ให้ลูกดูมือถือ

ให้ลูกดูมือถือ แท็บเล็ต โทรทัศน์ ตอนกินข้าวช่วยให้กินง่ายจริงหรือ?

Alternative Textaccount_circle
event
ให้ลูกดูมือถือ
ให้ลูกดูมือถือ

(ต่อ) วิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ ติดโทรทัศน์ ระหว่างกินข้าว

2. ทำใจให้พร้อมรับศึกหนัก

วิธีฝึกไม่ให้ลูกติดเล่นสมาร์ทโฟนและโทรทัศน์ระหว่างกินข้าวจริงๆ แล้วก็ง่ายมากค่ะ … แค่คุณพ่อคุณแม่ไม่เปิดให้ดู ไม่เอามาให้เห็นแค่นั้น แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ ในช่วงแรกที่คุณพ่อคุณแม่เอาจริง คือลูกจะร้องไห้งอแงและอาจถึงขั้นอาละวาดอย่างหนัก “หากพ่อแม่ยอมแพ้และยอมตามใจเพื่อให้เขาสงบ ครั้งหน้าหากถูกขัดใจเขาก็จะเรียนรู้ว่าหากร้องไห้อาละวาดในที่สุดพ่อแม่ก็จะยอมตามใจเขาอีก การฝึกฝนก็จะล้มเหลวครับ”

3. ไม่ยอมกิน ก็ไม่ให้กิน

เมื่อลูกร้องไห้งอแงเพราะถูกขัดใจ สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือลูกจะไม่ยอมกินข้าว คุณหมอแนะนำให้คุณแม่ทำใจให้สบายแล้วคิดง่ายๆ ว่าลูกไม่กินเพราะไม่หิว แล้วบอกให้ลูกรู้ว่าหากเขาไม่หิวและไม่กินมื้อนี้ก็ไม่เป็นอะไร แต่เราจะกินอาหารอีกทีในมื้อหน้า ซึ่งในระหว่างนี้หากลูกหิวก็ต้องรอจนกว่าจะถึงเวลาอาหารค่ะ คุณหมอรับประกันว่าไม่เป็นอันตรายต่อเด็กและไม่ทำให้เด็กขาดสารอาหารแน่นอน

4. อธิบายเหตุผลเมื่อลูกสงบ

หากไม่ให้ลูกดูมือถือ หรือ ดูโทรทัสน์ เมื่อลูกร้องไห้โวยวาย คุณพ่อคุณแม่ควรเพิกเฉยเสียจนเขาเงียบและสงบลง ค่อยอธิบายกับเขาว่า “ต่อไปแม่จะไม่ให้หนูใช้โทรศัพท์ระหว่างกินข้าวอีกแล้ว ต่อให้หนูร้อง หนูก็จะไม่ได้” คุณหมอฝากกำชับไม่ให้คุณแม่ทะเลาะกับลูกนะคะ

เพราะเมื่อไรก็ตามที่คุณพ่อคุณแม่ทะเลาะกับลูก จะไม่สามารถควบคุมลูกได้อย่างที่ต้องการ ต้องใช้ความนิ่งสยบความเคลื่อนไหวได้จึงจะได้ผลที่สุดค่ะ

ให้ลูกดูมือถือ กินข้าว ลูกติดแท็บเล็ต5. ทำประจำสม่ำเสมอ

“ทุกอย่างอยู่ที่ใจพ่อแม่ กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งคาดหวังว่าฝึกลูกน้อยวันเดียวแล้วเขาจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เลย การฝึกฝนและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกทุกอย่างต้องใช้เวลา และอาศัยความสม่ำเสมอของพ่อแม่ ต้องหมั่นสอนหมั่นฝึกซ้ำๆ ลูกถึงจะทำได้ครับ”

จากคำแนะนำเรื่องผลเสียของการให้ลูกดูมือถือ โทรทัศน์ ขณะกินข้าว ซึ่งเกิดผลเสียตามมาอย่างไรบ้างนั้น หากบ้านไหนกำลังทำอยู่ก็ควรหยุด รีบแก้ไข ซึ่งถ้าลูกติดจอไปแล้ว ก็สามารถลองนำวิธีแก้ปัญหาลูกติดมือถือ ติดโทรทัศน์ ระหว่างกินข้าว ที่คุณหมอพงษ์ศักดิ์ ได้แนะนำไว้ข้างต้นไปใช้กันดูได้นะคะ ทีมแม่ ABK ขอเป็นกำลังใจให้

ขอบคุณข้อมูลจาก นพ. พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

 

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up