รับมือนักโยนมือหนึ่ง

Alternative Textaccount_circle
event

เขากำลังค้นพบความโน้มถ่วงของโลก เหมือนที่เซอร์ไอแซก นิวตันได้ค้นพบเมื่อ 300 กว่าปีโน่น ส่วนหนึ่งที่เจ้าหนูชอบใจเรื่องนี้มากๆ ก็เพราะทุกครั้งที่ทิ้งและขว้าง เท่ากับเขาได้ค้นพบเรื่องนี้อยู่ร่ำไป สนุก สนุก และสนุกนั่นเอง

 
• เข้าใจพฤติกรรม การขว้างปาหรือโยนของลงพื้นของเด็กวัยเตาะแตะนี้ไม่ได้เกิดจากนิสัยไม่ดีหรือเป็นการแสดงความก้าวร้าวแต่อย่างใด บางทีก็เพียงแค่ต้องการสื่อสารเท่านั้นเอง เช่น เขาปาถ้วยน้ำดื่มลงพื้นก็อาจจะหมายความว่าเขายังอยากกินน้ำอีก

 
ครั้งต่อไปลองดูว่าของที่เขาขว้างหรือโยนลงพื้นนั้นเป็นอะไร คุณอาจจะเข้าใจหรือเดาความต้องการของลูกดีขึ้น ลองถามและบอกคำที่ถูกกับลูกก็ได้ เช่น “ขออีกจ้ะ”

 
• จำกัดขอบเขตการโยน บอกลูกว่าอะไรที่โยนได้และอะไรที่โยนไม่ได้ เช่น ลูกบอลไม่เป็นไร แต่โยนอาหารไม่ดีนะลูก หรือที่ไหนควรโยนและที่ไหนไม่ควรโยน เช่นโยนที่สนามหน้าบ้านก็ได้ แต่โยนทิ้งจากเก้าอี้กินข้าวไม่ทำนะ

 
เวลาบอกลูกวัยนี้ ใช้คำสั้นๆ เข้าใจง่ายๆพูดด้วยน้ำเสียงธรรมดา เช่น ไม่โยน ไม่ขว้าง พร้อมกับส่ายหน้าและสีหน้าเอาจริงทั้งคำพูดและท่าทาง จะทำให้ลูกเข้าใจได้

 
ถ้าลูกยังยืนยันจะโยนแน่ “ถ้าลูกจะขว้างอาหาร แม่จะพาลูกลงจากเก้าอี้กินข้าว ลูกจะไม่ได้กินข้าว” แล้วก็พาเขาลงมาตามที่บอก ทำอย่างนี้ทุกครั้งที่เขาขว้างอาหาร ลูกจะได้เรียนรู้ว่า คุณไม่ต้องการให้เขาทำอะไร

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up