ลูกแพ้อาหารที่แม่กิน

5 วิธีรับมือ “ลูกแพ้อาหารที่แม่กิน” ลูกแพ้อาหารผ่านนมแม่ ทำไงดี?

event
ลูกแพ้อาหารที่แม่กิน
ลูกแพ้อาหารที่แม่กิน

อาหารที่ต้องระวังในช่วงให้นมลูก ป้องกัน ลูกแพ้อาหารที่แม่กิน

เพื่อป้องกัน ลูกแพ้อาหารที่แม่กิน ป้าหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ ได้แนะนำว่ามีอาหารกหลายอย่างที่สามารถเล็ดลอดเข้าสู่นมแม่ จนไปทำให้ลูกเกิดความผิดปกติได้ เช่น

  1. แอลกอฮอล์ ที่มีความเข้มข้น เช่น วิสกี้ คอนยัค เหล้า บรั่นดี ไม่ควรกินเกิน 30 ซีซี หากกินเบียร์หรือไวน์ ไม่ควรเกินหนึ่งแก้ว (180 ซีซี) จะได้ไม่ต้องปั๊มนมทิ้ง ซึ่งถ้าคุณแม่กินเกินปริมาณดังกล่าว ต้องปั๊มทิ้งภายใน 3-6 ชม.หลังจากกินหรือจนกว่าคุณแม่จะมีความรู้สึกตัวดีหรือมีระดับสติสัมปชัญญะกลับมาเป็นปกติ เพราะปริมาณแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปจะเข้าสู่น้ำนม ทำให้ลูกมีปัญหานอนหลับมากผิดปกติ กดการทำงานของสมองส่วนที่ควบคุมการหายใจ และเป็นอันตรายต่อตับของทารก โดยทั่วไปแล้ว และหากคุณแม่กินแอลกอฮอล์ไม่ควรนอนเตียงเดียวกับลูก เพราะอาจหลับลึกจนทับลูกเสียชีวิตได้
  2. คาเฟอีน ที่อยู่ใน ชา กาแฟ ช็อกโกแลต โกโก้ น้ำอัดลม กินได้เพียงหนึ่งอย่าง วันละไม่เกิน 2 แก้ว หากกินมากเกินไป อาจมีผลทำให้ลูกนอนหลับไม่ดี กระตุ้นทำให้หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะ
  3. โปรตีนกระตุ้นภูมิแพ้ เช่น นมวัว นมถั่วเหลือง ถั่วลิสง แป้งสาลี ไข่ อาหารทะเล มะพร้าว ผลไม้รสเปรี้ยว ฯลฯ ถ้าลูกมีอาการแพ้ คุณแม่ต้องงดอาหารประเภทนี้ขณะให้นมด้วย แต่ถ้าลูกไม่มีอาการผิดปกติอะไรก็กินได้

สุดท้าย คือ อาหารบางอย่างที่อาจทำให้ลูกมีแก๊สหรือปวดท้อง เช่น อาหารเผ็ด หัวหอมใหญ่ ถั่วชนิดต่างๆ ผักกะหล่ำปลี บร๊อคโคลี่ ซึ่งบางคนเป็น บางคนไม่เป็น คุณแม่จึงควรสังเกตและจดจำด้วยว่ากินอะไรเข้าไปบ้างในแต่ละครั้งแต่ละวัน เพื่อที่จะได้วิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้อง

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.facebook.com/SuthiRaXeuxPhirocnKic

5 วิธีรับมือ เมื่อลูกแพ้อาหารผ่านนมแม่

เพราะหากคุณแม่เผลอกินอาหารกลุ่มเสี่ยงเข้าไป ก็อาจทำให้ ลูกแพ้อาหารที่แม่กิน ได้ โดยปฏิกิริยาต่อต้านนมแม่ที่จะทำให้ลูกมีอาการแสดงออก เช่น  หน้าขึ้นผื่นแดง เกาศีรษะจนเป็นหนอง ร้องไห้งอแงผิดปกติ กินนมได้น้อย หรือน้ำหนักตัวไม่เพิ่ม เป็นต้น โดยสาเหตุเหล่านี้ อาจเกิดจาก “ลูกแพ้อาหารผ่านนมแม่” ซึ่งไม่ได้เป็นที่นมแม่ แต่เป็นที่อาหารบางอย่างที่แม่กินเข้าไปนั่นเอง ดังนั้นคุณแม่ที่ให้ลูกกินแต่นมแม่ตลอด หากพบว่า ลูกแพ้อาหารที่แม่กิน ก็ยังสามารถให้ลูกกินนมแม่ต่อได้พียงแต่ต้องพยายามหาสาเหตุให้เจอว่าลูกแพ้อะไรแล้วจึงหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านั้น โดยแนวทางปฏิบัติ มีดังนี้…

  1. หาให้เจอว่าลูกแพ้อะไรสิ่งแรกที่ต้องทำ คือ ให้คุณแม่สังเกตจากอาหารที่กินเข้าไป และเป็นสิ่งที่หลายคนมักเกิดอาการแพ้ เช่น ไข่ นมวัว อาหารทะเล เป็นต้น
  2. จดทุกอย่างที่กินเข้าไปในแต่ละวัน แล้วบันทึกด้วยว่าลูกมีอาการอย่างไรบ้างเพราะการมีสมุดจดบันทึกสิ่งที่กินนั้น มีประโยชน์มากในการค้นหาตัวการที่ทำให้ลูกแพ้ เพราะลูกอาจแพ้อาหารหลายอย่างก็ได้
  3. งดอาหารที่เสี่ยงต่ออาการแพ้ทั้งหมดประมาณ 2-3 อาทิตย์ แล้วค่อย ๆ กลับมากินใหม่ทีละอย่าง ทีละนิด การกินอาหารด้วยวิธีตัดออก อาจต้องใช้เวลาเยอะและยุ่งยาก แต่วิธีนี้จะฟันธงว่าลูกแพ้อาหารชนิดใดบ้าง ซึ่งถ้าหยุดหมดแล้วสังเกตว่าลูกยังไม่ดีขึ้นภายในหนึ่งเดือนหรือไม่หายภายในสองเดือน สามารถสันนิษฐานได้สองอย่างคือ
    • ลูกแพ้อาหารอย่างอื่นนอกจากนี้ ให้สงสัยอาหารอื่นที่แม่ชอบกินตอนท้องและหลังคลอด
    • ลูกแพ้อย่างอื่น เช่น ไรฝุ่น ครีมอาบน้ำ โลชั่นทาตัว ผงซักฟอก ขนหมา ขนแมว ร่วมด้วยเป็นต้น
  1. สังเกตอาการของลูกอย่างต่อเนื่องว่าลูกน้อยไม่สบายตัวหลังกินนมแม่ โดยให้ย้อนกลับไปดูว่าก่อนหน้านั้นคุณได้รับประทานอะไรเข้าไปบ้าง และพยายามงดอาหารที่ลูกแพ้อย่างเต็มที่ ไม่ควรกินอาหารอื่นนอกบ้าน ควรทำอาหารทานเองเพื่อควบคุมส่วนผสมอาหารที่รับประทาน ซึ่งภาวะ ลูกแพ้อาหารที่แม่กิน อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน ถึง 1 ปีหรือนานกว่านี้ แต่อาการแพ้อาหารก็สามารถหายได้เอง เมื่อลูกโตขึ้น
  2. ปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง สำหรับคุณแม่ที่สงสัยว่าลูกแพ้อาหาร ควรปรึกษาคุณหมอเด็กผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ เพื่อคุณหมอจะแนะนำการทำ Skin test หรือ Patch test   ทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือเจาะเลือดตรวจ ตามที่เหมาะสมกับเด็ก จะเป็นวิธีหาสาเหตุของอาการแพ้อาหารได้ตรงจุดที่สุด ซึ่งสามารถทดสอบได้เมื่อลูกอายุ 1 ปีขึ้นไป สำหรับเด็กทารกที่อายุต่ำกว่า 1 ปี ให้คุณแม่ควบคุมอาหารกลุ่มเสี่ยงไปก่อน

ทั้งนี้สำหรับการกินอาหารเพื่อบำรุงน้ำนม ป้าหมอยังได้แนะนำอีกว่า หลักการคือ ถ้าคุณแม่ชอบก็กิน ถ้าไม่ชอบก็ไม่ต้องกิน ถ้าต้องกินไปต้องทุกข์ไป ก็อย่ากิน เลือกกินเฉพาะที่ชอบก็ได้ จะกินทุกชนิดพร้อมๆ กันก็ได้ หรือจะกินร่วมกับยากระตุ้นน้ำนมก็ได้ แล้วค่อยๆ พิจารณาว่า ชนิดใดใช้ได้ผล ก็กินต่อไป ชนิดใดไม่ได้ผลก็หยุดกิน อาหารเหล่านี้ ไม่มีผลข้างเคียง บางงานวิจัยบอกว่า ถ้ากินแล้วจิตใจสบายขึ้น ความเครียดน้อยลง ก็ถือว่า ได้ช่วยทางด้านจิตใจ  … สุดท้ายจากที่กล่าวมา การกินอาหารของแม่ให้นม อาจดูยุ่งยากแต่การที่คุณแม่รู้จักเลือกกินอาหารเป็น ซึ่งนอกจากดีต่อลูกแล้ว และ ดีต่อสุขภาพของคุณแม่อย่างยั่งยืนอีกด้วยนะคะ

ลูกแพ้อาหารที่แม่กิน

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ :


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.breastfeedingthai.comhappymom.in.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up