ห่อตัวลูก

ห่อตัวลูก อย่างไร? ให้ถูกวิธี อบอุ่น และปลอดภัย

event
ห่อตัวลูก
ห่อตัวลูก

ห่อตัวลูก

คุณแม่สามารถใช้ผ้าห่อตัวได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด – 3 เดือน ในเด็กอายุมากกว่า 1 เดือน อาจใช้ผ้าห่อตัวเพียงตอนกลางคืนอย่างเดียวก็ได้ ให้สังเกตอาการเด็กว่าเริ่มขยับแขนขาแกว่งไปมามากๆ หรือมีอาการอึดอัดร้องไห้โยเยให้คลายผ้าห่อตัวออก ห่อแบบหลวมๆ ซึ่งไม่มีอะไรเป็นกฎเกณฑ์แน่นอนให้ดูที่พฤติกกรมของเด็กแต่ละคนว่ายังต้องการผ้าห่อตัวหรือไม่ แต่ก็ไม่ควรนานเกิน 3 เดือน เพราะปกติเมื่อเด็กเริ่มย่างเข้าช่วงเดือนที่ 2-3 พัฒนาการของลูกในการใช้มือและเท้าเริ่มดีขึ้นมาก สามารถหยิบจับสิ่งของเบา ๆ ได้และออกแรงถีบจนพลิกตัวได้เด็กในช่วงวัยนี้จะเริ่มไม่ยินยอมให้มีอะไรมาพันธนาการแขนขาเหมือนช่วงเดือนแรก จะสังเกตได้จากเวลาที่พันผ้าห่อตัวแล้วเด็กเริ่มดิ้นขัดขืนแสดงอาการไม่ชอบไม่ยอมให้ห่อตัว นั่นก็แปลว่าผ้าห่อตัวไม่จำเป็นสำหรับเขาอีกต่อไปแล้ว

การห่อตัวส่วนใหญ่คุณพ่อคุณแม่จะห่อตัวให้ลูกตอนที่ต้องพาออกนอกบ้านไปพบคุณหมอหรือห่อตัวเฉพาะตอนสระผมแต่ก็ยังมีคุณแม่อีกส่วนหนึ่งที่เห็นประโยชน์ของการห่อตัวโดยเฉพาะกับลูกที่ชอบตื่นมาร้องกวนบ่อย ๆ ในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งการห่อตัวเด็กในช่วงเวลานอนโดยเฉพาะเด็กอ่อนในช่วงเดือนแรกที่ยังอยู่ในช่วงของการปรับตัว การห่อตัวจะช่วยให้เด็กนอนได้นานขึ้น เนื่องด้วยเวลาที่เด็กตื่นมากลางดึกมือเท้าป่ายเปะปะทำให้รู้สึกเหมือนอยู่ในที่โล่ง อีกทั้งมือที่ป่ายเปะปะไปถูกที่ใบหน้าก็มีส่วนกระตุ้นให้เด็กนอนหลับต่อเนื่องได้ยากขึ้นและเด็กก็จะเริ่มร้องไห้กวนคุณแม่

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

ห่อตัวลูก

ห่อตัวลูกน้อยอย่างไรให้ปลอดภัย?

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (The American Academy of Pediatrics) ให้คำแนะนำในการห่อตัวทารกน้อยเพื่อความปลอดภัยในการนอนของทารกในช่วงเวลากลางวันและกลางคืนไว้ดังนี้

  1. ให้ทารกนอนหลับในท่านอนหงาย เฝ้าติดตามดูลูกน้อยเป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าตัวน้อยไม่ผลิกตัวนอนคว่ำหรือนอนตะแคงข้าง ในระหว่างที่ห่อตัวทารกไว้ขณะนอนหลับ
  2. จัดผ้าปูที่นอนหรือวัสดุรองนอนบนเตียงของลูกน้อยให้ตึงอยู่เสมอ เนื่องจากผ้าปูที่นอนหรือวัสดุรองนอนที่หย่อนรวมถึงผ้าห่อตัวทารกที่ห่อไว้หลวมๆ อาจหลุดออกจากเตียงหรือตัวของทารกน้อยและอาจเป็นสาเหตุทำให้อุดปากหรือจมูกขัดขวางทางเดินหายใจและเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตจากการขาดอากาศได้
  3. วัสดุรองนอนของทารกต้องปราศจากแผ่นรองนอนที่นิ่มจนบุ่มลงเป็นแอ่ง ปราศจากของเล่นชนิดต่างๆ หมอนและเครื่องนอนอื่นๆ ควรแยกที่นอนของทารกออกจากที่นอนหลักของพ่อแม่เพื่อลดความสูญเสียทารกจากการนอนทับหรืออุบัติเหตุอันไม่คาดคิด
  4. การห่อตัวอาจทำให้อุณหภูมิร่างกายของทารกสูงกว่าปกติ คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตร่างกายของทารกน้อยอย่างสม่ำเสมอในระหว่างการห่อตัว อาการที่บ่งบอกถึงสภาพของทารกที่ร้อนกว่าปกติ เช่น มีเหงื่อออกตามตัว ผมเปียกชื้น แก้มแดงกว่าปกติ มีผื่นขึ้นจากความร้อน หายใจเร็ว เป็นต้น

อ่านต่อ >> “วิธีการเลือกผ้าห่อตัว และการห่อตัวลูกแต่ละแบบ (มีคลิป)” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up