อาหารเสริมทารก

อาหารเสริมทารก เริ่มอย่างไร ให้ลูกกินเก่งแถมกินง่าย!

Alternative Textaccount_circle
event
อาหารเสริมทารก
อาหารเสริมทารก

4 ข้อควรทำ เริ่มถูก จุดเริ่มต้นนิสัย “กินดี”

1. เนื้ออาหารเสริมค่อนข้างละเอียด ด้วยวิธีบด แต่ไม่ปั่น

แม้จะเป็นทารกแต่ลูกน้อยก็มีความพร้อมกินอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวที่เนื้ออาหารค่อนข้างละเอียด ด้วยวิธีการบด เพื่อให้กลืนได้ง่าย และลูกจะได้ฝึกทักษะการเคี้ยวและการกลืน ไม่ควรใช้วิธีปั่นอาหารเสริมทารก เพราะอาหารจะละเอียดเกินไป ลูกไม่ได้ฝึกการเคี้ยว การกลืน จะส่งผลให้เมื่อโตขึ้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ลูกกินอาหารยากขึ้น

2. คอยปรับเนื้ออาหารให้เหมาะสม

พ่อแม่ต้องหมั่นสังเกตว่าลูกสามารถเคี้ยวและกลืนได้ดีขึ้นหรือยัง และค่อยๆ ปรับเนื้ออาหารหยาบขึ้น เป็นชิ้นเล็กๆ เนื้ออาหารที่เหมาะสมจะช่วยให้ลูกคุ้นเคยกับอาหาร ได้สัมผัสรสอาหารมากขึ้น รู้สึกว่าอาหารนี้กินแล้วอร่อย กินแล้วสนุก และมีทัศนคติที่ดีกับอาหาร ส่วนเด็กที่กินแต่อาหารเนื้อละเอียดมาก ทำให้เขาไม่ได้รับสัมผัสและรสชาติของอาหาร เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กินยากเมื่อโตขึ้น

3. ค่อยๆ เพิ่มจำนวนมื้ออาหารเสริม

ตามช่วงวัย เช่น

  • อายุ 6-8 เดือน กินอาหารตามวัย 1 มื้อควบคู่กับนมแม่
  • อายุ 8- 9 เดือน เพิ่มอาหารตามวัยเป็น 2 มื้อ ควบคู่นมแม่
  • อายุ 10-12 เดือน เพิ่มอาหารเป็น 3 มื้อควบคู่นมแม่ โดยจัดเวลากินอาหารห่างจากมื้อนม 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ลูกท้องว่างและกินอาหารได้ดีขึ้น ส่วนปริมาณอาหารให้ค่อยๆ เพิ่มตามที่ลูกน้อยจะรับได้

4. จำกัดเวลาการป้อน

ควรอยู่ที่ประมาณ 15-20 นาที แต่ไม่ควรเกิน 30 นาที และเมื่ออายุได้ราว 9 เดือนลูกน้อยจะเริ่มใช้นิ้วหยิบอาหารได้ ควรเปิดโอกาสให้ลูกหยิบอาหารกินเอง หรือมีช้อนส้อมให้ลูกถือ เป็นการเริ่มฝึกกินด้วยตัวเองค่ะ

การเริ่มอาหารเสริมที่ถูกต้องเหมาะสมกับช่วงวัย จะช่วยส่งเสริมให้ลูกเติบโตขึ้นอย่างมีพัฒนาการที่สมบูรณ์แข็งแรง ดังนั้นก่อนเริ่มอาหารเสริมให้ลูก คุณแม่อย่าลืมศึกษาหาข้อมูลอาหารสำหรับเด็กเตรียมกันไว้ด้วยนะคะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย 

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

ลูกไม่กินผัก วิธีสอนลูกกินผัก ช่วยให้สุขภาพแข็งแรง
ลูกเตาะแตะกินน้อย แก้อย่างไรดี?
มื้อแรกของลูกอาหารเสริมตามวัย เริ่มอย่างไรจึงจะดี?


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
รศ.ดร. ประไพศรี ศิริจักรวาล จากสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
และกองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids
เมนูเด็กจาก หนังสือคู่มืออาหารตามวัยสำหรับทารกและเด็กเล็ก

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up