น้ำแข็งก้อน

พ่อโพสต์เตือน! น้ำแข็งก้อน เกือบพรากชีวิตลูกไป

event
น้ำแข็งก้อน
น้ำแข็งก้อน

พ่อเล่าประสบการณ์ปฐมพยาบาล น้ำแข็งก้อนเดียวเกือบพรากชีวิตลูกไป (ต่อ)

ตอนนั้นใจสั่นเลย น้องเหมือนพยามหายใจ ได้ยินเสียงน้องหายใจแบบเฮือกสุดท้าย ผมจับน้องพาดบ่าแล้วทุบไปที่หลังและกระโดดไปด้วยทำอยู่ 3-4 ที ทุกคนในร้านตกตะลึงมาก มีผู้ชายคนนึงมาช่วยยกขาน้องให้ชี้ฟ้าแล้วผมก็ทุบไปอีกครั้งนึง น้ำแข็งก้อน หลุดออกมา ทุกคนบอกหลุดแล้วคนในร้านเฮกันใหญ่ ผมน้ำตาไหลเลย น้องหายใจได้กอดผมแน่น  น้องบอก หนูกลัว

ผมบอกลูกว่า “ลูกพ่อ ลูกไม่เป็นไรแล้วลูกรอดแล้ว”  เจ้าของร้านบอกว่าขนลุกเลย  ผมกอดลูกแน่นเลยคิดในใจตอนนั้นถ้าลูกเป็นไร ผมคงอยู่ไม่ได้ เมียผมนี้ช๊อกตัวแข็งเลย โชคดีที่ผมยังมีสติ  การปฐมพยาบาล นี้มีประโยชน์จริงๆ ขอบคุณบริษัทที่ได้ส่งผมไปอบรมเรื่องนี้ … ผมก็ไม่คิดว่าน้ำแข็งเกือบเอาชีวิตลูกผมไปทั้งที่น้อง 6 ขวบแล้ว  ผมเคยช่วยคนจมน้ำมา ผมว่าผมตื้นเต้นแล้ว แต่เกิดกับลูกของตัวเองผมนี่ตื่นเต้นจนตัวสั่น นอนกอดลูกทั้งคืน สวดมนต์ทั้งคืน นอนไม่หลับเลยคิดถึงเหตุการณ์เมื่อวาน ตอนนี้ยังตกใจไม่หายเลย แต่น้องปลอดภัยแล้ว ตื่นเช้ามาบ่นบอกเจ็บหลังสงสัยจะทุบไปหลายทีไปหน่อย

เหตุการณ์แบบนี้อาจเกิดกับใครก็ได้ ขอให้มีสติ และอยากให้หลักสูตรการปฐมพยาบาลเข้ามาอยู่ในการเรียนการสอน เพราะเหตุการณ์แบบนี้มันเกิดได้กับทุกคนจริงๆ ขอแชร์ประสบการณ์  ไว้เท่านี้ครับ (ตอนนี้ยังใจสั่นอยู่เลย)

น้ำแข็งก้อน
(จากกระทู้พันทิป) พ่อเล่าวินาที! น้ำแข็งก้อนเดียว เกือบพรากชีวิตลูกไป
ขอบคุณคุณพ่อสมาชิกเว็บไซต์พันทิป unimog เจ้าของกระทู้ pantip.com/topic/38305375

วิธีรับมือ เมื่อ อาหารติดคอลูกน้อย

ไม่ว่าจะเป็น อาหารหรือสิ่งแปลกปลอมติดหลอดลม ก็ถือเป็นนึ่งในภาวะที่ต้องช่วยเหลือภายในเวลาที่เร็วที่สุด (หลักวินาที) เพราะโรคอื่นๆ แม้แต่เส้นเลือดหัวใจตีบ หรือเส้นเลือดสมองแตก ก็ยังมีเวลานำส่งโรงพยาบาลเป็นเวลาหลักนาที

ซึ่งวิธีที่ดีที่สุด คือต้องช่วยเหลือด้วยวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนเท่านั้น ไม่มีการพาขึ้นรถไปรอช่วยที่โรงพยาบาลเพราะไปไม่ทันแน่นอน (แต่ควรโทรเรียกรถโรงพยาบาลไว้รอเลยกรณีอุดตันรุนแรงหรือหมดสติ)

ซึ่งเรื่องนี้ ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอกับลูกหลานตัวน้อย ๆ ของเรา หรือรวมทั้งผู้ใหญ่และผู้สูงอายุด้วย สิ่งสำคัญคือทุกคนควรเรียนรู้วิธีป้องกัน แก้ไข เพื่อรับมือ เมื่อมี อาหารติดคอ หรือสิ่งแปลกปลอมติดคอ โดยสามารถทำได้ ดังนี้

>> กันไว้ดีกว่าแก้ = ระวังการรับประทานอาหารแข็งๆ ขนาดที่อาจติดหลอดลมได้ หรือเป็นก้อนกลม ลื่นๆ ที่อาจเผลอหลุดไปโดยไม่ทันได้เคี้ยว รวมทั้งหมั่นดูสิ่งของและของเล่นเด็กในบ้าน ให้แน่ใจว่าไม่มีชิ้นส่วนขนาดเล็กที่ลูกอาจเอาเข้าปากแล้วสำลักลงไปในคอได้

 

ดูคลิปชัดๆ >> วิธีรับมือเมื่ออาหารติดคอลูกน้อย” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up