ลูกร้องไห้เอาแต่ใจ

กฎ 3 ข้อรับมือลูกเล็กร้องไห้เอาแต่ใจให้ได้ผล!

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกร้องไห้เอาแต่ใจ
ลูกร้องไห้เอาแต่ใจ

ลูกร้องไห้เอาแต่ใจ เป็นสถานการณ์ที่พ่อแม่ที่มีลูกวัยเริ่มพูดต้องเผชิญแทบทุกวัน ทำไมเด็กๆ ถึงชอบร้องไห้คร่ำครวญเสมอ? ก็เพราะการร้องไห้งอแงเป็นวิธีที่ได้ผลที่สุด (สำหรับคุณอาจจะน่ากวนใจที่สุด) ที่จะเรียกร้องความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่น่ะสิ!

ไขเหตุผล ลูกร้องไห้เอาแต่ใจ

“ความจริงแล้วเจ้าหนูน้อยไม่ได้ตั้งใจจะกวนคุณหรอกค่ะ เด็กจะเริ่มร้องคร่ำครวญเมื่ออายุประมาณ 2 ขวบ คือเมื่อเขาเริ่มพูดได้ แต่ก็ยังใช้วิธีร้องไห้เพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ” ดร.แคโรลีน โครวเดอร์ หนึ่งในผู้แต่ง “Whining: 3 Steps to Stopping It Before the Tears and Tantrums Start” กล่าว

และนี่คือวิธีที่จะทำให้ลูกบอกสิ่งที่เขาต้องการได้โดยไม่งอแง วีน เหวี่ยง

1. ควบคุมวิธีพูดของคุณเอง เมื่อลูกเริ่มคร่ำครวญ

การสอนลูกว่าสิ่งที่เขาไม่ควรทำไม่ได้อยู่ที่พูดว่าอะไร แต่อยู่ที่วิธีการพูดของพ่อแม่ และอย่าร้องตามแบบลูก เพราะเมื่อเขาเห็นคุณทำ เขาจะคิดว่านั่นเป็นสิ่งที่ตัวเองก็ทำได้เช่นกัน

2. ไม่ตอบรับ

ตกลงกับลูกให้แน่ชัดว่า เมื่อลูกร้องไห้เอาแต่ใจ งอแงร้องขออะไรสักอย่าง (ไม่ยอมพูดดีๆ ให้ชัดเจน) คุณจะปฏิเสธสิ่งนั้นทันทีหรือไม่ก็แกล้งทำเป็นไม่ได้ยินซะเลย

3. หนักแน่น

เมื่อคุณบอกว่าจะไม่สนใจเมื่อเขาร้องคร่ำครวญ ก็ต้องทำอย่างนั้นจริงๆ เพราะเด็กวัยนี้เรียนรู้จากการกระทำมากกว่าคำพูด เมื่อลูกพูดด้วยน้ำเสียงปกติ คุณถึงค่อยรับฟังลูก

อ่านต่อ >> “วิธีรับมือแบบวิน-วิน เมื่อลูกหัวฟัดหัวเหวี่ยง” คลิกหน้า 2 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up