดน้ำมันพืช และกระปุกเนยถั่ว
  • HDPE หรือ High Density Polyethylene เป็นขวดสีขาว ทึบแสง หรือสีทึบอื่น ๆ มักใช้บรรจุน้ำดื่ม นม ยาเม็ด ผงซักล้าง น้ำยาล้างห้องน้ำ แป้งฝุ่น
  • LDPE หรือ Low Density Polyethylene มักใช้เป็นถุงซักแห้ง ภาชนะเก็บอาหาร สารเคลือบกระป๋อง
  • PP หรือ Polypropylene มักใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร อาหารทารก ฝาขวด หลอดดูดน้ำ

ขวดน้ำที่ขายตามท้องตลาดทั่ว ๆ ไป มักจะเป็นขวดพลาสติกประเภท PET ซึ่งขวดประเภทนี้ไม่มีสาร Bisphenol A ปนเปื้อนอยู่เลย แต่ก็ใช่ว่าจะทานน้ำจากขวด PET โดยไม่มีข้อจำกัดนะคะ เพราะการใช้ขวดประเภทนี้อย่างไม่ถูกวิธี ก็อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ ขวดน้ำดื่มตากแดด/นำมาใช้ซ้ำ อันตรายไหม? และวิธีป้องกันไม่ให้BPA เข้าสู่ร่างกาย

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up