วิธีเลือกนิทานให้ลูก

Alternative Textaccount_circle
event

 

 
คำน้อย : เนื้อเรื่องง่ายๆ จำนวนคำแต่ละหน้าไม่มาก ยังไม่เป็นเรื่องมากนักก็ได้ เป็นหนังสือที่มีรูปจะดีที่สุดสำหรับวัยนี้ แต่ถ้าจะซื้อเผื่อลูกโต พอเกือบครบขวบ ลูกจะฟังเรื่องสั้นๆ ที่ไม่ซับซ้อนได้แล้ว

 
มีภาพที่คนเล่าจินตนาการเพิ่มได้ : ภาพวาดสีสดใส ไม่ระเกะระกะดูวุ่นวาย เนื้อเรื่องเรียบๆ ไม่ตื่นเต้นมาก ในรูปนั้นจะมีรูปกล่อง ห้องว่าง คือมีพื้นที่ว่างให้คนเล่า หรือลูกได้ตีความ เติมจินตนาการเพิ่มความสนุกในตอนเล่าก็ได้

 
มีลูกเล่นมากกว่าเพียงแผ่นกระดาษธรรมดา : วัยทารกยังต้องการสิ่งดึงดูด แม้จะเป็นเรื่องเก่าแต่ขอให้มีออพชั่นเสริมเช่น ส่วนที่เปิดปิดภาพ หรือช่องว่างเล็กให้นิ้วน้อยของลูกลอดผ่านได้ หรือตัวละครในเรื่องมีผิวสัมผัสต่างๆ ให้จับต้องได้ หรือเป็นหนังสือมีเสียงก็ดี แต่สำคัญต้องดูราคาและความเหมาะสมด้วยนะพ่อ

 
มีจังหวะ : คนละอย่างกับหนังสือที่มีเสียงดนตรีนะ อันนี้หมายถึง ในเนื้อเรื่องมีคำ หรือเสียงซ้ำกันเป็นจังหวะ (จะคล้องจองหรือไม่ก็ได้) ไปตลอดทั้งเรื่อง เช่น เป็นเรื่องเสียงสัตว์ แต่ละหน้าก็มีเสียงร้องของสัตว์นั้นซ้ำๆ กันไปตลอดทั้งเรื่อง เพราะวัยทารกเขาชอบเสียงซ้ำ หรือการทวนคำ พออ่านไปเรื่อยๆ ลูกจะเริ่มเดาได้ว่าต่อไปเป็นอย่างไร

 
ขนาดกะทัดรัดพกพาสะดวก : หนังสือเล่มเล็ก ก็เหมาะกับขนาดมือของลูกจะจับถือ และเผื่อพกพาไปข้างนอกด้วย หรือเผื่อขาดพังเพราะน้ำมือเจ้าตัวเล็กก็ยังไม่เสียดายมากนัก

 
เลือกเรื่องที่ได้ประโยชน์สองต่อ : เรื่องเก่า คลาสสิกที่พ่อจำได้ก็ดีนะ เวลาเล่าให้ลูกฟังจะได้ราบรื่น เพิ่มสีสันได้ง่ายเพราะเรารู้เรื่องอยู่แล้ว และพอลูกเริ่มเรียนรู้การอ่านก็เอากลับมาใช้ได้อีก ซื้อเก็บไว้ไม่เสียหลาย ส่วนเรื่องใหม่ๆ ก็เอาไว้ใช้พกพาไปข้างนอก หรือไว้สลับอ่านเปลี่ยนบรรยากาศ

 

 

บทความโดย : กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up