โรคฉี่หนู

โรคฉี่หนู อันตรายใกล้ตัวเด็ก ที่มาพร้อมกับน้ำท่วมขัง!

Alternative Textaccount_circle
event
โรคฉี่หนู
โรคฉี่หนู

โรคฉี่หนู – พอเขาสู่ช่วงฤดูฝน ย่อมมีโรคภัยไข้เจ็บมากมายที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องระวังว่าเด็กๆ ที่บ้านอาจป่วยได้ โดยเฉพาะโรคที่มากับน้ำท่วม ยิ่งบ้านไหนน้ำท่วมหนัก ระบายไม่ทัน น้ำขังเป็นเวลานาน อาจเป็นโอกาสที่เชื้อโรคต่างๆ จะสะสมและเจริญเติบโตอยู่ในน้ำ หากเด็กๆ ไม่ระมัดระวังอาจเผลอเอามือที่เปื้อนเชื้อโรคสัมผัสกับปากหรือขยี้ตาได้ ซึ่งแน่นอนว่าอาจทำให้เด็กๆ เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ได้ โดยเฉพาะ โรคฉี่หนู (Leptospirosis) ที่มักแพร่ระบาดในหน้าฝน หรือช่วงที่มีน้ำท่วมขัง ดังนั้นความเข้าใจในโรค และการป้องกันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่จำเป็นต้องรู้

โรคฉี่หนู อันตรายใกล้ตัวเด็ก ที่มาพร้อมกับน้ำท่วมขัง!

โรคนี้ ถือเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่พบบ่อยที่สุดในโลก เกิดจากสภาพแวดล้อมด้านสุขอนามัยที่ไม่ดี การประกอบอาชีพทางการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสกับสัตว์หรือน้ำ การเดินทาง ผจญภัย และกีฬา การวิ่งลุยโคลน การเดินลุยน้ำท่วม หรือการสัมผัสดิน เด็กๆ มักได้รับเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปรา ตัวการของโรคฉี่หนูเข้าสู่ร่างกายได้เนื่องจากกิจกรรมตามวัย ต่างๆ เช่น การว่ายน้ำในคลอง เดินลุยน้ำท่วม นั่งเล่นในน้ำท่วมขัง หรือการเล่นกับ สัตว์เลี้ยง ปัจจุบัน โรคฉี่หนู เป็นโรคที่มนุษย์ยังไม่มีภูมิคุ้มกันโดยกำเนิดต่อการติดเชื้อ และยังไม่มีโปรแกรมการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคนี้ในประเทศไทย

สาเหตุของ โรคฉี่หนู

แม้ชื่อจะบอกว่าเป็น โรคฉี่หนู แต่ความจริงสัตว์ฟันแทะชนิดอื่นๆ ก็สามารถแพร่เชื้อได้ สาเหตุของ โรคฉี่หนู (Leptospirosis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเลปโตสไปรา (Leptospira) ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการได้หลากหลาย อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อบางรายอาจไม่มีอาการเลย แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงและไม่ได้รับการรักษา โรคฉี่หนู อาจนำไปสู่ความเสียหายต่อไต เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (การอักเสบของเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง) ตับวาย หายใจลำบาก และถึงแก่ชีวิตได้

รูปแบบที่รุนแรงของการติดเชื้อฉี่หนูเรียกว่า ‘Weil’s disease’  ซึ่งมีผู้คนนับหมื่นติดเชื้อทุกปี แต่ส่วนใหญ่สามารถฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์จากการรักษา อย่างไรก็ตามหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม มีการติดเชื้อรุนแรง ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้จากความเสียหายของอวัยวะที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นผู้ป่วยโรคฉี่หนูทุกราย ควรได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

โรคเลปโตสไปโรซิสเกิดจากแบคทีเรียเลปโตสไปรา ที่สามารถพัฒนาก่อตัวเป็นโรคได้เมื่อคุณสัมผัสกับ :

  • สัตว์ที่ติดเชื้อ
  • ปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ
  • ดินหรือน้ำปนเปื้อนเชื้อ

แบคทีเรียเลปโตสไปรา (Leptospira) สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ทางบาดแผล หรือเยื่อเมือกเช่น ตาหรือปาก จากนั้นเชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงที่มีฟันแทะ สามารถเป็นพาหะของโรคฉี่หนูได้ ในสัตว์เลี้ยงสามารถพบการแพร่เชื้อได้ในสุนัขแต่อาจพบได้น้อยในแมว

สัตว์ที่เป็นโรคฉี่หนูอาจไม่มีอาการผิดปกติ พวกมันอาจปล่อยแบคทีเรียซึ่งส่วนใหญ่ก่อตัวขึ้นที่ไตและอยู่ในปัสสาวะสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งเชื้อสามารถอยู่รอดได้หลายสัปดาห์หรือนานเป็นเดือน เมื่อเด็กไปสัมผัสอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้  โดยเชื่้อเลปโตสไปรา มักพบในปัสสาวะของสัตว์บางชนิดต่อไปนี้

  • วัว
  • หมู
  • ม้า
  • แรคคูน
  • เม่น
  • สุนัข
  • หนู
  • กระรอก

สำหรับบ้านที่เลี้ยงสุนัขหากต้องการป้องกันโรคฉี่หนูจากสุนัข สามารถพาสุนัขไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฉี่หนูได้ตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข วัคซีนในสุนัขจะให้การป้องกันอย่างน้อย 12 เดือน ดังนั้นอาจจำเป็นต้องฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นทุกปี เพื่อความปลอดภัยของเด็กๆ และคนในครอบครัวที่เลี้ยงสุนัข

อาการ

อาการของโรคเลปโตสไปโรซิสในช่วงสองสามวันแรกนั้นอาจดูคลุมเครือมาก และเกือบจะเหมือนกับโรคติดเชื้อทั่วไปในเด็ก เช่น ไข้หวัดใหญ่  ซึ่งผู้ปกครองอาจชะล่าใจและไม่ได้ขอคำแนะนำจากแพทย์ หากเด็กมีความเสี่ยงที่จะสัมผัสเชื้อ หากไม่มีการตรวจเลือดจะไม่สามารถวินิจฉัยการเจ็บป่วยได้ การวินิจฉัยเด็กอาจทำได้ยากเนื่องจากมีอาการที่หลากหลาย

บางครั้งการติดเชื้อจะแสดงอาการคล้ายกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งเป็นผื่นแดงบนผิวหนัง อาการเหล่านี้มักเป็นสัญญาณของการติดเชื้อที่สำคัญเสมอ และควรนำเด็กส่งโรงพยาบาลทันที อย่างไรก็ตามอาการดังต่อไปนี้ล้วนเป็๋นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้หากติดเชื้อฉี่หนู

  • มีไข้สูง
  • ปวดศีรษะ
  • หนาวสั่น
  • อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • อาเจียน
  • ดีซ่าน (ผิวและตาเหลือง)
  • ตาแดง
  • อาการปวดท้อง
  • ท้องเสีย
  • ผื่นขึ้น

อ่านต่อ…โรคฉี่หนู อันตรายใกล้ตัวเด็ก ที่มาพร้อมกับน้ำท่วมขัง! ได้ที่หน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up