ลูกคนกลาง

เผย! “ลูกคนกลาง” มีแนวโน้มสร้างปัญหามากกว่าพี่น้องคนอื่น

event
ลูกคนกลาง
ลูกคนกลาง

ลูกคนกลาง

ลูกคนเดียว หรือลูกโทน

ลักษณะนิสัยของลูกคนเดียว มักจะมีนิสัยเหมือนลูกคนแรกหรือลูกคนโต เพราะพ่อแม่จะให้ความสนใจอย่างมาก ดูแลดุจไข่ในหินและเป็นจุดศูนย์กลางของความสนใจของพี่ป้าน้าอา และบรรดาญาติๆทั้งหลาย จึงทำให้เด็กที่เป็นลูกคนเดียวมักชอบเรียกร้อง และทนต่อเสียงวิจารณ์ได้น้อยและค่อนข้างอ่อนไหวง่าย แต่ในขณะเดียวกันก็จะเป็นคนที่มีความรับผิดชอบสูง

  • บางครั้งอาจถูกตามใจหรือดูแลปกป้องมากเกินไป
  • มีความมั่นใจในตัวเองสูง
  • กลายเป็นพวกสมบูรณ์แบบอยู่ตลอดเวลา
  • ชอบพึ่งพาตัวเองและเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง
  • เขาจะทำทุกอย่างเพื่อนที่จะบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
  • มีความเป็นผู้นำ
  • มีความรับผิดชอบสูง

อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะเหล่านี้ ก็ล้วนมาจากการพฤติกรรมการเลี้ยงดูของพ่อแม่ สภาพแวดล้อมในครอบครัว และความสัมพันธ์ของพี่น้องที่มีต่อกัน อันส่งผลต่อลักษณะบุคลิกภาพของพวกเขา ซึ่งทฤษฎีที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นการวิเคราะห์ทางจิตวิทยา คุณพ่อคุณแม่ควรคอยสังเกตนิสัยของลูกๆ ด้วย เพื่อที่จะเลี้ยงให้ถูกทาง

ลูกคนกลาง

ทั้งนี้ในบรรดาครอบครัวที่มีพี่น้องหลาย ๆ คน คุณพ่อคุณแม่อาจจะเกิดความวุ่นวายกับการเลี้ยงดูลูก ๆ แต่ละคน ในวัยต่าง ๆ กัน และก็มักเกิดการกระทบกระทั่ง ทะเลาะเบาะแว้งระหว่างพี่น้องด้วยกันเสมอ ๆ พอถามว่าใครผิดก็ไม่ค่อยมีใครยอมรับผิดกันสักเท่าไร จะโทษพี่คนโตไปเสียหมดทุกเรื่องก็ไม่น่าใช่ เพราะบางทีคนเป็นน้องนี่แหละที่อาจจะเป็นเด็กดื้อ คอยสร้างเรื่อง และสร้างปัญหามากกว่าพี่น้องคนอื่น ๆ ในบ้าน

วิจัยเผย! ลูกคนกลาง มีแนวโน้ม สร้างปัญหามากกว่าพี่น้องคนอื่น

จากงานวิจัยล่าสุดของโจเซฟ ดอยล์ (Joseph Doyle) นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือ MIT กล่าวว่าผลการสำรวจในครอบครัวที่มีพี่น้องทั้งในสหรัฐฯ และในยุโรปกว่า 1,000 คน พบว่า…

ลูกคนที่สอง (โดยเฉพาะลูกชาย) ประมาณ 25-40 % มีพฤติกรรมสร้างปัญหาในโรงเรียน และมีแนวโน้มที่จะก่อเรื่องผิดกฎหมายมากกว่าพี่น้องร่วมท้องคนอื่น ๆ

โดยเหตุผลนั้นพบว่า…ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ในช่วงวัยเด็ก พ่อแม่มักจะทุ่มทุนในการเลี้ยงลูกคนแรกมากกว่า เมื่อมีลูกคนที่สองก็จะไม่ค่อยสนใจดูแลลูกมากเท่าไรนัก ซึ่งอาจทำให้ลูกคนที่สองรู้สึกน้อยใจว่าพ่อแม่รักลูกไม่เท่ากัน จนเกิดเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวที่ส่งผลมาถึงตอนโต

อีกทั้งเด็กอาจเรียนรู้และซึมซับพฤติกรรมอื่น ๆ จากแบบอย่างที่เป็นคนใกล้ตัว เช่น พี่คนโตที่อายุต่างกันไม่มาก ซึ่งต่างจากลูกคนโตที่จะได้รับแบบอย่างที่ดีมาจากพ่อแม่

นักวิจัยกล่าวว่าปัญหานี้เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสนใจและไม่ควรละเลย ซึ่งจริงอยู่ที่บางครอบครัวอาจไม่เคยประสบกับเหตุการณ์แบบนี้เพราะมีลูกแค่เพียงคนเดียว และในบางครอบครัวลูกคนที่สองก็ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นคนไม่ดี หรือต้องเป็นคนสร้างปัญหาเสมอไป เพราะข้อมูลนี้เป็นเพียงผลสำรวจจากคนส่วนใหญ่เท่านั้น

“ลูกคนโต” จะฉลาดกว่าน้องๆ ท้องเดียวกัน

โดยมีจากผลการศึกษาจากประเทศนอร์เวย์ ที่พบว่า ลูกคนแรกมักมีสติปัญญาดีกว่าลูกคนอื่นๆ มาจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างพี่น้องทั้งหมด 250,000 คน ที่ลูกคนแรกจะมี IQ สูงกว่าน้องคนรองอยู่ประมาณ 3 จุดโดยเฉลี่ย ลูกคนรองจะมี IQ สูงกว่าคนถัดไป 1 จุด และหลังจากนั้นก็ไม่พบความแตกต่างระหว่างพี่น้องคนถัดๆ ไป

โดยมีเหตุผลที่ชี้แจ้งเรื่องนี้เพิ่มเติมว่า ลูกคนแรกจะมีเวลาอยู่กับพ่อแม่ในช่วงอายุ 4-13 ปี มากกว่าลูกคนรองถึง 3,000 ชั่วโมง นั่นหมายความว่าพ่อแม่จะมีเวลาเอาใจใส่ลูกคนโตมากกว่า และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ลูกคนโตฉลาด อีกทั้งยังรู้จักความรับผิดชอบ เพราะจะมีความรู้สึกถูกคาดหวังจากพ่อแม่ว่าเขาจะต้องประสบความสำเร็จ

อีกหนึ่งผลงานวิจัยจาก University of Illinois ที่ระบุว่า เด็กที่เป็นลูกคนโตจะมีแนวโน้มเป็นคนชอบเข้าสังคม กล้าแสดงออก เข้ากับคนง่าย และยุติธรรมมากกว่า รวมถึงมีรายได้เฉลี่ยและการศึกษาสูงกว่าด้วย

อ่านต่อ >> “4 กลยุทธ์ป้องดราม่าระหว่างพี่น้อง
และ 5
วิธีสงบศึกเมื่อพี่น้องทะเลาะกัน” คลิกหน้า 3


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.moshmace.com , baby.kapook.com

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up