เด็กฟันผุ

ทันตาภิบาลเตือน! พบ เด็กฟันผุ ทะลุโพรงประสาทฟันจนติดเชื้อ

Alternative Textaccount_circle
event
เด็กฟันผุ
เด็กฟันผุ

เด็กฟันผุ เป็นอย่างไร?

ฟันผุ เกิดจากเชื้อโรคที่พบได้ตามปกติในช่องปาก ทำการย่อยสลายอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล เกิดเป็นกรด ซึ่งทำให้เกิดการทำลายโครงสร้างของฟัน หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษาจะลุกลามเพิ่มขึ้น จนทำให้ฟันแตกเป็นรู เป็นช่อง และถ้าลุกลามมากขึ้นอีกจะก่อให้เกิดความเจ็บปวดหรือฟันเป็นหนอง และอาจต้องถอนฟันนั้นในที่สุด

ฟันที่ผุจะลุกลามจากเคลือบฟันไปเนื้อฟัน ซึ่งหากยังไม่ทะลุถึงโพรงประสาทฟัน จะสามารถรักษาได้โดยการกำจัดส่วนที่ผุ แล้วอุดฟันบูรณะส่วนที่ถูกทำลาย แต่หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธี จะมีการลุกลามต่อเนื่องไปถึงโพรงประสาทฟันจนเกิดการอักเสบไปที่รากฟัน ซึ่งต้องรักษาโดยการรักษารากฟันหรือถอนเท่านั้น และหากเกิดการติดเชื้อจนเกิดหนองขึ้น จะต้องระบายหนองออกก่อน

วิธีสังเกตว่าอาการฟันผุของลูกอยู่ในระยะไหน

อาการฟันผุ
ฟันผุ แบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ
  • ฟันผุระยะที่ 1 เป็นระยะที่กรดเริ่มทำลายชั้นเคลือบฟัน (Enamel) เด็กจะไม่มีอาการปวด แต่จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่ชั้นเคลือบฟัน โดยกรดจะเริ่มไปทำลายชั้นเคลือบฟันให้เปลี่ยนจากสีขาวใสมันวาวเป็นสีขุ่นขาวเล็ก ๆ บริเวณผิวเรียบของฟันหรือหลุมร่องฟัน
  • ฟันผุระยะที่ 2 เป็นระยะที่กรดเริ่มกัดกร่อนลึกลงไปถึงชั้นเนื้อฟัน (Dentin) ทำให้เป็นรอยสีเทาดำหรือสีน้ำตาล เห็นรูผุ มีเศษอาหารติดอยู่ และการผุจะลุกลามไปเร็วกว่าในระยะที่ 1 เนื่องจากชั้นเนื้อฟันจะมีความแข็งแรงน้อยกว่าชั้นเคลือบฟัน เด็กจะเริ่มมีอาการเสียวฟันเมื่อรับประทานของหวานจัด ของเย็นจัด หรือร้อนจัด
  • อาการฟันผุระยะที่ 3 เป็นระยะรุนแรงขึ้น มีการทำลายลึกถึงชั้นโพรงประสาทฟัน (Pulp) มีการอักเสบของเนื้อเยื่อภายในโพรงประสาทฟัน ทำให้มีอาการปวด โดยอาจจะปวดตลอดเวลาหรือปวดเป็นพัก ๆ รวมถึงมีเศษอาหารไปติดอยู่ในโพรง ทำให้เกิดกลิ่นปากตามมาได้
  • ฟันผุระยะที่ 4 ถ้าทนเจ็บปวดจากการอักเสบจนผ่านเข้าสู่ระยะนี้ได้ เนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันจะถูกทำลายลุกลามไปที่ปลายรากฟัน เด็กจะมีอาการเจ็บ ๆ หาย ๆ เป็นช่วง ๆ เกิดฝีหนองบริเวณปลายราก มีอาการบวมหรือมีฝีทะลุมาที่เหงือก ฟันโยก และเชื้ออาจลุกลามเข้าสู่กระแสเลือดและระบบน้ำเหลืองของร่างกายได้

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ ไม่อยากเป็น “เด็กฟันผุ” ต้องป้องกันก่อนสายเกินไป

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up