ท้องอืด ภาวะของลูกน้อยที่ไม่ควรมองข้าม

Alternative Textaccount_circle
event

สังเกตลูกท้องอืดแบบไหนอันตราย

ในเด็กทารกอายุ 2-3 สัปดาห์ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถสื่อสารด้วยคำพูด แต่คุณพ่อ คุณแม่ก็สามารถสังเกตจากอาการได้ เช่น ร้องไห้ ยกขาขึ้นสูงไปทางหน้าท้อง ดื้นตลอดเวลาโดยเฉพาะหลังจากให้นม กำมือแน่น และหน้าแดง หากลูกน้อยร้องไห้ไม่หยุดหลังจากผายลมออกมาแล้ว อาจแสดงสัญญาณผิดปกติ เช่น กรดไหลย้อน ท้องผูก โคลิค เป็นต้น ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วยควรรีบพบแพทย์

  • อาเจียน
  • อุจจาระมีเลือดปน
  • ถ่ายไม่ออก
  • ร้องไห้ไม่หยุดเป็นเวลานานกว่า 2 ชั่วโมง
  • มีไข้ โดยเฉพาะทารกอายุต่ำกว่า 3 เดือนที่มีไข้สูงตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป

วิธีบรรเทาเมื่อลูกท้องอืด

1.วางลูกน้อยเอาไว้ในท่านอนหงาย นวดบริเวณหน้าท้องเบาๆ เริ่มจากขวาไปซ้าย

2.วางลูกน้อยเอาไว้ในท่านอนหงาย จับขาทั้ง 2 ข้างสลับขึ้นลงเหมือนปั่นจักรยาน

3.อุ้มลูกน้อย ให้คางอยู่ที่บริเวณไหล่ แล้วใช้มือตบหลังเบาๆ

4.ให้ลูกน้อยนั่งบนตัก โน้มตัวลูกไปข้างหน้าเล็กน้อย มือโอบคางประคองตัวไว้ แล้วตบหลังเบาๆ

5.วางลูกน้อยเอาไว้ในท่านอนคว่ำบนตัก ศีรษะสูงกว่าลำตัวเล็กน้อย แล้วตบหลังเบาๆ

ท้องอืด
วางลูกน้อยเอาไว้ในท่านอนหงาย จับขาทั้ง 2 ข้างสลับขึ้นลงเหมือนปั่นจักรยาน

ป้องกันลูกท้องอืด

1.ป้อนนมให้ลูกน้อยในปริมาณที่เหมาะสม และจัดท่าทางให้เหมาะสมขณะให้นม โดยยกศีรษะให้สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย

2.หากลูกน้อยดูดนมจากขวด ควรยกขวดขึ้นป้องกันลูกน้อยดูดอากาศภายในขวดนม เลือกซื้อจุกขวดนมที่เหมาะสม รูไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป

3.หากลูกน้อยหย่านมแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ทำให้ท้องอืด รวมถึงคุณแม่ที่ให้นมลูกน้อยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ท้องอืดด้วยเช่นกัน

อ่าน “ปัญหาแก๊สในกระเพาะอาหารของพ่อแม่” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up