ลูกนอนคว่ำ

ลูกนอนคว่ำ อย่านิ่งนอนใจ มัจจุราชเงียบพรากชีวิตลูก

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกนอนคว่ำ
ลูกนอนคว่ำ

 

 

โรคไหลตายหรือ SIDS คืออะไร?

โรคไหลตายในทารกหรืออาการหลับไม่ตื่นในทารก มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Sudden Infant Death Syndrome (SIDS) อาจเรียกว่า cot death หรือ crib death ก็ได้ค่ะ โรคดังกล่าวจัดเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตลูกน้อยมากกว่าสามพันคนต่อปี โดยที่คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ทันเตรียมใจกับการสูญเสียครั้งนี้ เนื่องจากโรคไหลตายในเด็กสามารถเกิดขึ้นในทารกที่มีสุขภาพแข็งแรง และอาจเกิดขึ้นขณะพ่อแม่นำลูกเข้านอนและเมื่อตื่นมาพบว่าปลุกลูกไม่ตื่นอีกเลย

เป็นการเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุและสามารถเกิดได้กับทารกทุกคนและทุกช่วงเวลา โดยทั่วไปแล้วจะเกิดกับทารกที่อายุตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 1 ขวบ ช่วงเวลาที่เกิดคือเที่ยงถึงสามโมงเช้าของวันใหม่ โรคไหลตายในทารกจะเกิดในทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือนประมาณร้อยละ 90 โดยทารกจะไม่ปรากฏอาการใดนำมาก่อน เช่น ร้องงอแงหรือเคลื่อนไหวใด ๆ ทั้งสิ้นก่อนเสียชีวิต ในประเทศที่กำลังพัฒนาอัตราการเกิดโรคไหลตายในเด็กจะเพิ่มขึ้น 10 เท่า พบทารกเสียชีวิต 10 คน ในทารกเกิดใหม่ 1000 คน

ลูกนอนคว่ำ

วิธีการป้องกัน

  1. คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกลูกนอนหงายหรือนอนตะแคง เพราะลูกจะสามารถหายใจนำอากาศเข้าปอดได้ดีกว่าท่านอนคว่ำ ซึ่งแต่เดิมเคยเชื่อว่าการนอนคว่ำจะลดอัตราการสำลักน้ำลายขณะหลับ
  2. ควรแยกที่นอนลูกออกจากที่นอนของพ่อแม่ พร้อมทั้งวัสดุรองนอนของลูกนั้นจะต้องแข็งแรงและไม่อ่อนยวบ เมื่อวางตัวลูกลงไป เพราะอาจเป็นสาเหตุของการอุดทางเดินหายระหว่างหลับได้ ที่สำคัญอย่านำตุ๊กตาหรือของเล่นวางไว้บนที่นอนของลูกโดยเด็ดขาด  และผ้าห่มที่เลือกให้ลูกใช้นั้น ควรเป็นผ้าห่มที่สามารถหายใจผ่านได้
  3. อุณหภูมิของห้องนอนลูกไม่ควรอุ่นหรือเย็นเกินไป เนื่องจากอากาศที่ร้อนทำให้ลูกไม่สบายตัว หายใจลำบากมากขึ้น ส่วนอากาศที่เย็นเกินไปอาจทำให้ลูกน้อยป่วยได้ อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับก็คือ 25-26 องศาเซลเซียสค่ะ
  4. หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมของควันไฟโดยเฉพาะควันบุหรี่ เพราะเป็นสาเหตุหลักของการหายใจที่ผิดปกติของลูก และอาจก่อให้เกิดภูมิแพ้หรือหลอดลมตีบเฉียบพลันได้
  5. คุณพ่อคุณแม่อาจใช้จุกนมปลอมให้ลูกดูดเพื่อให้ลูกน้อยหลับสบายขึ้น เพราะการดูดจุกนมมีส่วนช่วยให้ลูกหายใจได้สม่ำเสมอ

นอกจากนี้การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ยังมีส่วนช่ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะไหลตายในทารกได้อีกด้วยนะคะ นอกจากนั้นนมแม่ยังอุดมไปด้วยภูมิคุ้มกันจากแม่และเป็นสายใยรักของแม่ส่งผ่านสู่ทารกโดยตรงอีกด้วยค่ะ

ขอบคุณที่มา: อาจารย์ ดร.คณิสส์ เสงี่ยมสุนทร ภาควิชาชีวเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up