สารพัด “ท่า” ภาษาสื่อสาร

Alternative Textaccount_circle
event

คุณจะรู้แล้วละว่าเขากำลังต้องการอะไร นั่นไม่ใช่แค่วิธีบอกความต้องการเท่านั้นนะ แต่ยังเป็นพัฒนาการสำคัญอีกอย่างของวัยนี้คือพยายามจะสื่อสารให้สมบูรณ์ด้วย

 
เด็กวัยนี้จะเข้าใจหรือรู้ความหมายของคำได้มากกว่าจำนวนคำที่แกพูดได้ ดังนั้น การใช้ท่าทางต่างๆ เข้ามาช่วย การสื่อสารก็ดีขึ้น อย่างที่เห็น เขายกแขนขึ้น พร้อมกับพูดสั้นๆ ขึ้น ขึ้น เพื่อบอกให้พ่อแม่รู้ชัดๆ ว่าเขาอยากให้อุ้มนะŽ ดร.จานา ไอเวอร์สัน อาจารย์ด้านจิตวิทยา จากมหาวิทยาลัยพิตตŒสเบิร์ก กล่าว ที่จริงแล้ว การสื่อสารของช่วงวัยนี้ต่อเนื่องมาจากวัยทารกนั่นเอง ตอนทารกยังพูดไม่ได้ ก็เริ่มเรียนรู้ว่าเขาสามารถใช้นิ้วมือพูดแทนได้ อยากได้ลูกบอลก็ชี้ไปที่ลูกบอล พ่อแม่จะรู้ อยากได้ลูกบอลหรือลูกŽ และหยิบลูกบอลส่งให้เขา

 
พอถึงวัยที่เริ่มพูดได้แล้ว เขายิ่งรู้ว่า หากใช้ทั้งคำพูดและท่าทางประกอบไปด้วย คนรอบข้างก็เข้าใจดีขึ้น ถามว่า แล้วเด็กๆ ไปเรียนรู้ภาษาท่าทางจากไหนกัน ไม่ใกล้ไม่ไกลหรอก ได้จากการเลียนแบบบ้าง ลองผิดลองถูกเองบ้าง หรือทำไปตามธรรมชาติด้วย (อย่างเช่นรู้ว่าเมื่อยกแขนขึ้น พ่อแม่จะอุ้มเขา)

 
คุณเองก็ช่วยพัฒนาทักษะทางภาษาของลูกได้ โดยการต่อประโยคที่ลูกพยายามพูดให้จบ (แต่ควรระวัง ไม่แย่งพูดไปทั้งหมด) เมื่อลูกพูดเป็นประโยคได้ดีขึ้น การใช้ท่าทางช่วยบอกความต้องการจะน้อยลงไปเองโดยปริยาย

 
เป็นห่วง ลูกกินน้อยไม่แน่ใจว่าควรทำอะไรกับเรื่องกินของเจ้าพฤกษ์หรือเปล่า ตอนนี้ เขาอายุ 2 ขวบ จะกินอาหารอยู่ไม่ กี่อย่าง ช่วงไหนชอบอะไรก็กินแต่อาหารนั้นอย่างเดียวและกินไม่มาก ที่บ้านควรทำอะไรให้เขากินมากขึ้นหรือเปล่า เท่าที่คุณแม่บอกมา พฤกษ์ไม่ต่างจากเด็กอื่นในวัยนี้ คือสนใจทุกอย่างบนโต๊ะอาหาร ยกเว้นอาหาร คุณหมอโรเบิร์ต เบเคอร์ หัวหน้าหน่วยgastroenterology (ให้ความรู้เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร) และโภชนาการของโรงพยาบาลสำหรับผู้หญิงและเด็กในเมืองบัฟฟาโล รัฐนิวยอร์ก อธิบายว่า เรื่องนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตดูการเติบโตของเขา ถ้ายังเป็นไปตามวัย (เทียบกับตารางการเติบโตแล้ว) แสดงว่าลูกได้สารอาหารเพียงพอแล้ว

 
เหตุหนึ่งที่ลูกวัยนี้กินอาหารไม่มาก เท่าช่วงขวบแรก เพราะช่วงนั้นการเติบโตรวดเร็ว น้ำหนักจะเพิ่มมากขึ้นถึงสามเท่าของน้ำหนักแรกเกิด เขาจึงต้องการพลังงานจากอาหารค่อนข้างมาก ต่อเมื่อผ่านปีแรกแล้ว การเติบโตค่อยๆ ช้าลง เขาจึงกินน้อยลงเท่าที่ร่างกายต้องการ ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องการกินก็เป็นเรื่องสำคัญ การได้รับอาหารเพียงพอเป็นส่วนหนึ่ง แต่อีกอย่างที่ไม่ควรมองข้ามคือ คุณภาพอาหาร และความสุขความสบายใจในขณะกินเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารที่มีคุณภาพ ถึงแม้เขาจะกินในปริมาณน้อยก็ตาม

 
เย็นนี้ลองชวนลูกมาทำเมนูพิเศษกัน ความสนุกเวลาได้ช่วยขณะคุณแม่ปรุงอาหาร จะช่วยคุณลดความกังวลลงได้ และลูกอาจเพลินกับการกินไปด้วย

 

 

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up