แผลในปาก

แผลในปาก ลูกน้อย สาเหตุและวิธีการดูแลรักษา

Alternative Textaccount_circle
event
แผลในปาก
แผลในปาก

เมื่อลูกน้อยเกิดมี แผลในปาก ต้องดูแลรักษาอย่างไร?

  • อาการของแผลในปากในเด็กนั้น มักจะมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก คือ เป็นแผลขาวๆ ในปากเหมือนกัน แต่อาจสังเกตได้จากการดูอาการทั่วๆ ไป และดูตำแหน่งของแผล คือ ถ้าอาการทั่วๆ ไปดีมาก จำนวนแผลมีแค่ 1 แผล ไม่มีไข้ และอาจดีขึ้นได้ โดยไม่ต้องไปพบคุณหมอ แต่หากมีแผลหลายแผล รวมทั้งมีไข้ร่วมด้วย หรือลูกมีอาการซึมลง รับประทานอาหารได้น้อย ควรพาไปหาคุณหมอ สำหรับเด็กอ่อน แผลในปากอาจเกิดจากเชื้อรา ควรให้แพทย์ตรวจเพื่อสั่งยาฆ่าเชื้อราให้
  • แผลในปากมักหายได้เองภายใน 3-7 วัน ลิ้นแผนที่จะดีขึ้นเมื่อเด็กหายป่วย การป้ายยาม่วง (เจนเชียนไวโอเล็ต) อาจช่วยให้อาการทุเลาและทำให้หายเร็วขึ้น
  • แผลในปากส่วนใหญ่มักทำให้เกิดอาการเจ็บ การใช้ยาทาเฉพาะที่ทำได้ไม่สะดวกและช่วยให้อาการทุเลาเพียงชั่วคราวเท่านั้น แนะนำให้ดื่มน้ำและนมเย็น อมน้ำแข็ง หรือกินไอศกรีม ซึ่งจะช่วยให้ช่องปากเกิดอาการชา ทำให้อาการเจ็บลดลง สามารถกินอาหารและดื่มน้ำได้มากขึ้น

 

Good to know… “แผลร้อนในใหญ่ (Major aphthous ulcers) เป็นแผลร้อนในที่พบได้ประมาณ 10-15% ของแผลร้อนในทั้งหมด พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่เลยช่วงวัยรุ่นไปแล้ว แผลจะมีลักษณะแบบเดียวกับแผลร้อนในเล็ก แต่แผลจะมีขนาดใหญ่มากกว่า 1 เซนติเมตรขึ้นไป และมักเป็นแผลลึก ขอบแผลบวม มีอาการเจ็บปวดรุนแรงกว่า นอกจากจะพบในตำแหน่งเดียวกับแผลร้อนในเล็กแล้ว ยังอาจพบแผลได้ที่เพดานแข็งและลิ้น (ด้านบน) ได้ด้วย แผลชนิดนี้มักจะหายได้ช้านานเป็นเดือนๆ (ปกติจะใช้เวลาประมาณ 10-40 วัน) และเมื่อหายแล้วอาจเป็นแผลเป็น (ก่อให้เกิดพังผืดของเนื้อเยื่อที่เกิดแผล) และมักกำเริบเกิดซ้ำได้บ่อยมาก ในบางครั้งอาจพบได้ในผู้ป่วยเอดส์ ถ้าหลังจากดูแลตนเองแล้วแผลร้อนในไม่ดีขึ้นภายใน 2 อาทิตย์ ควรรีบไปพบแพทย์เสมอ เพื่อแยกจากแผลอักเสบติดเชื้อหรือแผลมะเร็ง โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป2

 

อ่านต่อ >> “3 วิธีป้องกันแผลในปากให้ลูกน้อย” หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up