ทารกนอนคว่ำ

ทารกนอนคว่ำ เสี่ยงหลับไม่ตื่น ไหลตายไม่รู้ตัว

Alternative Textaccount_circle
event
ทารกนอนคว่ำ
ทารกนอนคว่ำ
โรค SIDS
โรค SIDS พบบ่อยสุดคืออายุ 1 ถึง 4 เดือน

นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า “โรค SIDS (Sudden Infant Death Syndrome หรือ Sudden Unexpected Death in Infancy) นี้พบในเด็กอายุ 1 เดือน ถึง 1 ปี แต่ทีพบบ่อยสุดคืออายุ 1 ถึง 4 เดือน ซึ่งสาส์นจาก Institute of Medicine ของสหรัฐได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดและได้ตีพิมพ์หนังสือ เรื่อง Immunization Safety Review: Vaccinations and Sudden Unexpected Death in Infancy ในปี พ.ศ. 2546 พบว่าในสหรัฐฯ เคยพบโรค SIDS นี้ประมาณ 5,000-6,000 คนต่อปี ปัจจุบันได้แนะนำให้เด็กนอนหงาย ไม่ให้นอนคว่ำ พบว่าอุบัติการณ์ดังกล่าวลดลงเหลือ 2200 คนต่อปี

ทำไมเด็กถึงนอนคว่ำแล้วตาย?

เด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ปีที่นอนคว่ำหน้ามีโอกาสเสียชีวิตอย่างฉับพลันได้มากกว่าเด็กที่นอนตะแคง หรือนอนหงาย นักวิจัยบางท่านสมมติฐานว่าการนอนคว่ำนั้นทำให้เกิดการกดทับบริเวณหน้าอกของเด็ก ทำให้การไหลเวียนของอากาศแคบลง และหายใจลำบากขึ้น เด็กจะหายใจเอาอากาศเก่า คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับเข้าไปใหม่ โดยเฉพาะเด็กทารกที่นอนบนเตียงนิ่มๆ หรือมีเครื่องนอน เช่น ตุ๊กตา หรือหมอนอยู่ใกล้ๆ ใบหน้า ด้วยพื้นที่นุ่มนิ่ม ยวบยาบ ทำให้เกิดแอ่งเล็กๆ บริเวณปากของทารก และกักเก็บอากาศที่หายใจออกมาเอาไว้ เมื่อเด็กหายใจเอาอากาศเดิมเข้าไปใหม่ ระดับก๊าซออกซิเจนที่ทารกควรจะได้รับก็จะต่ำลง และสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ในที่สุดก็ขาดออกซิเจนจนเสียชีวิต

ข้อเสียของการนอนคว่ํา
เด็กทารกอายุน้อยกว่า 1 ปีที่นอนคว่ำหน้ามีโอกาสเสียชีวิตอย่างฉับพลันได้มากกว่าเด็กที่นอนตะแคง

นอกจากนี้ อาจมีกรณี สำหรับเด็กทารกบางคนมีความผิดปกติในเซลล์สมองที่ช่วยในการควบคุมการหายใจและการตื่นนอน เนื่องจากโดยปกติ หากเด็กทารกหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปไม่เพียงพอ สมองจะปลุกให้เด็กตื่นและร้องไห้ แต่ในกรณีเด็กที่มีปัญหาในเซลล์สมองอาจจะไม่สามารถทำแบบนั้นได้ หรือเกิดเป็นโรค SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) นั่นเอง

อ่านต่อ >> “การนอนที่ปลอดภัย” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up