โรคหัด หัดเยอรมัน ต่างกันอย่างไร - amarinbabyandkids
โรคหัด หัดเยอรมัน

โรคหัด หัดเยอรมัน ต่างกันอย่างไร

Alternative Textaccount_circle
event
โรคหัด หัดเยอรมัน
โรคหัด หัดเยอรมัน

 

โรคหัด

อาการของโรค

ยิ่งนานวันไข้ก็ยิ่งสูงขึ้นและลอยอยู่ วันที่ 2 หรือ 3 ของไข้จะมีจุดขาว ๆ ขนาดหัวเข็มหมุดในเยื่อบุปาก โดยเฉพาะใกล้ฟันกรามล่าง วันที่ 4 ของไข้ซึ่งเป็นวันที่ไข้สูงสุด จะมีผื่นเป็นจุดนูนแดงเล็ก ๆ คล้ายผด ไม่มีอาการคัน ปรากฏที่หน้าและหลังหูก่อน แล้วค่อยกระจายไปทั่วตัว และแขนขาในเวลา 3 วัน เมื่อผื่นถึงขาแล้ว ไข้ทีสูงลอยอยู่จะลดลงอย่างรวดเร็ว อาการต่าง ๆ ก็จะค่อยดีขึ้น ผื่นจะมีสีคล้ำลง และลอก เหลือตัวเป็นจุดลาย ๆ กระดำกระด่างต่อไปประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ เด็กบางคนอาจมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น หูน้ำหนวก ท้องเสีย ปอดบวมหรือสมองอักเสบ เราจะทราบโดย เด็กพวกนี้เมื่อผื่นกระจายมาถึงขาแล้ว ไข้ไม่ยอมลดหรือลดลงสู่ปกติไปแล้ว กลับสูงขึ้นมาอีก และมีอาการเฉพาะโรคเกิดขึ้นเช่นปวดหู มีหนองไหลจากหู ถ่ายอุจจาระบ่อยเป็นน้ำหรือเป็นมูก หายใจเร็วหอบเขียว หรือปวดหัว อาเจียน ซึม หมดสติ ชัก

หากพบว่าเด็กมีอาการตามที่ได้กล่าวไปแล้ว อย่ารอช้านะคะ ให้รีบพาไปหาแพทย์โดยด่วน เนื่องจากมีอันตรายถึงชีวิตได้

การรักษา

  • รักษาและปฏิบัติตัวเหมือนโรคไข้หวัดทั่วไป นั่นคือ พักผ่อนให้มาก ๆ ดื่มน้ำเยอะ ๆ เช็ดตัวลดไข้ ไม่อาบน้ำเย็น กินยารักษาตามอาการ เช่น หากมีไข้ ให้ทานยาลดไข้ เป็นต้น
  • ไม่ควรกินยาปฏิชีวนะในช่วงแรก เพราะถ้าแพ้ยาจะทำให้บอกความแตกต่างระหว่างผื่นแพ้ยา กับผื่นโรคหัดได้ยาก
  • หากพบว่าลูกมีอาการไอ เสมหะเริ่มข้นหรือเขียว หรือหายใจมีเสียงวี๊ด เนื่องจากหลอดลมตีบ ให้รีบพาลูกพบแพทย์

การป้องกัน

โดยปกติวัคซีนป้องกันโรคหัดเป็นวัคซีนตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องฉีดให้เด็กทุกคนที่อายุระหว่าง 9 ถึง 12 เดือน ฉีดเพียงครั้งเดียวสามารถป้องกันโรคหัดได้ตลอดไป และให้ฉีดกระตุ้นอีกครั้งเมื่อเด็กอายุ 4 ถึง 6 ปี วัคซีนป้องกันโรคหัดมีทั้งชนิดเดี่ยวและชนิดที่รวมกับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันและโรคคางทูม ในเข็มเดียวกัน

โรคหัดและหัดเยอรมันต่างกันอย่างไร หาคำตอบ คลิก!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up