เจ็บข้างในปากจังเลยแม่

Alternative Textaccount_circle
event

แผลร้อนใน (Aphthous) เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น

 
– ภาวะถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งมักพบว่ามีคนในครอบครัวเป็นด้วย

 
– ภาวะขาดวิตามินและแร่ธาตุบางอย่าง เช่น วิตามินบี 1, 2, 6 และ 12 วิตามินซี สังกะสี เหล็ก โฟลิก ซีลีเนียม และแคลเซียม ซึ่งแก้ไขได้โดยการให้สารที่ขาด

 
– การดื่มน้ำน้อย หรือใช้ยาสีฟันที่มีสาร SLS (Sodium Lauryl Sulfate -โซเดียม ลอริล ซัลเฟต)ซึ่งทำให้เยื่อบุในปากแห้ง อ่อนแอ และเป็นแผลง่าย

 
– การกินของทอดของกรอบ ซึ่งทำให้เยื่อบุในปากเป็นแผลเพราะความแข็งของอาหารที่เคี้ยว

 
– การกัดหรือแปรงฟันกระแทก และภาวะเครียดหรือพักผ่อนน้อย ซึ่งต้องแก้ไขที่สาเหตุ

 
– การแพ้อาหารบางอย่าง เช่น แป้งสาลี ข้าวโอ๊ต ผลไม้รสเปรี้ยว (ส้ม มะนาว สับปะรด แอŠปเปิ้ลมะเขือเทศ สตรอวŒเบอรŒรี่) นม ช็อกโกแลตถั่ว น้ำส้มสายชู สารกันบูด และสารแต่งกลิ่น เป็นต้น ซึ่งป้องกันได้โดยการงดกินอาหารที่สงสัย

 
– การติดเชื้อไวรัส ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์ทำให้มีไข้ เหงือกบวม (โรคเริม) มีผื่นเป็นจุดแดง หรือมีตุ่มน้ำใสตามผิวหนังที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า (โรคมือ – เท้า -ปาก) เด็กๆ ได้รับเชื้อโดยการสัมผัสน้ำลายผ่านทางมือ ของเล่น และการไอ – จามรดกัน ซึ่งป้องกันได้โดยการล้างมือให้สะอาดหลังจากเล่นและก่อนกินอาหารหรือเอามือเข้าปาก

 
ในกรณีที่มีแผลเกิดขึ้นแล้ว โดยทั่วไปจะหายได้เองภายใน 1 – 2 สัปดาห์ แต่ในช่วงที่เป็นแผลจะรู้สึกเจ็บและทำให้กินได้น้อย คุณแม่ควรให้ลูกกินอาหารอ่อนๆ ไม่ร้อนและไม่มีรสเปรี้ยว การดื่มน้ำแครอทและน้ำแคนตาลูปอาจช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

 
หากเกิดจากไวรัสเริม การใช้ยาต้านไวรัสตั้งแต่ระยะแรกจะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น การใช้ยาชาทาที่แผลจะช่วยให้เจ็บน้อยลงและพอจะกินอาหารได้บ้าง การทายาสเตียรอยด์วันละ 2 – 4 ครั้ง จะช่วยลดการอักเสบและทำให้แผลหายเร็วขึ้น รวมทั้งการให้วิตามินรวม การบ้วนปากด้วยน้ำยา Kamillosan และการกิน echinacea (สมุนไพรชนิดหนึ่งซึ่งมีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป) อาจช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น คุณแม่ลองนำไปใช้ดูนะคะ

 

 

บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจกุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up