เบบี๋น้ำลายไหลย้อย ผิดปกติหรือไม่?

Alternative Textaccount_circle
event

เรามีวิธีการนวดปาก เพื่อเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อรอบปากและประสิทธิภาพในการเคี้ยวมาให้คุณพ่อคุณแม่ลองทำตามกันนะคะ

12037945_758110317655307_367373744914875790_n

ท่าแรก : ใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้ง วางที่จุดกึ่งกลาง เหนือริมฝีปากบน จากนั้นออกแรงกดเล็กน้อย พร้อมกับวาดนิ้วทั้งสองออกทางด้านข้าง ทำซ้ำ 10 ครั้ง และทำเช่นเดียวกับ บริเวณด้านล้างของริมฝีปากล่าง ทำซ้ำ 10 ครั้ง

946479_758110314321974_7826923836623357020_n

ท่าที่สอง : ใช้นิ้วโป้ง วางบริเวณด้านข้างของริมฝีปาก จากนั้นออกแรงกดเล็กน้อย พร้อมปัดออกทางด้านข้างออกไปบริเวณแก้ม ทำรอบริมฝีปาก ทั้งด้านข้างและด้านล่าง ทำซ้ำ 10 ครั้ง

1918910_758110320988640_1005922895540082190_n

ท่าที่สาม : คว่ำมือใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางวางบนแก้มด้านขวา นิ้วโป้งวางบนแก้มด้านซ้ายของน้อง จากนั้นออกแรงกดเล็กน้อย พร้อมทั้ง หมุนเป็นวงกลมวนด้านซ้าย และด้านขวา ทำซ้ำ 10 ครั้ง

*สามารถทำได้ทุกวัน ก่อนมื้ออาหาร

โดยการนวดต่อเนื่อง 5-10 นาที

พร้อมทั้งพูดเตือนให้น้องหัด “กลืนน้ำลาย” ไปด้วยนะคะ

อย่างไรก็ตามคุณแม่คุณพ่อ ต้องคอยหมั่นสังเกตลูกน้อยด้วย เพราะเด็กที่มีน้ำลายไหลอยู่นานเกินวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังอายุ 2 ปีขึ้นไป หากยังไม่สามารถกลืนน้ำลายได้ทำให้มีน้ำลายไหลออกมาเยอะ ถือเป็นความผิดปกติค่อนข้างรุนแรงและมักมีอาการป่วยอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น โรคสมองพิการ โรคพิษสุนัขบ้า โรคสมองอักเสบ แต่มักพบได้น้อยมากคุณแม่ไม่ต้องตื่นตกใจนะคะ เพราะโรคนี้จะต้องมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย

ดังนั้นการสังเกตอาการของลูกจึงเป็นเรื่องสำคัญ หากไม่มั่นใจหรือคิดว่าผิดปกติแนะนำให้รีบปรึกษากุมารแพทย์ หรือหมอเด็ก เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดค่ะ


บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจกุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : @ครูแนน นักกิจกรรมบำบัด

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up