ลูกเป็นหวัด

วิธีสังเกต ลูกเป็นหวัด เพราะเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกเป็นหวัด
ลูกเป็นหวัด
ลูกเป็นหวัด
เครดิต: WebMD

 

ระหว่างที่ลูกเป็นหวัด คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยระวังโรคแทรกซ้อนดังต่อไปนี้ให้ดีนะคะ

  • ไซนัสอักเสบ หากลูกเป็นหวัดมีน้ำมูก เยื่อจมูกบวม เสียงอู้อี้ขึ้นจมูก หายใจมีกลิ่นเหม็น ปวดโพรงมีเยื่อจมูกบวมที่ทำให้คัดจมูก จนลามขึ้นไปถึงโพรงไซนัสที่อยู่ข้างโพรงจมูกและหน้าผาก ทำให้มีหนองหรือน้ำมูกไซนัส อยู่ในโพรงไซนัสด้วย ลูกก็อาจจะต้องทานยาฆ่าเชื้อที่แรงขึ้น และต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์ รวมทั้งหมั่นล้างจมูกให้กับลูก เพื่อจะได้ลดปริมาณเชื้อโรคและทำให้หายใจได้โล่งขึ้น
  • หูอักเสบ เนื่องจากหูและคอมีท่อที่เชื่อมต่อกัน คือ ท่อยูสเตเชียลทิ้วบ์ เมื่อเป็นหวัด เยื่อบุต่าง ๆ บวม ทำให้เยื่อที่บุอยู่ในท่อนี้บวมไปด้วยจนตีบตัน จึงไม่สามารถระบายแรงดันอากาศในช่องหูชั้นกลางออกมาได้ ทำให้ปวดหู หรือบางครั้งเชื้อโรคอาจจะลามขึ้นไปติดเชื้อในหูชั้นกลาง ทำให้เกิดเป็นหูอักเสบ หรือหูน้ำหนวกได้ด้วย การรักษาก็ใช้ยาฆ่าเชื้อชนิดที่สามารถฆ่าเชื้อก่อโรคหูอักเสบได้ หรือมียาหยอดหูร่วมด้วย
  • หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ เมื่อเชื้อโรคผ่านหลอดลมลงมาส่วนล่าง เข้ามาที่ปอด ก็สามารถทำให้เป็นหลอดลมอักเสบ หรือปอดอักเสบได้ จะทำให้ไอมากขึ้น มีไข้ หรือหอบเหนื่อยได้ บางกรณีที่เป็นมาก อาจต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อรับยาฆ่าเชื้อทางเส้นเลือด
  • หอบหืด สำหรับบ้านไหนที่ลูกมีโรคประจำตัวเดิมเป็นหอบหืด คือหลอดลมมีความไวต่อการถูกกระตุ้น และเกิดการตีบตัว ทำให้หายใจไม่สะดวก หอบเหนื่อย มีเสียงวี้ดในปอด เป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไขอาการหลอดลมตีบด้วยยาขยายหลอดลม ทั้งนี้ต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ด้วยนะคะ
  • ชักจากไข้สูง มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ให้รีบลดไข้ด้วยการเช็ดตัวหรือทานยาลดไข้ อย่าปล่อยให้เด็กไข้สูงนาน จนเกิดอาการชัก และรักษาหวัดให้หายค่ะ
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกเป็นหวัด คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องให้ลูก ๆ นั้นพักผ่อนให้เพียงพอ และหมั่นออกกำลังกาย ล้างมือบ่อย ๆ เพียงเท่านี้โอกาสที่จะติดหวัดก็ลดน้อยลงแล้วละค่ะ
เครดิต: โรงพยาบาลกรุงเทพ
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up