โรคหัวใจในเด็ก

5 อาการสัญญาณเตือน “โรคหัวใจในเด็ก” ที่พ่อแม่ควรรู้!

Alternative Textaccount_circle
event
โรคหัวใจในเด็ก
โรคหัวใจในเด็ก

5 อาการสัญญาณเตือน “โรคหัวใจในเด็ก” ที่พ่อแม่ควรรู้!

เพราะความรุนแรงของโรคหัวใจในเด็ก ไม่ทำให้ลูกมีพัฒนาการการเติบโตช้า แต่ผลกระทบร้ายแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตเลยค่ะ ดังนั้นเพื่อให้พ่อแม่ได้รู้เท่าทันโรคหัวใจ ที่หากพบว่าลูกป่วยก็จะได้รีบรักษาอย่างทันท่วงที และก็จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตก่อนวัยอันควรให้กับลูกๆ ผู้เขียนมีคำแนะนำในการสังเกตสัญญาณเตือนผิดปกติที่อาจนำไปสู่โรคหัวใจในเด็ก จาก นายแพทย์อภิชัย คงพัฒนะโยธิน กุมารเวชศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ[1]  มาให้ได้ทราบกัน ซึ่งคุณหมอมีให้สังเกตสัญญาณเตือน ดังนี้…

  1. หายใจหอบ เหนื่อยง่าย
  2. เล็บและปากเขียว
  3. ใจสั่น หน้ามืด หรือเป็นลมบ่อยๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  4. อาการอื่นๆ เช่น เจ็บหน้าอก เป็นต้น (ในเด็กจะพบอาการลักษณะนี้ไม่มากเท่าผู้ใหญ่ อาการเจ็บหน้าอกในเด็กมีส่วนน้อยเท่านั้นที่เกิดจากโรคหัวใจ)
  5. แพทย์ตรวจพบว่ามีเสียงหัวใจผิดปกติ ซึ่งอาจแสดงหรือไม่แสดงอาการที่ผิดปกติก็ได้ นอกจากนี้เด็กที่เป็นโรคหัวใจอาจจะโตช้า โดยเฉพาะรายที่มีภาวะหัวใจวาย มีอาการหายใจเร็ว เหนื่อยง่าย ส่วนสูงและน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์ เติบโตช้าไม่ทันเพื่อน เพราะหัวใจต้องทำงานหนักร่วมกับมีอาการหอบและรับประทานอาหารได้น้อย ซึ่งเป็นอีกข้อสังเกตที่พ่อแม่ควรใส่ใจและสังเกตอยู่เสมอ

 

บทความแนะนำ คลิก>> โรคเด็กมีหาง สไปนา ไบฟิดา (spina bifida)

เด็กแรกคลอดหากมีอาการผิดปกติที่นำไปสู่โรคหัวใจ กุมารแพทย์จะเช็กให้ทันทีหลังออกจากห้องคลอด แต่หากลูกคลอดออกมาแล้วไม่พบอาการเตือนโรคหัวใจในช่วงแรก แต่หลังจากกลับมาบ้านแล้วมีอาการผิดปกติตามที่บอกไปข้างต้น ให้พ่อแม่รีบพาลูกไปโรงพยาบาลทันที เพื่อที่คุณหมอผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจะได้เช็กร่างกายให้ละเอียดอีกครั้งว่าลูกมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจในลักษณะใด เพื่อจะได้นำไปสู่การดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง การตรวจพบเร็วจะช่วยรักษาชีวิตลูกให้หายจากโรคหัวใจได้ค่ะ

อ่านต่อ เด็กโรคหัวใจ ต้องดูแลอย่างไร? หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up