ปฐมพยาบาล ลูกกระดูกหัก

5 วิธีการ ปฐมพยาบาล ลูกกระดูกหัก

Alternative Textaccount_circle
event
ปฐมพยาบาล ลูกกระดูกหัก
ปฐมพยาบาล ลูกกระดูกหัก

นอกจากนี้ กระดูกหักนั้นยังสามารถแบ่งได้อีกหลายประเภทค่ะ โดยจะแบ่งตามประเภทของการเกิด ดังนี้

  • แบ่งตามการเกิดของบาดแผล อันได้แก่ ภาวะที่กระดูกหัก แต่ผิวหนังภายนอกไม่ได้รับการบาดเจ็บใด ๆ ลักษณะเช่นนี้เราเรียกว่า กระดูกหักชนิดไม่มีแผล ส่วนอีกประเภทหนึ่งคือ กระดูกหักแบบมีแผล ลักษณะอาการคือกระดูกหักจนแทงทะลุผิวหนังออกมา หรือมีเผลเชื่อมต่อกับบริเวณที่กระดูกหัก
  • แบ่งตามรอยหักของกระดูก ยกตัวอย่างเช่น กระดูกหักหรือร้าว แต่ไม่เคลื่อนที่หรือแยกจากกันเป็นสองท่อน  และกระดูกที่หักและเคลื่อนไปจากที่เดิม เป็นต้น

ลูกกระดูกหัก

จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกกระดูกหัก

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีอยู่ในวัยทารก หรือเป็นเด็กเล็ก แล้วลูกได้รับอุบัติเหตุนั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้ ดังนี้ค่ะ

  • ให้ลองสังเกตดูว่า บริเวณที่ลูกได้รับการกระแทกหรือปะทะนั้น มีความผิดปกติอะไรหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น รอยฟกช้ำ ห้อเลือด บวม หรือกระดูกมีลักษณะผิดรูปแปลกไปจากเดิม
  • ลูกไม่ยอมขยับหรือเคลื่อนไหวบริเวณส่วนที่ได้รับบาดเจ็บเลย ถ้าหากเป็นส่วนขาลงไป ลองสังกตว่า ลูกลงน้ำหนักได้ตามปกติหรือไม่ เป็นต้น
  • คุณพ่อคุณแม่ได้ยินเสียงดังกร๊อบแกร๊บของกระดูกขณะเกิดอุบัติเหตุ หรือในขณะที่ลูกเคลื่อนไหวได้ยินเสียงคล้ายกระดูกกำลังเสียดสีกันอยู่
  • พบว่า มีกระดูกบิดเบี้ยว หรือโผล่ออกมาจากผิวหนัง
  • ลูกแสดงออกว่ามีอาการปวดบริเวณที่ได้รับอุบัติเหตุมาก

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up