อันตรายช่วงปิดเทอม

7 วิธีรับมือ! “ภัยช่วงปิดเทอม” ที่พ่อแม่ต้องรู้!!

event
อันตรายช่วงปิดเทอม
อันตรายช่วงปิดเทอม

อันตรายช่วงปิดเทอม เป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องคอยระวัง เพราะการปิดเทอมเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่เด็ก ๆ หลายคนรอคอยเพื่อที่จะวิ่งเล่นกับเพื่อน ๆ โดยไม่มีเวลาจำกัดเหมือนตอนเรียน แต่บ่อยครั้งก็กลับกลายเป็นฝันร้ายของพ่อแม่ที่ต้องสูญเสียลูกจากภัยอันตรายที่เกิดขึ้นรอบ ๆ บ้านและในชุมชน ดังที่เป็นข่าวน่าสลดใจให้เราเห็นกันอยู่เสมอในช่วงปิดเทอม

ในช่วงปิดเทอม ลูกๆ จะได้มีเวลาว่าง มีความเป็นอิสระ ถึงแม้จะช่วยทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายในช่วงปิดเทอม หลังจากที่ตรากตรำเล่าเรียนกันมาอย่างหนักหนาสาหัส แต่เมื่อมีเวลาที่เป็นอิสระมากไปหรือเกินขอบเขตอาจจะใช้เวลาในทางที่ไม่ถูกไม่ควร หรือเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตรายได้ง่าย

7 วิธีรับมือ! “ภัยอันตรายช่วงปิดเทอม” ที่พ่อแม่ต้องรู้!!

อันตรายช่วงปิดเทอม

“แม้ว่าบ้านจะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุด แต่หากขาดความเอาใจใส่ดูแลสภาพแวดล้อมที่อยู่ในบ้าน และรอบๆ บ้าน รวมถึงการดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษแล้ว ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายสำหรับเด็กได้”

และต่อไปนี้เป็นการระบุของทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย และก็มีการเตือนให้ป้องกันภัยที่อาจเกิดกับเด็ก ภัยที่สุ่มเสี่ยงจะเกิดกับเด็กไทยในช่วงปิดเทอม

ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้มีการแนะนำวิธีการป้องกันอุบัติเหตุ-อุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก ภายในบ้าน และรอบๆ บ้าน ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ดังนี้คือ..

ประตู-หน้าต่าง

ควรติดตั้งเหล็กกั้นหรือที่ยึดเพื่อป้องกันการถูกหนีบ ควรมีที่ครอบลูกบิดประตูเพื่อป้องกันเด็กกดลูกบิดเล่นจนทำให้ประตูปิดล็อก ออกมาได้, ระเบียงบ้าน ควรติดตั้งที่กั้นแบบปิดทึบและแน่นหนา  ซี่ลูกกรงไม่ควรถี่เกินไปเพราะอาจทำให้ศีรษะ แขน ขา ของเด็กเข้าไปติด และไม่ห่างเกินไปจนเด็กพลัดตกลงไป

บันได

ควรติดตั้งที่กั้นบริเวณราวบันได ช่องระหว่างราวบันไดไม่ควรห่างเกินไปจนเด็กพลัดตกได้ ไม่ควรวางของตามขั้นบันไดเพราะเด็กอาจเหยียบจนลื่นล้มตกบันได

ปลั๊กไฟ

ควรมีที่ครอบและติดตั้งบนที่สูงเพื่อป้องกันเด็กเอานิ้วหรือวัตถุอื่นแหย่ เล่นจนถูกไฟดูด, พัดลม ควรเลือกใช้แบบที่มีขาตั้งสูงและมีฝาครอบที่ปิดล็อกแน่นหนา เพื่อป้องกันเด็กเอามือแหย่ใบพัดจนโดนใบพัดบาด และเมื่อเลิกใช้งานแล้วควรถอดปลั๊กออกทุกครั้ง

อันตรายช่วงปิดเทอม

ห้องครัว ของมีคม

เช่น มีด ส้อม ควรเก็บให้มิดชิด กระติกน้ำร้อน-กาต้มน้ำควรวางบนโต๊ะหรือบนชั้นที่มั่นคงแข็งแรงที่เด็ก เอื้อมไม่ถึง และไม่ควรวางบนโต๊ะที่มีผ้าคลุมยาว เพราะเด็กอาจดึงชายผ้าจนน้ำร้อนลวกตัว

จุดวางเครื่องมือ-น้ำยาเคมี

เช่น กรรไกรตัดกิ่งไม้ ตะปู ค้อน อุปกรณ์มีคม น้ำยาทำความสะอาดพื้น ผงซักฟอก ยาฆ่าแมลง สารเคมีต่างๆ หลังใช้งานเสร็จแล้วต้องเก็บในที่มิดชิด ปิดภาชนะให้แน่นหนา รวมถึงยาต่างๆ ก็ต้องเก็บให้มิดชิดพ้นมือเด็ก เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้เด็กอาจนำมาเล่นจนเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

นอกบ้าน-รอบบ้าน

ก็ต้องระวัง ไม่ว่าจะเป็นถนน ลานกว้าง หรือแม้แต่ที่จอดรถในรั้วบ้าน เพราะเด็กอาจเกิดอันตรายจากรถได้ ไม่เว้น แม้แต่จากรถของพ่อแม่เองดังที่เคยมีข่าวน่าสะเทือนใจบ่อยครั้ง นอกจากนี้ แม่น้ำ คลอง สระ บึง บ่อ หรือแม้แต่ถังเก็บน้ำในห้องน้ำ-ในบ้าน ก็ควรระวัง เพราะเด็กอาจพลัดตกลงไปหรือลงไปเล่นน้ำจนจมน้ำเสียชีวิตได้ ซึ่งกรณีจมน้ำนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขก็เคยเตือนเป็นระยะ

อ่านต่อ >> “วิธีรับมือ 7 อันตรายช่วงปิดเทอม ที่พ่อแม่ต้องรู้” คลิกหน้า 2


ขอบคุณข้อมูลจาก : icare.kapook.com

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up